การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบระดับน้ำตาลสะสมของการดูแลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางผ่านระบบการแพทย์ทางไกลกับการรักษาตามมาตรฐานปกติในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่ควบคุมไม่ได้ ในหน่วยบริการปฐมภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มาและวัตถุประสงค์: โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ หลังการระบาดของโควิด 19 ประเทศไทยมีการนำระบบการแพทย์ทางไกลมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในหน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยและลดความแออัด อย่างไรก็ตามการใช้การแพทย์ทางไกลควบคู่กับการคงหลักการเวชศาสตร์ครอบครัวไว้ยังมีความท้าทาย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมโดยประยุกต์ใช้หลักการดูแลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางผ่านบริการการแพทย์ทางไกลกับการดูแลแบบปกติ
แบบวิจัย: การศึกษาทดลองแบบสุ่มเปรียบเทียบ
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโป่งแค ในระหว่าง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565- 31 มกราคม พ.ศ.2566 ที่มีระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ในช่วง 7-9 % จำนวน 67 ราย แบ่งกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มศึกษาได้รับบริการผ่านการแพทย์ทางไกลจำนวน 34 ราย และกลุ่มควบคุมได้รับบริการตามมาตรฐานปกติจำนวน 33 ราย ตรวจระดับน้ำตาลสะสมที่ 24 สัปดาห์หลังการศึกษา ผลทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Independent t-test, Pair t-test
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีลักษณะพื้นฐานไม่แตกต่างกัน ระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ยก่อนการศึกษา 7.63+0.49% และ7.73+0.49% (p 0.419)ในกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมตามลำดับ ระดับน้ำตาลสะสมที่ 24 สัปดาห์ของกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมมีค่าลดลงโดย มีค่า7.24+0.68% และ 7.61+1.24% (p 0.147)ตามลำดับ เมื่อเทียบระดับน้ำตาลสะสมในกลุ่มควบคุมก่อนการศึกษาและที่24 สัปดาห์พบว่ามีค่าลดลง -0.11+1.26% (p 0.632) ส่วนกลุ่มศึกษามีระดับน้ำตาลสะสมก่อนการศึกษาและที่ 24 สัปดาห์ลดลง -0.38+0.68% ( p value 0.003) มีจำนวนผู้ที่คุมน้ำตาลสะสมได้น้อยกว่า 7 ที่ 24 สัปดาห์จำนวน 34.37%ในกลุ่มศึกษาและ 35.48%ในกลุ่มควบคุม และไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทั้งสองกลุ่ม
สรุป: การบูรณาการวิธีการดูแลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในผู้ป่วยเบาหวานผ่านบริการการแพทย์ทางไกลในบริบทการดูแลปฐมภูมิ สามารถลดระดับน้ำตาลสะสมและปลอดภัยไม่แตกต่างจากการรักษามาตรฐาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกองโรคไม่ติดต่อสำนักสื่อสารความเสี่ยงกรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก [อินเทอร์เน็ต]. 2565[เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. สถานการณ์โรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. 2560[เข้าถึงเมื่อ 7 กรกฎาคม2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/the-chart/the-chart-1/549-2018-02-08-14-52-46.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. คนไทยเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น [อินเทอร์เน็ต]. 2560[เข้าถึงเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/the-chart/the-chart-1/550-2018-02-09-00-17-33
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลเพื่อตอบสนองแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาโรคไม่ติดต่อ [อินเทอร์เน็ต]. 2565[เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://tak.hdc.moph.go.th
สำนักสารนิเทศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ระบบการแพทย์ทางไกล [อินเทอร์เน็ต]. 2565[เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttps://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181945/
World health organization. Consolidated telemedicine implementation guide. [internet]. 2022[cited 17 Jun 2023]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240059184
UNICEF Europe and central Asia. A guide to telemedicine in primary healthcare. [internet]. 2022[cited 17 Jun 2023]. Available from: https://www.unicef.org/romania/media/10891/file/A%20guide%20to% 20telemedicine %20in%20primary%20healthcare.pdf
Alotaibi MM, Istepanian R, Philip N. A mobile diabetes management and educational system for type-2diabetics in Saudi Arabia (SAED). mHealth 2016;2(33):29-36.
Jeong JY, Jeon JH, Bae KH, Choi YK, Park KG, Kim JG, et al. Smart care based on telemonitoring and telemedicine for type 2 diabetes care: multi-center randomized controlled trial. tmj 2018;24(8):604-13.
Dong Y, Wang P, Dai Z, Liu K, Jin Y, Li A, et al. Increased self-care activities and glycemic control rate in relation to health education via wechat among diabetes patients: a randomized clinical trial. Medicine (Baltimore) 2018;97(50)e132-6.
Kwon HS, Cho JH, Kim HS, Song BR, Ko SH, Lee JM, et al. Establishment of blood glucose monitoring system using the internet. Diabetes Care 2004;27(2):478-83.
Rodrigues MI, Munoz JS, Escudero RS, Gonsalez JL, Castello JL, Gomez IM, et al. Telemedicine influence on the follow-up of type2 diabetes. Diabetes Technol Ther 2009;11(7):181-87.
Boaz M, Hellman K, Wainstein J. An automed telemedicine system improves patient-reported well-being. Diabetes Technol Ther 2009;11(3):431-37.
Stone RA, Rao RH, Sevick MA, Cheng C, Hough LJ, Macpherson DS, et al. Active care management supported by home telemonitoring in veterans with type 2 diabetes. Diabetes Care 2010;33(3):478-84.
Sood A, Watt SA, Johnson JK, Hirth S, Aron DC. Telemedicine consultation for patients with diabetes mellitus: a cluster randomized controlled trial. J Telemed Telecare 2018;24(6):358-91.
Cheng A, Guzman CE, Duffield TC, Hofkamp H. Advancing telemedicine within family medicine’s core values. Tmj 2021;27(2):121-3.
Rabinowitz G, Cho LD, Benda NC, Goytia C, Andreadis K, Lin JJ, et al. The telemedicine experience in primary care practices in the United States: insights from practice leaders. Ann Fam Med 2023;21(3):207-12.
สายพิณ หัตถีรันตน์ และคณะ. คู่มือหมอครอบครัวฉบับสมบูรณ์: เทคนิคในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวอย่างง่าย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน; 2551.
วริสรา ลุวีระ. แนวคิดหลักในเวชศาสตร์ครอบครัว Key concepts in family medicine. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.
กฤษณะ สุวรรณภูมิ. การดูแลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง Patient-centerd care. PCFM 2011;38-44.
รัชนี นามจันทรา. การดูแลที่เน้นผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง: รูปแบบการบริการสุขภาพที่ท้าทาย patient-and family-centered care: a challenge model of Healthcare services. Thai journal of Nursing Council 2009; 24.(1):5-10.
กนกพร ภิญโญพรพาณิชย์, วิชุดา จิรพรเจริญ. เวชปฏิบัติครอบครัว 3: ขั้นตอนการดูแลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (A step-by-step guide to practicing patient-centerd medicine). พิมพ์ครั้งที่2. เชียงใหม่: box office graphic design; 2564.
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์. แนวทางปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.