การรับรู้กระบวนการประชุมครอบครัวของญาติผู้ป่วยต่อการประชุมครอบครัวที่ทำโดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในการดูแลรักษาแบบประคับประคอง

Main Article Content

ญาณิศา ศุภศิริสันต์
บาศมน มโนมัยพิบูลย์
ธนกร จงเจษฎ์

บทคัดย่อ

บทนำ: ในการดูแลรักษาแบบประคับประคอง มีการจัดประชุมครอบครัวเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับตัวโรคและวางแผนแนวทางการรักษาร่วมกันระหว่างแพทย์, ผู้ป่วยและครอบครัว  โดยนำเทคนิค SPIKES protocol มาประยุกต์ใช้ แต่การประเมินประสิทธิผลของการสื่อสารยังมีข้อจำกัด ทางผู้วิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับผลของการประชุมครอบครัวเพื่อเปรียบเทียบความสอดคล้องของการรับรู้กระบวนการในการสื่อสารระหว่างแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวกับญาติผู้ป่วย เพื่อพัฒนาการประชุมครอบครัวต่อไป


รูปแบบการวิจัย: ศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง


วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลญาติผู้ป่วยที่เข้าร่วมประชุมครอบครัวกับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ในการดูแลรักษาแบบประคับประคอง สื่อสารใช้หลัก SPIKE protocol โรงพยาบาลวชิรพยาบาล จำนวน 100 คน ใช้แบบประเมินการรับรู้กระบวนการประชุมครอบครัวของแพทย์และญาติผู้ป่วย


ผลการศึกษา: ญาติผู้ป่วยมีการรับรู้กระบวนการและขั้นตอนการพูดคุยสอดคล้องกับสิ่งที่แพทย์ต้องการสื่อสารในระดับปานกลางถึงดีมาก มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ร้อยละความสอดคล้อง คือ 96-100 สัมประสิทธิ์แคปปาของโคเฮน มีค่าอยู่ระหว่าง 0.3902 – 0.8837 ในขณะที่การพูดคุยด้านอารมณ์มีค่าความสอดคล้องต่ำกว่าด้านอื่น ญาติผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการประชุมครอบครัวในระดับดีมาก


สรุป: แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวสามารถนำหลัก SPIKES protocol มาใช้ในการประชุมครอบครัวในการดูแลรักษาแบบประคับประคอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในการสื่อสารระหว่างแพทย์กับญาติผู้ป่วย และทำให้เกิดความพึงพอใจต่อการประชุมครอบครัว


คำสำคัญ: การประชุมครอบครัว, การดูแลรักษาแบบประคับประคอง, SPIKES protocol


 


 

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Al-Mahrezi A, Al-Mandhari Z. Palliative Care: Time for Action. Oman Med J. 2016;31(3):161-163.

กิติพล นาควิโรจน์. Palliative Care คืออะไร. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2563]

เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/fammed/th/postgrad/palliative.

บุษยมาส ชีวสกุลยง. การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง = Palliative care. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

Singer AE, Ash T, Ochotorena C, et al. A Systematic Review of Family Meeting Tools in Palliative and Intensive Care Settings. Am J Hosp Palliat Care. 2016;33(8):797-806.

Hudson P, Thomas T, Quinn K, Aranda S. Family meetings in palliative care: are they effective?.

Palliat Med. 2009;23(2):150-157.

กิติพล นาควิโรจน์. การจัดประชุมครอบครัวระหว่างทีมที่ดูแลกับครอบครัว [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/fammed/th/postgrad/doctorpalliative7th.

Hudson, P., Quinn, K., O'Hanlon, B. et al. Family meetings in palliative care: Multidisciplinary clinical practice guidelines. BMC Palliat Care 7, 12 (2008).

Joshi R. Family meetings: an essential component of comprehensive palliative care. Canadian family

physician Medecin de famille canadien. 2013;59(6):637–639.

Gueguen JA, Bylund CL, Brown RF, Levin TT, Kissane DW. Conducting family meetings in palliative care: themes, techniques, and preliminary evaluation of a communication skills module. Palliat Support Care. 2009;7(2):171-179.

Blanckenburg P, Hofmann M, Rief W, Seifart U, Seifart C. Assessing patients´ preferences

for breaking Bad News according to the SPIKES-Protocol: the MABBAN scale [published online ahead of print, 2020 Feb 27]. Patient Educ Couns. 2020; S0738-3991(20)30110-5.

Baile WF, Buckman R, Lenzi R, Glober G, Beale EA, Kudelka AP. SPIKES-A six-step protocol for delivering bad news: application to the patient with cancer. Oncologist 2000; 5:302-311.

Dumont I, Kissane D. Techniques for framing questions in conducting family meetings in palliative care.

Palliat Support Care. 2009;7(2):163-170.

Sweeny K, Shepperd JA, Han PK. The goals of communicating bad news in health care: do physicians and patients agree? Health Expect. 2013;16(3):230-238.

Toutin-Dias G, Daglius-Dias R, Scalabrini-Neto A. Breaking bad news in the emergency department:

a comparative analysis among residents, patients and family members' perceptions.

Eur J Emerg Med. 2018;25(1):71-76.

วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. รู้ให้รอบ ตอบเรื่องมาตรา 12 พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สามดีพริ้นติ้งอีควิปเม้นท์ จํากัด; 2559.

ดาริน จตุรภัทรพร. วิธีการประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยโดยใช้

Palliative Performance Scale [อินเทอร์เน็ต]; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/fammed/th/palliativecare/tools/doctorpalliative3th

มาลินี พิสุทธิโกศล. ระยะเวลารอดชีวิตในผู้ป่วยแบบประคับประคองที่เป็นมะเร็งเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ใช่มะเร็งโดยใช้ Palliative Performance Scale (PPS). วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2562; 27(3): 294-302.

กระทรวงสาธารณสุข. กฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดําเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ. 2553. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 127, ตอนที่ 65 ก (ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2553).

พรทวี ยอดมงคล. คู่มือสำหรับประชาชน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (palliative care)

ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.); 2561.

Lilly CM, De Meo DL, Sonna LA, Haley KJ, Massaro AF, Wallace RF, et al. An intensive communication intervention for the critically ill. Am J Med. 2000;109(6):469-75.

Arifin WN. A Web-based Sample Size Calculator for Reliability Studies. Education in Medicine Journal. 2018;10(3).

Shoukri MM, Asyali M, Donner A. Sample size requirements for the design of reliability study: review and new results. Stat Methods Med Res. 2004;13(4):251-71.

ประนอม โฉมกาย, มารยาท สุจริตวรกุล, พรรณพัชร สกุลทรงเดช. ประสิทธิผลของการประชุมครอบครัวของผู้ป่วยระยะสุดท้ายโรงพยาบาลชลบุรี. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2563]

เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/hhsk/article/view/225889.