ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลเวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ระหว่างการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ความเป็นมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จัดเป็นการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจครั้งใหญ่ที่ระบาดทั่วโลก ส่งผลต่อประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทั่วโลก ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ทั่วโลกรับภาระหนักในการควบคุมสถานการณ์ในช่วงตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2563 ทำให้บุคลากรทางการแพทย์เกิดความเครียดและความกังวลในขณะที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากการระบาดยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการศึกษาเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาทางด้านสภาพจิตใจได้อย่างเหมาะสม
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ในบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเวียงป่าเป้า จ.เชียงรายที่ปฏิบัติงานระหว่างการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ช่วงระหว่าง 27 มกราคม ถึง 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป, ปัจจัยจากงาน ,ด้านความกังวลโควิด และด้านความกังวลสุขภาพจิต (GHQ28) เก็บข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถามและหาค่าความชุกของบุคลากรที่มีปัญหาสุขภาพจิตและใช้สถิติถดถอยพหุเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิต
ผลการศึกษา พบว่าความชุกของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีปัญหาสุขภาพจิตระหว่างการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เท่ากับ 31 คน จาก 237 คน คิดเป็นร้อยละ 13 และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อาชีพพยาบาล (Crude OR; 95%CI = 2.60 (1.05, 6.41), p=0.04) การมีภาระครอบครัวมาก (Adjust OR (95%CI) = 13.22 (2.63, 66.29), p <0.01) ที่อยู่อาศัยครอบครัวมีเด็กและผู้สูงอายุ (Adjust OR (95%CI) = 0.18 (0.04,0.65), p <0.01) อายุการทำงาน (Adjust OR = 1.08, p= 0.04) ในส่วนของความกังวลต่อโรคโควิด-19 มีความกังวลว่าอาจจะติดโรคโควิด-19มากที่สุดคือ ร้อยละ 46.41 รองลงมา คือ มีความกังวลเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่ไม่เพียงพอ ร้อยละ 45.57
สรุป พบปัญหาสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานระหว่างการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลายปัจจัย จึงควรมีการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาทางด้านสภาพจิตใจได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
Who.int. 2020. [online] Available at: <https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/update-28-covid-19-what-we-know---june2020---thai.pdf?sfvrsn=724d2ce3_0> [Accessed 24 July 2021].
Cucinotta D, Vanelli M. WHO Declares COVID-19 a Pandemic. Acta Biomed. 2020 Mar 19;91(1):157-160. doi: 10.23750/abm.v91i1.9397. PMID: 32191675; PMCID: PMC7569573.
Lai J, Ma S, Wang Y, et al. Factors Associated With Mental Health Outcomes Among Health Care Workers Exposed to Coronavirus Disease 2019. JAMA Netw Open. 2020;3(3):e203976. doi:10.1001/jamanetworkopen.2020.3976
Ramaci T, Barattucci M, Ledda C, Rapisarda V. Social Stigma during COVID-19 and its Impact on HCWs Outcomes. Sustainability [Internet] 2020;12(9):3834. Available from: http://dx.doi.org/10.3390/su12093834
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. รายงานสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดเชียงราย [อินเตอร์เน็ต]; 2564 [เข้าถึงได้เมื่อ 24 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://cro.moph.go.th/moph/index.php
Aly HM, Nemr NA, Kishk RM, et al. Stress, anxiety and depression among healthcare workers facing COVID-19 pandemic in Egypt: a cross-sectional online-based study. BMJ Open 2021;11:e045281. doi: 10.1136/bmjopen-2020-045281
Lenzo V., Maria C. Quattropani, Alberto Sardella, Gabriella Martino, George A. Bonanno. Depression, Anxiety, and Stress Among Healthcare Workers During the COVID-19 Outbreak and Relationships With Expressive Flexibility and Context Sensitivity. Front. Psychol., 22 February 2021 | Available from: https://doi.org/10.3389/fpsyg.2021.623033
Sahebi, A., Nejati-Zarnaqi, B., Moayedi, S., Yousefi, K., Torres, M., & Golitaleb, M. (2021). The prevalence of anxiety and depression among healthcare workers during the COVID-19 pandemic: An umbrella review of meta-analyses. Progress in neuro-psychopharmacology & biological psychiatry, 107, 110247. https://doi.org/10.1016/j.pnpbp.2021.110247
เอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์*, สิรินรัตน์ แสงศิริรักษ์. ความเครียดและอารมณ์เศร้าของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2563; 65(4): 400-408.
วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลนครปฐมในยุคการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). วารสารแพทย์เขต 4-5 2563 ; 39(4) : 616-627.
Yuhong Dai, Guangyuan Hu, Huihua Xiong, Hong Qiu, Xianglin Yuan. Psychological impact of the coronavirus disease 2019 (COVID-19) outbreak on healthcare workers in China. medRxiv 2020.03.03.20030874; doi: https://doi.org/10.1101/2020.03.03.20030874
Who.int. 2020. [online] Available at: <https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/coronavirus-disease-answers?gclid=Cj0KCQjw6NmHBhD2ARIsAI3hrM1ooguKUjkmNz4zx49CJ0ez96uEiMi-eZYKvgZ_EbSwbgGPFvJ3FWsaArBpEALw_wcB&query=What+is+COVID19%3F&referrerPageUrl=https%3A%2F%2Fwww.who.int%2Femergencies%2Fdiseases%2Fnovel-coronavirus-2019%2Fcoronavirus-disease-answers> [Accessed 24 July 2021].
Pandemic Endemic Epidemic และ Outbreak ระบาดอย่างไร. Vocab With Rama. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ at Rama.
ฉบับที่ 38 เดือนตุลาคม 2563 [เข้าถึงได้เมื่อ 24 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue038/vocab-rama
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน COVID-19. ฉบับ วันที่ 21 พฤษภาคม 2564. [เข้าถึงได้เมื่อ 24 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25640521210105PM_HCW%20Covid-19_vaccine_ns_21052021.pdf
Nilchaikovit T, Sukying C, Silpakit C. Reli-ability and validity of the Thai version of the General Health Questionaire. J Psychiatr Assoc Thailand 1996 ; 41(1) : 2-17.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มความเครียดที่กระทบสุขภาพ. 13 พฤษภาคม 2563. [เข้าถึงได้เมื่อ 24 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30321
จตุรพร แสงกูล. Approach to depressive and manic patients. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ . 2561. [เข้าถึงได้เมื่อ 24 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://medinfo2.psu.ac.th/psychiatry/elearning/document/undergrade/Document%20year%204/depressive%20.pdf
วันเพ็ญ ธุรกิตต์วัณณการ . ANXIETY SYMPTOM . คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.[เข้าถึงได้เมื่อ 24 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.med.swu.ac.th/psychiatry/images/401-2561/ANXIETY%20SYMTOMS.pdf
ศิริพร จอมมงคล.ระดับความเครียดและความชุกของโรคซึมเศร้าของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลขุนตาลอําเภอขุนตาลจังหวัดเชียงรายเชียงรายเวชสาร. ปีที่ 13 ฉบับที่ 1/2564 : 72-89
ชลอวัฒน์ อินปา. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเครียดและซึมเศร้าในบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในช่วงการแพร่ระบาดโรค COVID-19. เชียงรายเวชสาร. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2/2564 : 153-165.
Yao Y, Tian Y, Zhou J, Diao X, Cao B, Pan S, et al. Psychological status and influencing factors of hospital medical staff during the COVID-19 outbreak. Front Psychol. 2020; 11: 1841-6.