การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง อิทธิพลทางการศึกษาของต่างประเทศที่มีต่อการศึกษาของคนหูหนวกไทย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
คำสำคัญ:
บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ , นักศึกษาระดับปริญญาตรี , อิทธิพลทางการศึกษาของต่างประเทศที่มีต่อการศึกษาของคนหูหนวกไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง อิทธิพลทางการศึกษาของต่างประเทศที่มีต่อการศึกษาของคนหูหนวกไทย สำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับปริญญาตรี ให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการเรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง อิทธิพลทางการศึกษาของต่างประเทศที่มีต่อการศึกษาของคนหูหนวกไทย สำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับปริญญาตรี และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง อิทธิพลทางการศึกษาของต่างประเทศที่มีต่อการศึกษาของคนหูหนวกไทย สำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาของคนหูหนวก ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ที่ศึกษาในรายวิชาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมคนหูหนวกขั้นแนะนำ จำนวน 12 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้รูปแบบการทดลองกับกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนและหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง อิทธิพลทางการศึกษาของต่างประเทศที่มีต่อการศึกษาของคนหูหนวกไทย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง อิทธิพลทางการศึกษาของต่างประเทศที่มีต่อการศึกษาของคนหูหนวกไทย 3) แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง อิทธิพลทางการศึกษาของต่างประเทศที่มีต่อการศึกษาของคนหูหนวกไทย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง อิทธิพลทางการศึกษาของต่างประเทศที่มีต่อการศึกษาของคนหูหนวกไทย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยผู้เชี่ยวชาญ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 2) คะแนนสอบหลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ในระดับมากที่สุด
Downloads
References
Boonyuen, P., Suphajanya, P., Songphacha, P., Changwarangkul, N., & Komonsing, S. (2022). Research and development on online lessons in geography using learning management system for students with hearing impairment in high school. Journal of Ratchasuda College for research and development of persons with disabilities, 18(1), 37-59. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RSjournal/article/view/261523
Farhan, W., & Razmak, J. (2022). A comparative study of an assistive e-learning interface among students with and without visual and hearing impairments. Disability and rehabilitation: assistive technology, 17(4), 431-441. https://doi.org/10.1080/17483107.2020.1786733
Insa-ard, S. (2018). Design e-learning for development of higher-order thinking skills. Se-education.
Khlaisang, J., & Koraneekit, P. (2016). Designing web for instruction: Applied guidelines for blending, e-learning and online learning model. Chulalongkorn University.
Kulnattarawong, T. (2018). The effect of using e-learning courseware with scaffolding to develop learning achievement of undergraduate students. Veridian E-Journal, Silpakorn University, Thai edition, humanity, social sciences and art, 11(3), 2219-2234. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/159696/115431
Srisa-ard, B. (2002). Preliminary research (7th ed.). Suweerivasarn.
Srisomboon, K. (2020). Development of e-learning on man and environment for undergraduate students. Journal for social sciences research, 11(2), 127-146.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