ประสบการณ์ของผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจแทนต่อการถอดถอนเครื่องช่วยหายใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ: การศึกษาเชิงคุณภาพ

Main Article Content

เนติมา ติเยาว์
โกสินทร์ มหรรณพกุล

บทคัดย่อ

ที่มา: การถอดถอนเครื่องช่วยหายใจ เป็นสิ่งที่เกิดมากขึ้นในระยะหลังเมื่อระบบการดูแลแบบประคับประคองได้รับการพัฒนามากขึ้น แต่ยังไม่มีใครศึกษาประสบการณ์ของผู้ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจแทนในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ


วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ การรับบทบาทเป็นผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วยระยะสุดท้าย ในเรื่องการถอดถอนเครื่องช่วยหายใจ ด้านปัญหา อุปสรรค  และความต้องการการช่วยเหลือจากบุคคลากรทางการแพทย์ ของผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วยระยะสุดท้าย โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในการถอดถอนเครื่องช่วยหายใจ


วัสดุและวิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา(phenomenology method)  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8 ราย มาสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง(In-dept semi structured interview)  ทำการถอดบทสัมภาษณ์ จัดกลุ่มของข้อมูลตามลักษณะของนัยความหมายที่เป็นแนวทางเดียวกัน


ผลการศึกษา: ประสบการณ์ของผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจแทนในการถอดถอนเครื่องช่วยหายใจ  เริ่มต้นจากการเผชิญความรู้สึกเจ็บปวดและเศร้าโศกจากการรับทราบข่าวร้ายว่าผู้ป่วยกำลังจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน เมื่อรับรู้ว่าการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นการทำให้ผู้ป่วยทรมาน ไม่ได้เป็นทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น จึงสามารถตัดสินใจได้ด้วยความเต็มใจ ไม่รู้สึกว่าตัดสินใจผิด   อุปสรรคสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจถอดถอนเครื่องช่วยหายได้ ได้แก่ ความคิดว่าการถอดถอนเครื่องช่วยหายใจ เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต และการไม่รู้จักการดูแลแบบประคับประคอง  ส่วนสิ่งที่ช่วยให้ตัดสินใจได้ได้แก่ การสื่อสารที่ชัดเจนจนเห็นภาพว่าผู้ป่วยกำลังจะเสียชีวิต ร่วมกับการดูแลจิตใจใส่ใจแบบเพื่อนมนุษย์ของทีมประคับประคอง และการทบทวนรับรู้ถึงสิ่งที่ผู้ป่วยปรารถนาในวาระสุดท้าย   ส่งผลช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น   ผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจแทนมีความต้องการความใกล้ชิดผู้ป่วยในวาระสุดท้าย ต้องการให้มีการดูแลมิติทางจิตวิญญาณหรือธรรมะ และต้องการให้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้รู้จักการดูแลแบบประคับประคองมากขึ้น


สรุป:  ประสบการณ์ของผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจแทนในการถอดถอนเครื่องช่วยหายใจ เป็นการตัดสินใจที่ยาก ต้องการความช่วยเหลือจากบุคลากรทางการแพทย์ จะช่วยให้ผู้แทนการตัดสินใจ สามารถตัดสินใจได้อย่างมั่นคงขึ้น  และผ่านกระบวนการโศกเศร้าเสียไปได้อย่างราบรื่น

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ลักษมี ชาญเวชช์. ประถมาภรณ์ จันทร์ทอง. กิติพล นาควิโรจน์, บรรณาธิการ.การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง เล่ม 2. ขอนแก่น: สมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย; 2564.

แสวง บุญเฉลิมวิภาส.(2563). หลักการของมาตรา 12 ของ พรบ.สุขภาพแห่งชาติคือ สิทธิที่จะขอตายตามธรรมชาติ. Retrieved. 23 เมษายน 2565, จาก https://infocenter.nationalhealth.or.th/node/26906

วราภรณ์ คงสุวรรณ.(2558). การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้ายของชีวิตที่ใช้เทคโนโลยี. สงขลา. ชานเมืองการพิมพ์.

Thelen, M.(2005). End-of-Life Decision Making in intensive Care. Critical Care Nurse, 25(6), 28-37.

Wendler, D., & Rid, A. (2011). Systhematic review: the effect on surrogates of making treatment decisions for others. Annals of Internal Medicine, 154, 336-346.

วราภรณ์ คงสุวรรณ, และเยาวรัตน์ มัชฌิม. (2555). การตัดสินใจในระยะสุดท้าย: สถานการณ์ตัวอย่างในการปฏิบัติการพยาบาลในหอผู้ป่วยไอซียู. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 32(2), 59-68.

Thanh N.Huynh, Anne M.Walling, Thuy X. Le.(2013). Factors Associated with Palliative Withdrawal of Mechanical Ventilation and Time to Death after Withdrawal. Journal of palliative medicine, 2013(16), 1368-1374. Doi: 10.1089/jpm.2013.0142

Quinn, J. R., Schmitt, M., Baggs, J. G., Norton, S. A., Dombeck, M, T., & Sellers, C. R.. Family members’ informal roles in end-of-life decision making in adult intensive care units. American Journal of Critical Care 2012; 21(1), 43-51

Day, A., Haj-Bakri, S., Lubchansky. S., &Mehta, S. (2013). Sleep, anxiety and fatigue in family members of patients admitted to the intensive care unit: a questionnaire study. Crit Care, 17(3), R91=. =doi: 10.1186/cc12736

.Chiarchiaro, J., Buddadhumaruk, P., Arnold, R. M., & White, D. B. (2015). Prior advance care planning is associated with less decisional conflict among surrogates for critically ill patients. Annals of the American Thoracic Society, 12, 1528-1533.

Kongsuwan, W., Chaipetch, O., Matchim, Y.(2012). Thai Buddhist families’ perspective of a peaceful death in ICUs. Nursing Critical Care, 17, 151-159.

พิสิษฐ์ ศรีอัคคโภคิน. สรุปการสัมมนาวิชาการไม่ใส่เครื่อง ถอดเครื่องช่วยหายใจ ทำได้เพียงใดในระยะท้ายของชีวิต. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สิริพัฒนา จำกัด; 2562.

Torke, A. M., G Caleb Alexander MD, M. S., & Lantos, J. (2008). Substituted judgment: The limitations of autonomy in surrogate decision making. Journal of General Internal Medicine 2008; 23, 1514-1517.

นิการีหม๊ะ นิจิการี, อรัญญา เชาวลิต, และอุไร หัตถกิจ. (2551). มุมมองเกี่ยวกับการตัดสินใจในระยะสุดท้ายของชีวิตของผู้ป่วยเรื้อรังไทยมุสลิมใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. สงขลานครินทร์เวชสาร, 26(5), 431-439.

ปริญญา แร่ทอง. ประสบการณ์ของผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วยในการตัดสินใจยุติการรักษาเพื่อยืดชีวิต: ความต้องการการช่วยเหลือจากแพทย์และพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล 2559;4:122-133.