ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุที่เข้ารับการบริการ ณ แผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มาและวัตถุประสงค์: ภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุ เป็นภาวะที่พบบ่อยทั้งในประเทศไทยและในประเทศต่างๆทั่วโลก นำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่กระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งในระดับบุคคล ระดับชุมชน และระดับประเทศ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพื่อหาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุ
แบบวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง
วัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการ ณ แผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุและแบบประเมินภาวะโภชนาการระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 ธันวาคม 2565 ข้อมูลจะถูกวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก
ผลการศึกษา: พบความชุกของภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุ ร้อยละ 29.5 จากผู้เข้าร่วมวิจัย 88 คน ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุ ได้แก่ ช่วงอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป (OR 10.154, p 0.007) จำนวนชนิดยาที่ใช้ตั้งแต่ 5 ชนิดขึ้นไป (OR 3.972, p 0.022) จำนวนโรคประจำตัวตั้งแต่ 4 โรคขึ้นไป (OR 4.24, p 0.003) โรคเบาหวาน (OR 2.939, p 0.03) โรคไตเรื้อรัง (OR 7.125, p 0.001)
สรุป: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือโรคไตเรื้อรัง กลุ่มประชากรที่พบภาวะโลหิตจางได้บ่อย ได้แก่ กลุ่มช่วงอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีจำนวนชนิดยาที่ใช้ตั้งแต่ 5 ชนิดขึ้นไป ผู้ที่มีจำนวนโรคประจำตัวตั้งแต่ 4 โรคขึ้นไป และผู้ที่มีโรคเบาหวาน ดังนั้น ทีมดูแลจึงควรให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมและต่อเนื่อง นอกจากนี้ควรมีมาตรการป้องกันในระดับต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะนำมาซึ่งความพิการในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
. World Health Organization. Prevalence of anaemia in older people [Internet]. 2022 [cited 2023 Feb 3]. Available from: https://www.who.int/data/maternal-newborn-child-adolescent-ageing/indicator-explorer-new/mca/prevalence-of-anemia-in-older-people?fbclid=IwAR1WcBI3n4uGa_kQe0uCcJ8PFoXdW2R8y4sGppNWF2xg57wUTldt90Zer2U
Blanc B, Finch CA, Hallberg L, Hervlbert V, Lawkowicz W, Layrisse M et al. Nutritional anaemias : report of a WHO scientific group. WHO Tech Rep Ser. 1968; 405: 1–40.
Juarez-Cedillo T, Basurto-Acevedo L, Vega-Garcia S, Manuel-Apolinar L, Cruz-Tesoro E, Rodríguez-Pérez JM et al. Prevalence of anemia and its impact on the state of frailty in elderly people living in the community: SADEM study. Ann Hematol. 2014; 93: 2057–62.
Penninx BW, Pluijm SM, Lips P, Woodman R, Miedema K, Guralnik JM et al. Late-life anemia is associated with increased risk of recurrent falls. J Am Geriatr Soc. 2005; 53: 2106–11.
Zakai NA, Katz R, Hirsch C, Shlipak MG, Chaves PH, Newman AB et al. A prospective study of anemia status, hemoglobin concentration, and mortality in an elderly cohort: the cardiovascular health study. Arch Intern Med. 2005; 165: 2214–20.
Wang Y, Ping YJ, Jin HY, Ge N, Wu C. Prevalence and health correlates of anaemia among community-dwelling Chinese older adults: the China Health and Retirement Longitudinal Study. BMJ Open. 2020; 10: e038147.
รพี เสียงใหญ่, ภัทระ แสนไชยสุริยา, กนกวรรณ แสนไชยสุริยา, ไพฑูรย์ เสียงใหญ่. ความชุกภาวะโลหิตจางและภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุพื้นที่รพ.สต.บ้านทุ่งขี้ต่าย ตาบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561; 11(3): 22-30.
