ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

ผู้แต่ง

  • ธีระศักดิ์ ทรัพย์ประเสริฐ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนดลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

คำสำคัญ:  ความสุขในการทำงาน, ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุข, มหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาปัจจัยการทำงาน  ปัจจัยด้านการทำงาน และความสุขในการทำงานบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาในการทำงาน ประเภทบุคลากร ตำแหน่งทางวิชาการ และหน่วยงานที่สังกัด 3) เพื่อศึกษาปัจจัยการทำงาน และ ปัจจัยการบริหาร ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ  โดยศึกษาจากบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จำนวน 254 คน เครื่องมื่อที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน T-test ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

          ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.90 มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 42.50 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 53.10 มีระดับการศึกษาปริญญาโท ร้อยละ 82.30 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001-35,000 บาท ร้อยละ 56.7 ระยะเวลาในการทำงานมากกว่า 5-10 ปี ร้อยละ 29.5 ส่วนใหญ่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ร้อยละ 74.80 มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นอาจารย์ ร้อยละ 82.70 และหน่วยงานที่สังกัดคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศร้อยละ 28.30 ผลการศึกษาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการทำงาน ปัจจัยการบริหาร และความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุสรรณภูมิ พบว่าปัจจัยการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (= 4.16) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความรับผิดชอบ(= 4.48) ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ความสำเร็จในการทำงาน( = 4.20) ลักษณะงาน (= 4.19) การยอมรับนับถือ(= 4.06) และความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน( = 3.90) ปัจจัยที่การทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก(= 3.80) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล(= 4.11) และด้านวิธีปกครองบังคับบัญชา (= 3.86) ด้านความสุขในการทำงาน ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.13) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ได้แก่ ท่านตั้งใจอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย (= 4.31) รองลงมาคือท่านภูมิใจในงานที่ตนเองต้องรับผิดชอบ (= 4.26)  และ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ท่านมีความรู้สึกมีแรงกระตุ้นและเสริมสร้างพลังในการทำงาน ( = 3.88)

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30

How to Cite