การศึกษาเปรียบเทียบผลของการฝังเข็มด้วยเลเซอร์กำลังต่ำกับการฝังเข็มแบบจีน ในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังชนิดไม่เจาะจง

Main Article Content

สมภพ สูอำพัน
จิรชัย พิสุทธิ์เบญญา
ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์
รณกร โลหะฐานัส
นวลอนงค์ พิมโคตร

บทคัดย่อ

ที่มาและวัตถุประสงค์: การฝังเข็มเลเซอร์คือการฉายเลเซอร์กำลังต่ำกระตุ้นจุดฝังเข็มเพื่อทดแทนการใช้เข็มตามศาสตร์แพทย์แผนจีน วัตถุประสงค์การวิจัยนี้ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการฝังเข็มเลเซอร์กับการฝังเข็มจีนในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังชนิดไม่เจาะจง


วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม ใช้การทดสอบแสดงความไม่ด้อยกว่า อาสาสมัครจำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มฝังเข็มเลเซอร์ (กลุ่มศึกษา จำนวน 35 คน) และกลุ่มฝังเข็มจีน (กลุ่มควบคุม จำนวน 35 คน) รับการรักษาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ตัวชี้วัดหลักคือ คะแนนความปวด (มาตรวัดตัวเลข 0-10) ตัวชี้วัดรองคือ ดัชนีความทุพพลภาพ (ออสเวสทรี) และการใช้ยาแก้ปวด ประเมินตัวชี้วัดก่อนการรักษาและหลังการรักษาสัปดาห์ที่ 2, 4 และ 8


ผลการศึกษา: การฝังเข็มเลเซอร์และการฝังเข็มจีนลดคะแนนความปวดและความทุพพลภาพ หลังการรักษาสัปดาห์ที่ 2, 4 และ 8 (p<0.05) และลดการใช้ยาแก้ปวด หลังการรักษาสัปดาห์ที่ 4 และ 8 (p<0.05) เปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการฝังเข็มเลเซอร์และการฝังเข็มจีน พบว่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนปวดอยู่ในช่วงการทดสอบความไม่ด้อยกว่า (ไม่เกิน 1.00) หลังการรักษาสัปดาห์ที่ 2 และ 4
สรุป: การฝังเข็มเลเซอร์และการฝังเข็มจีนมีประสิทธิผลในการลดความปวด ความทุพพลภาพ และการใช้ยาแก้ปวด การฝังเข็มเลเซอร์แสดงถึงประสิทธิผลไม่ด้อยกว่าการฝังเข็มจีนหลังการรักษาสัปดาห์ที่ 2 และ 4 และอาจเป็นทางเลือกในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังชนิดไม่เจาะจงได้

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการป่วย [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 1 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก http://bps.moph.go.th/new_bps

Keeley P, Creed F, Tomenson B, Todd C, Borglin G, Dickens C. Psycho-social predictors of health-related quality of life and health service utilisation in people with chronic low back pain. Pain 2008;135:142-50.

Horng YS, Hwang YH, Wu HC, Liang HW, Mhe YJ, Twu FC, et al. Predicting health-related quality of life in patients with low back pain. Spine (Phila Pa 1976) 2005;30:551-5.

Lefebvre C, Hindie J, Zappitelli M, Platt RW, Filion KB. Non-steroidal anti-inflammatory drugs in chronic kidney disease: a systematic review of prescription practices and use in primary care. Clin Kidney J 2019;13:63-71.

Zhang X, Donnan PT, Bell S, Guthrie B. Non-steroidal anti-inflammatory drug induced acute kidney injury in the community dwelling general population and people with chronic kidney disease: systematic review and meta-analysis. BMC Nephrol 2017;18:256.

Cheng KJ. Neurobiological mechanisms of acupuncture for some common illnesses: a clinician's perspective. J Acupunct Meridian Stud 2014;7(3):105-14.

World Health Organization. Acupuncture: Review and Analysis of Reports on Controlled Clinical Trials. Geneva: World Health Organization; 2003.

Lam M, Galvin R, Curry P. Effectiveness of acupuncture for nonspecific chronic low back pain: a systematic review and meta-analysis. Spine (Phila Pa 1976) 2013;38:2124-38.

Law D, McDonough S, Bleakley C, Baxter GD, Tumilty S. Laser acupuncture for treating musculoskeletal pain: a systematic review with meta-analysis. J Acupunct Meridian Stud. 2015;8:2-16.

Glazov G, Yelland M, Emery J. Low-level laser therapy for chronic non-specific low back pain: a meta-analysis of randomised controlled trials. Acupunct Med 2016;34:328-41.

คณะกรรมการจัดทำแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย พ.ศ.2542. แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย MMSE-Thai 2002. กรุงเทพฯ: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2545.

A Kelly. The minimum clinically significant difference in visual analogue scale pain score does not differ with severity of pain. Emerg Med J 2001;18: 205–7.

Gordo AC, Walker C, Armada B, Zhou D. Efficacy of celecoxib versus ibuprofen for the treatment of patients with osteoarthritis of the knee: A randomized double-blind, non-inferiority trial. J Int Med Res 2017;45:59-74.

ชนศักดิ์ หทัยอารีย์รักษ์, ภูริชา ชัยวิรัช, นราทร โสภณประภาภรณ์, วิภู กำเหนิดดี. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสำเร็จของการฝังเข็มเพื่อการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2555;22:89-94.

Sanjaroensuttikul N. The Oswestry low back pain disability questionnaire (version 1.0) Thai version. J Med Assoc Thai 2007;90:1417-22.

Cho YJ, Song YK, Cha YY, Shin BC, Shin IH, Park HJ, et al. Acupuncture for chronic low back pain: a multicenter, randomized, patient-assessor blind, sham-controlled clinical trial. Spine (Phila Pa 1976) 2013;38:549-57.

Comachio J, Oliveira CC, Silva IFR, Magalhães MO, Marques AP. Effectiveness of Manual and Electrical Acupuncture for Chronic Non-specific Low Back Pain: A Randomized Controlled Trial. J Acupunct Meridian Stud 2020;13:87-93.

Glazov G, Yelland M, Emery J. Low-dose laser acupuncture for non-specific chronic low back pain: a double-blind randomised controlled trial. Acupunct Med 2014;32:116-23.

World Association for Photobiomodulation Therapy (WALT). Recommended treatment doses for low level laser therapy [Internet]. 2010 [cited 20 Aug 2021]. Available from: https://waltpbm.org/wp-content/uploads/2021/08/Dose_table_780-860nm_for_Low_Level_Laser_Therapy_WALT-2010.pdf.

Chow RT, David MA, Armati PJ. 830 nM laser irradiation induces varicosity formation, reduce mitochondial membrane potential and block fast axonal flow in small and medium diameter rat dorsal root ganglion neurons: implications for the analgesic effects of 830 nm laser. J Peripher Nerv Syst 2007;12:28-39.

Kholoosy L, Elyaspour D, Akhgari MR, Razzaghi Z, Khodamardi Z, Bayat M. Evaluation of the Therapeutic Effect of Low Level Laser in Controlling Low Back Pain: A Randomized Controlled Trial. J Lasers Med Sci 2020 Spring;11:120-5.