ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะหมดไฟในอสม.ในเขตพื้นที่รับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองจอหอ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19

Main Article Content

นลินี นามชัยภูมิ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: อสม.เป็นงานบริการและติดต่อคนในชุมชน การระบาดโควิด-19 ทำให้ภาระงานของ อสม.เพิ่มขึ้นและมีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟ การศึกษาภาวะหมดไฟในอสม.ในช่วงระบาดโควิด-19จึงมีความจำเป็นเพื่อเป็นข้อมูลในการดูแลป้องกันแก้ไขปัญหาภาวะหมดไฟ


วัตถุประสงค์งานวิจัย: ศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะหมดไฟอสม.ในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19


วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยวิเคราะห์ตัดขวาง อสม.ชุมชนจอหอ ผู้เข้าร่วม 198 คน ช่วง 1 กันยายน ถึง 1 พฤศจิกายน 2565 ใช้แบบประเมินภาวะหมดไฟด้วยตนเอง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-square test , Simple and Multiple logistic regression


ผลการศึกษา: พบภาวะหมดไฟร้อยละ 52.38 ปัจจัยสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ข้อมูลที่ได้รับในการปฏิบัติงานและความเหมาะสมของการป้องกันตนเองในช่วงระบาดโควิด-19 (P-value 0.042, OR 0.35, 95%CI 0.13-0.96) และความคิดที่ลาออกจากการเป็นอสม.(P-value 0.030, OR 4.31, 95%CI 1.15-16.16)


สรุป: อสม.มีภาวะหมดไฟในช่วงการระบาดโควิด-19 สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้า ควรมีการป้องกันแก้ไขต่อไป


คำสำคัญ: อสม., ภาวะหมดไฟ, การระบาดโควิด-19

Article Details

How to Cite
1.
นามชัยภูมิ น. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะหมดไฟในอสม.ในเขตพื้นที่รับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองจอหอ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19. PCFM [อินเทอร์เน็ต]. 27 มีนาคม 2024 [อ้างถึง 22 มกราคม 2025];7(1):12-20. available at: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/265184
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Tiantian Mo.Distressed but happy: health workers and volunteers during the COVID 19 pandemic. Culture and Brain.2021;10:27-42.

หน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายเมืองย่าหัวทะเล. ความหมายของอสม.นครราชสีมา: กลุ่มงานเวชกรรมสังคมโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.2555.

สรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด - 19 อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย[อินเตอร์เน็ต].2564 [เข้าถึงเมื่อ12 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tcithaijo.org/index.php/tjphe/article/view/252212/171395

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. การจัดระบบ อสม. และภาคประชาชนสำหรับ Local quarantine และ Home quarantine[อินเตอร์เน็ต].2563 [เข้าถึงเมื่อ13มิถุนายน2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/km08_120363.pdf

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข.สธ.ใช้การแยกกักตัวที่บ้าน/ ในชุมชน ช่วยผู้ติดเชื้อโควิด เข้าระบบการรักษาเร็ว[อินเตอร์เน็ต].2564 [เข้าถึงเมื่อ13มิถุนายน2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hss.moph.go.th/show_topic.php?id=4405

สุพัตรา จันทร์สุวรรณ์. ปัจจัยทํานายการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี[อินเตอร์เน็ต].2564 [เข้าถึงเมื่อ12 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/251136

นายมนัสพงษ์ มาลา. ภาวะเมื่อยล้าหมดไฟในการปฏิบัติงานของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตสุขภาพที่ 4[อินเตอร์เน็ต].2563 [เข้าถึงเมื่อ 16 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/download/258187/177272/982380

กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตคนไทย[อินเตอร์เน็ต].เข้าถึงเมื่อ 04 สิงหาคม 2564 และ16 มิถุนายน 2565 ค้นหาจาก: https://checkin.dmh.go.th/dashboard/index.php

ปิยะวดี สุมาลัย. ภาวะหมดไฟในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ สถาบันบำราศนราดูร[อินเตอร์เน็ต].2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/download/247913/169889/

สิมาพร พรมสาร, ปิยะณัฐ พรมสาร, กนกวรรณ รัตนแสงเลิศ.ความเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลศิริราชระหว่างการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019[อินเตอร์เน็ต].2564 [เข้าถึงเมื่อ 20พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/255056

รุจิรา ตวงเพิ่มทรัพย์, วินิทรา นวลละออง, ธรรมนาถ เจริญบุญ.ภาวะหมดเหนื่อยล้าในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของแพทย์ประจำบ้านโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของCOVID-19 [อินเตอร์เน็ต].2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565].เข้าถึงได้จาก: http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/66-2/66-2-06_Rujira.pdf