การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT
Development Mathematics Learning Achievement and Mathematical Problem Solving Ability on Equation of the Level 1 Vocational Certificate Students using Cooperative Learning Technique LT
คำสำคัญ:
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์, คณิตศาสตร์, การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LTบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสมการ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ ระหว่าง การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียน แผนการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 4) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระหว่าง แผนการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสมการ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นแบบปกติ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสมการ โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ใช้ในการสอนกลุ่มทดลอง 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ที่ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์พื้นฐานอาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1
ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสมการ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ใช้ในการสอนกลุ่มทดลอง มีประสิทธิภาพ 84.74/82.40 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT และการจัดการเรียนรู้แบบปกติวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสมการ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 เท่ากับ 0.66 และ 0.61 ตามลำดับ 3) การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องสมการ สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4) การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง สมการ สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กรมวิชาการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์.
ดุษฎี นุสนธ์. (2553). การพัฒนาความสามารถการให้เหตุผลกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, หลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2545). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการท างานและการจัดการเรียนการสอน. นิชินแอดเวอร์ไทซิ่ง กรู๊ฟ.
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ส านักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิภา พิศลืม. (2556). การเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ LT กับการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปิยาภรณ์ เขียวหวาน, พีระพล ศิริวงศ์, ประสาร ไชยญรงค์. (2560). พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบ LT เรื่อง เมทริกซ์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 4. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราธานี.
พิสมัย วีรยาพร. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความพึงพอใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 เรื่องสมการและการแปรผันชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ที่เรียนแบบร่วมมือ (LT) กับที่เรียนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัย การศึ กษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2541). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ. ต้นอ้อ 1999.
วิชชุดา อ้วนศรีเมือง. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค LT. การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนัก. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). เอกสารประกอบการสอนวิชา 0506703: พัฒนาการเรียนการสอน = 0506703: Teaching and learning development. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมนึก ภัททิยธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา. ประสานการพิมพ์.
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2544). กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับประถมศึกษา. วัฒนาพานิช.
สิริพร ทิพย์คง. (2544). การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2546). 21 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 4. ดวงกมลสมัย.ISSN 2697-5092 (Online).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์