Kidney Disease: Improving Global Outcomes (KDIGO) CKD Work Group. KDIGO 2012 Clinical Practice Guideline for the Evaluation and Management of Chronic Kidney Disease. Kidney inter., Suppl. 2013; 3: 1–150.
Nestle Nutrition Institute. Mini Nutrition Assessment MNA® [Internet]. 2021 [cited 2023 Feb 3]. Available from: https://www.mna-elderly.com/mna-forms
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ การคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ.2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://apps.hpc.go.th/dl/web/upFile/2021/03-10169-20210309160752/2e32f087f6466b7bbec2f2846d6ba9fa.pdf
DeMaeyer EM, Dallman P, Gurney JM, Hallberg L, Sood SK, Srikantia SG. Preventing and controlling iron deficiency anaemia through primary health care : a guide for health administrators and programme managers [Internet]. 1989 [cited 2023 Feb 3]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/39849
World Health Organization. The management of nutrition in major emergencies [Internet]. 2000 [cited 2023 Feb 3]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/42085
World Health Organization. Haemoglobin concentrations for the diagnosis of anaemia and assessment of severity [Internet]. 2011 [cited 2023 Feb 3]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/85839/WHO_NMH_NHD_MNM_11.1_eng.pdf
ปิยะภร ไพรสนธิ์, พรทิพย์ สารีโส, พัชราภรณ์ อารีย์, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า, อุไรวรรณ ชัยมินทร์, ปิยะนุช พูลวิวัฒน์. ภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล. 2560; 32(1): 133-45.
Deeruksa L, Sanchaisuriya K. Anemia in the elderly in Northeastern Thailand: A community based study investigating prevalence, contributing factors, and hematologic features. Acta Haematologica. 2017; 138: 96-102.
Bunthupanich R, Karnpean R, Pinyachat A, Jiambunsri N,Prakobkaew N. Anemia and thalassemia in the Kui (Suay) elderly living in Sisaket Province located at the lower Northeastern Thailand. Archives of Allied Health Sciences. 2020; 32(3): 32-38.
Gaskell H, Derry S, Andrew Moore R, McQuay HJ. Prevalence of anaemia in older persons: systematic review. BMC Geriatrics. 2008; 8: 1-8.
Gandhi S, Hagans I, Nathan K, Hunter K, Roy S. Prevalence, Comorbidity and Investigation of Anemia in the Primary Care Office. J Clin Med Res. 2017; 9(12): 970-80.
Sahin S, Tasar PT, Simsek H, Çicek Z, Eskiizmirli H, Aykar FS et al. Prevalence of anemia and malnutrition and their association in elderly nursing home residents. Aging Clin Exp Res. 2016 Oct; 28(5): 857-62.
Retnakumar C, Chacko M, Ramakrishnan D, George LS, Krishnapillai V. Prevalence of anemia and its association with dietary pattern among elderly population of urban slums in Kochi. Journal of Family Medicine and Primary Care. 2020; 9(3): 1533-37.
Yusof M, Awaluddin SM, Omar M, Ahmad NA, Abdul Aziz FA, Jamaluddin R et al. Prevalence of Anaemia among the Elderly in Malaysia and Its Associated Factors: Does Ethnicity Matter?. Hindawi Journal of Environmental and Public Health. 2018 Apr 29; 2018: 1803025.
Ble A, Fink JC, Woodman RC, Klausner MA, Windham BG, Guralnik JM et al. Renal Function, Erythropoietin, and Anemia of Older Persons: The InCHIANTI Study. Arch Intern Med. 2005; 165(19): 2222–27.
นงลักษณ์ คณิตทรัพย์. ความชุกของโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในผู้สูงอายุที่มีโลหิตจาง และภาวะของธาตุเหล็กในผู้สูงอายุ. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2553; 20(4): 287-95.
Adamson JW, Eschbach J, Finch CA. The kidney and erythropoiesis. Am J Med. 1968; 44(5): 725-33.