ผลของการใช้รูปแบบการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญของครูเครือข่ายวิทยาลัยนครราชสีมา
The Effects of Using A Student-Centered Teaching Model of Nakhon Ratchasima College Nerwork Teachers
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, ครูเครือข่าย, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, กระบวนการและคุณลักษณะที่พึงประสงค์บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบวนการคณิตศาสตร์และคุณลักษณะที่พึงประสงค์หลังเรียนกับเกณฑ์การผ่าน 75% ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย จำนวน 527 คน แยกเป็นนักเรียน จำนวน 5 ห้อง โรงเรียนสุรนารีวิทยา 217 คน นักเรียน จำนวน 5 ห้อง โรงเรียนบุญวัฒนา 198 คน และนักเรียนจำนวน 5 ห้อง โรงเรียนโคราช พิทยาคม 112 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จากประชากร 1,054 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการ สอนเดียวกันของครูเครือข่าย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินกระบวนการ 5 ด้าน 3) แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 5 ด้าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการศึกษาพบว่า 1. รูปแบบการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ มี 6 ขั้น ได้แก่ 1) การเตรียมพร้อมเพื่อการเรียนรู้ 2) กระบวนการคิด 3) การนำเสนอผลงาน 4) การสรุปองค์ความรู้ 5) การนำไปใช้ และ 6) การประเมิน และสะท้อนผล 2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 75 อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสารและนำเสนอ การเชื่อมโยง และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา การทำงานอย่างเป็นระบบ และความมีน้ำใจ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
จันทร์ ติยะวงศ์. (2556). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาและพัฒนาวิชาชีพ. การประชุมวิชาการของคุรุสภา สำนักงานเลขาธิการ คุรุสภา. กรุงเทพฯ.
จิรพร วงชัยยา. (2559). การวิจัยและพัฒนากิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านใฝ่รู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6. สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ไพจิตร สะดวกการ. (2539). ผลของการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของทฤษฎีแบบสร้างสรรค์นิยมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2546). เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการครั้งที่ 1 เรื่อง การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในโรงเรียนโดยเน้นกระบวนการทางคณิตศาสตร์.ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศิริมาส ศรีลำดวน. (2546). การประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์เนื้อหาด้านเรขาคณิตของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยวิธีการวิเคราะห์โปรโตคอล.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพ. คณะกรรมการการอุดมศึกษาระดับอุดมศึกษา คณะอนุกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาพ.ศ. 2557 ครั้งที่ 3: กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพ ฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ สทศ. (2560). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560. กรุงเทพ ฯ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพ ฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สิริพร ศรีสมวงษ์. (2549). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุลัดดา ลอยฟ้า. (2545). เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์: การมีส่วนร่วมของผู้เรียน. ขอนแก่น: ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Becker, J. P., and Shimada, S. (1997). The Open Approach: A New Proposal for Teaching Mathematics., Virginia: The National Council of Teachers of Mathematics.
Blumberg, P. (2000). Evaluating the Evidence that Problem-Based Learners are SelfDirected Learners A Review of the Literature. In Eversen, Dorothy H. and Hmelo, Cindy E. (eds.). Problem-Based Learning A Research Perspective on Learning Interactions. pp. 199-225., New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Foong, P. Y. (2000). Open-ended problems for higher-order thinking in mathematics. Teaching and Learning, 20(2), 49-57.
Polya , George. (1980). On Solving Mathematics Problems in High School, In Problem Solving in School Mathematics. [n.p]: Verginia National Coucil of Teachers of Mathematics.
Paul C. Price, Rajiv Jhangiani, I-Chant A. Chiang, Dana C. Leighton, & Carrie Cuttler. (2017) Research Method in psychology. Press Books.
Slavin , Robert E. (1990). Cooperative Learning Theory. Research and Practice. U.S.A.: Allyn and Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์