การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพ และหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบและประเมินผลระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
แบบวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
วัสดุและวิธีการ : ดำเนินการพัฒนาระบบริการร่วมกับทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก คือ “6 เสาหลักของระบบสุขภาพ” ระยะเวลาวิจัย เดือน ปีงบประมาณ 2563-2564 ประเมินผลจากผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย จำนวน 107 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา : ประเมินผลลัพธ์การดูแล ปี 2563-2564 พบว่า ผู้ป่วยได้รับการเจาะส่งเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 85.45,86.54 ได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงหลังการวินิจฉัย ร้อยละ 100,100ได้รับสารน้ำาทางหลอดเลือดดำอย่างน้อย 30 cc/Kg. ใน 1 ชั่วโมงแรก (กรณีไม่มีข้อห้ามในการให้IV ร้อยละ 81.82,82.69 การส่งไปรักษาต่อผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ร้อยละ 16.36,9.62 และไม่พบอุบัติการณ์ร้องเรียนของผู้ป่วย
สรุป : การพัฒนาระบบโดย “6 เสาหลักของระบบสุขภาพ” สามารถทำให้เกิดการจัดบริการที่มีประสิทธิภาพตอบสนองต่อการดูแล ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ได้มาตรฐาน เหมาะสมและปลอดภัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายผู้ป่วย ติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด. [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice. moph.go.th/hdc/main/index.php.
Makic MBF., Bridges E. Managing sepsis and septic shock: Current Guidelines and definitions. [Internet]. 2018. [cited 2019 June 26]. Available from : https://nursing. ceconnection. com/ovidfiles.
Glickman SW, Cairns CB, Otero RM, Woods CW, Tsalik EL, Langley RJ. Disease progression in hemodynamicallystable patients presenting to the emergency department with sepsis. Acad Emerg Med [Internet]. 2010. [cited 2019 June 26];17(4): 383-90.
Available from : https://onlinelibrary.wiley.com/doi/.
Dellinger RP, Levy MM, Makic MBF., Bridges E. Managing sepsis and septic shock: Current Guidelines and definitions. AJN [Internet] 2018. [cited 2019 June 29]. 118:34-39. Available from: https://nursing. ceconnection. com/ovidfiles.
Rhodes A, Annane D, Gerlach H, Opal SM, Moreno R. Surviving Sepsis Campaign International guidelines for management of severe sepsis and septic shock. Intensive Care Med [Internet]. 2013. [cited 2019 June 30]. 41:165-228. Available from : https://
www.springer.com/journal/134.
สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงแผนกการตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. . [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://healthkpi.moph.go.th/kpi/kpi-list/view/?id=964.
สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. การดูแลรักษาผู้ป่วย Severe Sepsis และ Septic Shock (ฉบับร่าง) แนวทางเวชปฏิบัติ. กรุงเทพฯ. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 30 มิถุนายน 2562]. เข้าถึงได้จาก : https://pubhtml5. com/ homepage/ ftaw.
สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7. แผนยุทธศาสตร์ เขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2560. [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 28 มิถุนายน 2562]. เข้าถึงได้จาก : http://bps.moph.go.th/ new_bps/.
World Health Organization. Monitoring the Building Blocks of Health Systems: A Handbook of Indicators and Their Measurement Strategies. Geneva: WHO Document Production Servicves; 2010.
โรงพยาบาลชนบท. ระบบสารสนเทศรายงานผลการดำเนินการผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ปี 2560-2562. ขอนแก่น: โรงพยาบาลชนบท; 2561-2562.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น; 2553.
ทวีศักดิ์ นพเกสร. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครราชสีมา: โรงพิมพ์โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง; 2549.
เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2558.
สมพร รอดจินดา. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลน่าน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2563;31:212-30.
อังคณา เกียรติมานะโรจน์.การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วย ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลวาปีปทุม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2564;5:27-43.
วิทยา บุตรสาระ,ยุพนา ลิงลม, สำเนียง คำมุข. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม 2560; ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี 2560. 2560. หน้า 17-25