การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

Kanjana Chuntanuy

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์  :  เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหา  พัฒนารูปแบบและประเมินผลรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น


แบบวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ


ผลการศึกษา :  รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) การขับเคลื่อนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของทีมสหสาขา ศปถ.อำเภอ   แวงใหญ่ 2) การวิเคราะห์  ชี้เป้าและจัดการจุดเสี่ยงโดยภาครัฐ  ท้องถิ่นและชุมชน 3) การพัฒนาศักยภาพ RTI Team ระดับตำบลให้มีความเข้มแข็ง 4) การดำเนินงานมาตรการและด่านชุมชนอย่างต่อเนื่อง 5) มาตรการองค์กรความปลอดภัยทางถนน 6) การสื่อสารความเสี่ยงที่ต่อเนื่อง 7) กลไกเชื่อมโยงการมีส่วนร่วมของเครือระดับอำเภอ ตำบลและท้องถิ่น  จากการดำเนินงานส่งผลให้การดำเนินงานการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนอยู่ในระดับดีเยี่ยม อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลดลง


สรุป : การพัฒนารูปแบบที่เกิดจากการนำกลยุทธ์ 5  ส. ทำให้เกิดการค้นหาปัญหาร่วมกันทุกภาคส่วน มีการคืนข้อมูลให้กับพื้นที่ นำสู่การวิเคราะห์ เกิดแนวทางและการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับสหสาขาวิชาชีพที่เหมาะสมกับพื้นที่รวมถึงมีการถอดบทเรียนร่วมกันทำให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในการปัองกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Global status report on road safety 2018. [Internet]. 2015 [cited 2020

September 1]. Available from: http://www.searo.who.int/thailand/areas/gsrs-thai.pdf?ua=1 WHO

หน่วยเฝ้าระวังและสะท้อนสถานการณ์ทางถนน. สถานการณ์อุบัติเหตุในภาพรวม. [อินเทอร์เน็ต]. 2018 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://trso.thairoads.org/statistic/national/N-SPI-A

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการประเมินการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน DHS-RTI. กรุงเทพมหานคร: เอ.พี.กราฟิคดีไซด์และการพิมพ์; 2559

โรงพยาบาลแวงใหญ่. ระบบสารสนเทศรายงานการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางถนน ปี 2562-2564. ขอนแก่น: โรงพยาบาลแวงใหญ่; 2562-2564.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น; 2553.

ทวีศักดิ์ นพเกสร. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครราชสีมา: โรงพิมพ์โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง; 2549.

เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์

คลังนานาวิทยา; 2558.

ศรีสมบูรณ์ คำผง. การพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยในการจราจรโดยคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม. 2564; 1(2); 72-86

สมนึก จันทร์เหมือน. การพัฒนาศักยภาพรูปแบบการจัดการความปลอดภัยในการจราจรโดยคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2563; 5(3); 105-116

ปิยนุช ภิญโย, กิตติภูมิ ภิญโย, กล้วยไม้ ธิพรพรรณ, ประภัสสร ชาวงษ์. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารพยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2565; 49(1) ; 160-174.