ประสิทธิผลการรักษาด้วยการกายภาพบำบัดร่วมกับการฝังเข็มในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดที่ต้อง ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ระยะกลางในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มา: โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาที่สำคัญทั่วโลก มีหลายงานวิจัยพบว่าการฝังเข็มร่วมรักษาจะช่วยฟื้นฟูให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) และกำลังกล้ามเนื้อ (Motor power) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดในกลุ่มทดลองที่ฝังเข็มร่วมกับกายภาพบำบัดกับกลุ่มควบคุมที่ได้กายภาพบำบัดอย่างเดียว
วิธีดำเนินการ: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ nonequivalent control group กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดที่มารักษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 – มีนาคม 2565 จำนวน 46 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ฝังเข็มร่วมกับกายภาพบำบัดกับกลุ่มที่ทำกายภาพบำบัดอย่างเดียว วัดผลเป็น ADL และ Motor power หลังรักษาที่ 4, 8, 12 และ 16 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Paired-T test และ Mann Whitney U test
ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ย ADL หลังฟื้นฟูของทั้งสองกลุ่มสูงกว่าก่อนฟื้นฟูอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) ที่ 11.03 ในกลุ่มทดลองและ 10.47 ในกลุ่มควบคุม ส่วน Motor power พบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) ที่ 3.07 ในกลุ่มทดลองและ 1.82 ในกลุ่มควบคุม เมื่อเทียบระหว่าง 2 กลุ่มพบว่าในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย ADL และค่าเฉลี่ย Motor power เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมหลังการรักษา 16 ครั้งอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
สรุป: การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดที่ต้องฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ระยะกลางด้วยการกายภาพบำบัดร่วมกับฝังเข็มมีประสิทธิผลในการรักษาที่เหนือกว่าการกายภาพบำบัดอย่างเดียวทั้งในด้าน Motor power และ ADL ดังนั้นจึงควรให้การรักษาด้วยการฝังเข็มร่วมกับกายภาพบำบัดสำหรับผู้โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดในโรงพยาบาลชุมชน
คำสำคัญ: โรคหลอดเลือดสมอง, การฝังเข็มรักษา, การฟื้นฟูสภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
อรรถสิทธ์ิ ศรีสุบัติ. ต้นทุน-ประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังระยะเฉียบพลัน ด้วยรูปแบบการดูแลระยะกลางแบบผู้ป่วยใน (intermediate care) เปรียบเทียบกับ การฟื้นฟูสมรรถภาพแบบผู้ป่วยนอก. วารสารกรมการแพทย์. 2562;44(5):167–73.
สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง | Thai Stroke Society [Internet]. [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิ.ย. 22]. เข้าถึงได้จาก: https://thaistrokesociety.org/purpose/สถานการณ์โรคหลอดเลือดส/
สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562 (Public Health Statistics A.D.2019) [อินเตอร์เนต]. [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.ย. 9]. เข้าถึงได้จาก: http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8297
อัญชลี จูฑะพุทธิ, วิรัลพัชร เสียงประเสริฐ, บุญใจ ลิ่มศิลา, ฐิตารัตน์ ศุทธะชัยอนันต์. แนวทางการจัดบริการฝังเข็มโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก; 2563. 50 p.
Chavez L, Huang S-S, MacDonald I, Lin J-G, Lee Y-C, Chen Y-H. Mechanisms of Acupuncture Therapy in Ischemic Stroke Rehabilitation: A Literature Review of Basic Studies. Int J Mol Sci [Internet]. 2017 Oct 28;18(11):2270. Available from: http://www.mdpi.com/1422-0067/18/11/2270
Fang J, Chen L, Ma R, Keeler CL, Shen L, Bao Y, et al. Comprehensive rehabilitation with integrative medicine for subacute stroke: A multicenter randomized controlled trial. Sci Rep [Internet]. 2016 May 13 [cited 2021 Jul 18];6. Available from: /pmc/articles/PMC4865744/
เอื้อมพร สุ่มมาตย์, อุมภิกา ซองเหล็กนอก. ประสิทธิผลของการฟื้นฟูสภาพโดยการกายภาพบำบัดร่วมกับการฝังเข็มต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง [อินเตอร์เนต]. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ต.ค. 21]. p. 260–70. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/253272
Blackmer J, Jefromova L. The use of alternative therapies in the Saskatchewan stroke rehabilitation population [Internet]. 2002. Available from: http://www.biomedcentral.com/1472-6882/2/7
YL B, L L, YS H, Y W, PJ X, SW W, et al. Prospective, randomized controlled trial of physiotherapy and acupuncture on motor function and daily activities in patients with ischemic stroke. J Altern Complement Med [Internet]. 2013 Aug 1 [cited 2021 Jul 20];19(8):684–9. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23600965/
Zhu Y, Zhang L, Ouyang G, Meng D, Qian K, Ma J, et al. Acupuncture in subacute stroke: no benefits detected. Phys Ther [Internet]. 2013 Nov [cited 2022 Feb 19];93(11):1447–55. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23723385/
Bai YL, Li L, Hu YS, Wu Y, Xie PJ, Wang SW, et al. Prospective, Randomized Controlled Trial of Physiotherapy and Acupuncture on Motor Function and Daily Activities in Patients with Ischemic Stroke. https://home.liebertpub.com/acm [Internet]. 2013 Aug 1 [cited 2022 Feb 19];19(8):684–9. Available from: https://www.liebertpub.com/doi/abs/10.1089/acm.2012.0578
An effectiveness study comparing acupuncture, physiotherapy, and their combination in poststroke rehabilitation: a multicentered, randomized, controlled clinical trial - PubMed [Internet]. [cited 2022 Feb 19]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22875557/
Peng L, Zhang C, Zhou L, Zuo HX, He XK, Niu YM. Traditional manual acupuncture combined with rehabilitation therapy for shoulder hand syndrome after stroke within the Chinese healthcare system: a systematic review and meta-analysis. Clin Rehabil [Internet]. 2018 Apr 1 [cited 2022 Mar 7];32(4):429–39. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28901172/
Chen L, Fang J, Ma R, Gu X, Chen L, Li J, et al. Additional effects of acupuncture on early comprehensive rehabilitation in patients with mild to moderate acute ischemic stroke: a multicenter randomized controlled trial. BMC Complement Altern Med. 2016;16(226).
พยุงศักดิ์ สุจิตวัฒนศักดิ์. ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดด้วยวิธีฝังเข็มรักษา [Internet]. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.ค. 17]. p. 89–100. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/248311/170499
อรรัตน์ จันทร์เพ็ญ, ยศพล เหลืองโสมนภา, สุชีรา อนุศาสนรักษ์, เย็นภัทร์ คำแดงยอดไตย และคณะ. ผลของการฟื้นฟูตามโปรแกรมการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ต่อระดับกำลังกล้ามเนื้อและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี [อินเตอร์เนต]. 2558;26:60–71. เข้าถึงจาก: https://thaidj.org/index.php/JPNC/article/view/1697/1575