พฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ของผู้บริโภค จังหวัดนนทบุรี
BEHAVIOR OF USING PICO FINANCE SERVICE FOR CONSUMERS IN NONTHABURI PROVINCE
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการใช้บริการ, สินเชื่อ, นนทบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคที่ใช้บริการสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ จังหวัดนนทบุรี เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ของผู้บริโภค จังหวัดนนทบุรี และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ของผู้บริโภค จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่ใช้บริการสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์
ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 385 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าสถิติ Chi-Square
ผลการวิจัยพบว่า พบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41 – 60 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรส มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001 – 20,000 บาท ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย และมีจำนวนคนในครอบครัว 3 – 4 คน (2) พฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ของผู้บริโภค จังหวัดนนทบุรี พบว่า ผู้บริโภคที่ใช้บริการสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ จังหวัดนนทบุรี โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบุคคลที่มีรายได้เป็นรายเดือน ผู้บริโภคเลือกใช้บริการสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ประเภทธรรมดา (ไม่เกิน 50,000 บาท) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา/ค่าเทอม/ชำระหนี้ กยศ. บุคคลที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ คือ ตนเอง โดยจะเลือกใช้บริการในช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม เลือกใช้บริการทั้ง 5 สาขา โดยต้องการกู้เงินต่ำกว่า 15,000 บาทต่อครั้ง (3) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ และจำนวนคนในครอบครัวต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกใช้บริการสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ของผู้บริโภค จังหวัดนนทบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การวิเคราะห์สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขวัญเรือน หนูชู. (2558). ปัจจัยทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงยุติธรรม จำกัด. โครงการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 34 มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2113 – 2119.
ไผทชิต เอกจริยกร. (2554). ปัญหาหนี้นอกระบบในสังคมไทย. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. 36 (มกราคม – มีนาคม 2554), 14 – 15.
พัชรินทร์ ทองดี. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บัตรกดเงินสดของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. บทความวิจัยนิสินระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 1 – 16.
โพสต์ทูเดย์. (2563). คลังปลื้มพิโกไฟแนนซ์ 335 ราย ช่วยลดหนี้ลูกค้า. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/finance-stock/news/625128. (2563, 19 ธันวาคม)
วิรัลฐิตา แจ้งเปล่า. (2559). การตัดสินใจในการเลือกใช้บริการด้านสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูชลบุรี จำกัด. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร มหาวิทยาลัยบูรพา.
สยานนท์ สหุนนต์. (2561). พฤติกรรมการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานี พัทยา. วารสารวิทยาลัยาดุสิตธานี. 12(2) พฤษภาคม - สิงหาคม 2561, 369 – 383.
สำนักงานงบประมาณของรัฐสภา. (2563). รายงานเศรษฐกิจ การเงินการคลังภาครัฐระดับมหภาค. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2562). สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.1359.go.th/picodoc/. (2563, 13 ธันวาคม).
Kotler, and Keller, K. L. (2012). Marketing Management. 12th ed. Edinburgh Gate: Pearson Education Limited.
Osman, M. K., Mustafa, T., Tepeci, S. D. and Ayhan, Y. (2013). The use of agricultural loan: An analysis of farmers’ bank selection decisions in Manisa, Turkey. Retrieved from http://world-food.net/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์