การติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ จากการให้บริการคลินิกหมอครอบครัวเทียบกับการให้บริการที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

Main Article Content

รัชดาภรณ์ ภาพวิจิตรศิลป์
สิริมา มงคลสัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

ที่มาและวัตถุประสงค์: คลินิกหมอครอบครัว (primary care cluster; PCC) จัดตั้งขึ้น เพื่อลดปัญหาความแออัดและเพิ่มการเข้าถึงของประชาชน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ได้เริ่มดำเนินการในปี 2560 การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นหนึ่งในภารกิจหลัก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเทียบผลการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ ที่มารับการรักษาที่ PCC เทียบกับห้องตรวจผู้ป่วยนอก กลุ่มงานเวชกรรมสังคม (outpatient department; OPD) ซึ่งเป็นระบบบริการแบบเดิม


วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษา retrospective cohort study เทียบระยะเวลาการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ตามเป้า (hemoglobin A1C; HbA1C < 7%)  และระยะเวลาการเกิดภาวะน้ำตาลวิกฤต  ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ ติดตาม 18 เดือน  วิเคราะห์โดย survival analysis และใช้ Cox proportional hazard model ในการควบคุมตัวแปรที่มีอิทธิพลเพื่อเทียบผลการรักษาระหว่าง  2 ระบบบริการ


ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้าการศึกษาทั้งหมด 560 ราย เป็นผู้ป่วย OPD 294 ราย และ PCC 266 ราย survival analysis พบผู้ป่วยครึ่งหนึ่งที่รักษาที่ PCC ใช้เวลา 513 วัน และผู้ป่วยครึ่งหนึ่งที่รักษาที่ OPD ใช้เวลา 505 วัน (median survival time) ในการได้ HbA1C ตามเป้า ซึ่งไม่แตกต่างกัน (P-value=0.789) เมื่อควบคุมตัวแปรที่มีอิทธิพลโดยใช้ Cox proportional hazard model พบว่าระหว่าง 2 ระบบบริการ ได้ HbA1C ตามเป้า ไม่แตกต่างกัน (adjusted HR=0.838, 95% CI=0.662–1.059) ด้านตัวแปรที่มีอิทธิพลพบว่าเพศชายเป็นปัจจัยที่ได้ HbA1C ตามเป้า ในขณะที่การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ กลุ่มผู้ป่วยอ้วน ผู้ที่ขาดนัด 1 ครั้งขึ้นไปหรือหายไปจากการรักษา และ HbA1C เริ่มต้นที่สูงตั้งแต่ 11.0 % ขึ้นไป เป็นปัจจัยที่มีผลต่อ HbA1C ไม่ได้ตามเป้า ด้านการเกิดภาวะน้ำตาลวิกฤตพบ 6 ราย (ร้อยละ 1.07) จึงไม่สามารถวิเคราะห์ survival analysis ได้


สรุป: ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ที่รับการรักษาที่ PCC มีประสิทธิผลด้านการรักษาไม่แตกต่างจากการรักษาที่ OPD ดังนั้น PCC จึงเป็นหนึ่งในระบบบริการที่มีคุณภาพเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และควรสนับสนุนให้เป็นระบบสุขภาพที่ยั่งยืนต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ 2559 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.govesite.com/uploads/201711031510355vOIPg8/store/20171103214853j1U49gG.pdf.

Phillips RL, Jr., Bazemore AW. Primary care and why it matters for U.S. health system reform. Health Aff (Millwood). 2010;29(5):806-10.

Friedberg MW, Hussey PS, Schneider EC. Primary care: a critical review of the evidence on quality and costs of health care. Health Aff (Millwood). 2010;29(5):766-72.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) 2559 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER2/DRAWER023/GENERAL/DATA0000/00000077.PDF.

คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่ 1. คู่มือ...คลินิกหมอครอบครัว Primary Care Cluster (PCC) เขตสุขภาพที่ 1 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sasuksa.com/wp-content/uploads/2018/03/EB31ข้อ2-คู่มือ-pcc.pdf.

เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. คลินิกหมอครอบครัว [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.fmcrh.org/pcc.

กระทรวงสาธารณสุข. คลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.71.139/group_sr/allfile/1578558891.PDF.

อารีย์ นิสภนันต์. การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลสตึกและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2561;33(2):179-94.

Nordin N, Mohd Hairon S, Yaacob NM, Abdul Hamid A, Hassan N. Effects of FamilyDoctor Concept and Doctor-Patient Interaction Satisfaction on Glycaemic Control among Type 2 Diabetes Mellitus Patients in the Northeast Region of Peninsular Malaysia. Int J Environ Res Public Health. 2020;17(5).

Carter R, Quesnel-Vallée A, Plante C, Gamache P, Lévesque JF. Effect of family medicine groups on visits to the emergency department among diabetic patients in Quebec between 2000 and 2011: a population-based segmented regression analysis. BMC Fam Pract. 2016;17:23.

Zoberi KA, Salas J, Morgan CN, Scherrer JF. Comparison of Family Medicine and General Internal Medicine on Diabetes Management. Mo Med. 2017;114(3):187-94.

Xu C, Shen P, Lu F, Chen X, Zhang J, Zhong J. The Impact of a Family Doctor Contract Service on Outcomes for Type 2 Diabetes Patients in Zhejiang Province. Asia Pac J Public Health. 2022;34(6-7):643-8.

Leulseged TW, Ayele BT. Time to optimal glycaemic control and prognostic factors among type 2 diabetes mellitus patients in public teaching hospitals in Addis Ababa, Ethiopia. PLoS One. 2019;14(7):e0220309.

Kim KJ, Choi J, Bae JH, Kim KJ, Yoo HJ, Seo JA, et al. Time to Reach Target Glycosylated Hemoglobin Is Associated with Long-Term Durable Glycemic Control and Risk of Diabetic Complications in Patients with Newly Diagnosed Type 2 Diabetes Mellitus: A 6-Year Observational Study. Diabetes Metab J. 2021;45(3):368-78.

Al Mansari A, Obeid Y, Islam N, Fariduddin M, Hassoun A, Djaballah K, et al. GOAL study: clinical and non-clinical predictive factors for achieving glycemic control in people with type 2 diabetes in real clinical practice. BMJ Open Diabetes Res Care. 2018;6(1):e000519.

ภานุพงษ์ รัตนวรรณ. ภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน (DKA) ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ โรงพยาบาลเซกา. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2564;8(2):5-14.

แสวง วัชระธนกิจ, พีรวัฒน์ จินาทองไทย, ปาริชาติ บุตรดีมี , ณัฐวดี พิมพ์บุญมา, ภัสรา บุญมา. อุบัติการณ์และความชุกของการเข้านอนโรงพยาบาลจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน ณ โรงพยาบาลม่วงสามสิบ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2558;11:191-6.

Center for Disease Control and Prevention. Diabetes Coexisting Conditions and Complications 2022 [Internet]. [updated 30 September 2022; cited 2023 01 April 2023]. Available from: https://www.cdc.gov/diabetes/data/statistics-report/coexisting-conditions-complications.html#:~:text=Emergency%20Department%20Visits&text=248%2C000%20for%20hyperglycemic%20crisis%20(9.9,per%201%2C000%20adults%20with%20diabetes.

Benoit SR, Zhang Y, Geiss LS, Gregg EW, Albright A. Trends in Diabetic Ketoacidosis Hospitalizations and In-Hospital Mortality - United States, 2000-2014. MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 2018;67(12):362-5.