การศึกษาผลของกิจกรรมแนะแนว โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ

The Effect of Using the Guidance Activity on Cooperative Learning Concepts to Improve Creative Problem Solving of Mathayomsuksa Four Students at Settabutbamphen School

ผู้แต่ง

  • จิตรลดา บูรณะไชย, ปวีณา อ่อนใจเอื้อ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

โปรแกรมกิจกรรมแนะแนว, แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมแนะแนว โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเศรษฐบุตรบาเพ็ญ จานวน 57 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) กิจกรรมแนะแนวโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 2) แบบวัดการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมแต่ละครั้ง 4)แบบสอบถามความคิดเห็นในการเข้าร่วมกิจกรรมฯ และต่อผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติพาราเมตริก t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

          1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ มีคะแนนจากแบบวัดการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ในระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          2) ในระยะหลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนจากแบบวัดการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          3) นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวฯ มีความคิดเห็นว่ากิจกรรมพัฒนาการคิดแก้ ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ได้ทางานร่วมกับเพื่อน ช่วยกันระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหาและ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้เห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์

          4) นักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมาก

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

จริยาภรณ์ สวัสดิ์พูน. (2562). ผลการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคโคออปโคออปโดยใช้เครื่องมือการจัดการงานที่มีต่อความมุ่งมั่นในการทำงานสาหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญานิพนธ์ ครุศาสตรมหบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ญาณี เพชรแอน. (2557). การศึกษากระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง อาหารกับสุขภาพรายวิชาสุขศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พีชญาณ์ พานะกิจ. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภารดี กาภู ณ อยุธยา. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยุพาพันธ์ มินวงษ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์(3P) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิทยาศาสตรศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย. (2559ก). การจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

อลิสา ราชวัตร. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานด้วยรูปแบบ IDSPEE เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เรื่องธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฮิกกิ้นส,์ เจมส์ เอ็ม. (2554). 101 เทคนิคการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. แปลโดย วิทยา สุหฤทดำรง และธนะศักดิ์ พึ่งฮั้ว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ อี.ไอ.สแควร์.

Johnson, D.W. ; & Johnson, R.T. (1994). Learning Together and Alone: Cooperative and Individualistic Learning. 4th ed. New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-14

How to Cite

บูรณะไชย จ. (2022). การศึกษาผลของกิจกรรมแนะแนว โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ: The Effect of Using the Guidance Activity on Cooperative Learning Concepts to Improve Creative Problem Solving of Mathayomsuksa Four Students at Settabutbamphen School. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(3), 1–12. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/252849