ผลลัพธ์ของการใช้ระบบแพทย์ทางไกลควบคู่กับการดูแลปกติเปรียบเทียบกับการดูแลแบบปกติในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง: การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การแพทย์ทางไกลถูกนำมาใช้มากขึ้นในการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง แม้ว่าผลการศึกษาเรื่องประสิทธิภาพยังไม่ชัดเจน งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์การดูแลของผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคองระหว่างกลุ่มที่ได้รับการดูแลผ่านระบบแพทย์ทางไกลควบคู่กับการดูแลปกติเทียบกับกลุ่มปกติ วัตถุประสงค์รองคือจำนวนครั้งที่มาแผนกฉุกเฉินของทั้งสองกลุ่ม
วิธีการศึกษา แบบ Randomized controlled trial จากผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองจำนวน 58 รายในโรงพยาบาลรามาธิบดีระหว่างเดือน มกราคม 2564 ถึงมกราคม 2565 ได้รับการสุ่มเพื่อเข้ากลุ่มดูแลผ่านระบบแพทย์ทางไกลควบคู่กับการดูแลปกติจำนวน 29 รายและกลุ่มที่ได้รับการดูแลปกติจำนวน 29 ราย ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการประเมินผลลัพธ์การดูแลด้วย Palliative care Outcome Scale ฉบับภาษาไทยที่อาทิตย์ที่ 2 4 และ 6 หลังเข้าร่วมวิจัย เปรียบเทียบผลลัพธ์โดยใช้ Mann-Whiney U test
ผลการศึกษา ค่ามัธยฐานของคะแนน Palliative care Outcome Scale ที่อาทิตย์ที่ 2 4 และ 6 ของกลุ่มที่ได้รับการดูแลผ่านระบบแพทย์ทางไกลควบคู่กับการดูแลปกติคิดเป็น 8 (6,11) คะแนน 6 (4,10.5) คะแนน และ 6.5 (2.5,13) คะแนนตามลำดับเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลปกติคิดเป็น9(5,12) คะแนน 8.5(5.5,15.5) คะแนน และ 7(5,11) คะแนนตามลำดับ ซึ่งไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกับจำนวนครั้งที่ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมาแผนกฉุกเฉิน
สรุป คุณภาพชีวิตและการมาแผนกฉุกเฉินระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลผ่านระบบแพทย์ทางไกลควบคู่กับการดูแลปกติไม่แตกต่างกับการดูแลปกติ ในอนาคตควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในบริบทโรงพยาบาลอื่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
England PH. Coronavirus (COVID-19): What is social distancing? 2020 [12 May 2020]. Available from: https://publichealthmatters.blog.gov.uk/2020/03/04/coronavirus-covid-19-what-is-social-distancing/.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ก. Hospital-based NCI 2017 [cited 2020 August 10th]. Available from: http://www.nci.go.th/th/File_download/Nci Cancer Registry/HOSPITAL-BASED 2016 Revise 4 Final.pdf.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ก. เเผนการป้องกันเเละควบคุมโรคมะเร็งเเห่งชาติ ปี 2556-2560 [cited 2020 August 10th]. Available from: http://www.nci.go.th/th/File_download/D_index/NCCP_2556-2560.pdf.
WHO. WHO Definition of Palliative Care 2020 [cited 2020 June 19th]. Available from: https://www.who.int/cancer/palliative/definition/en/.
Johnston B, Kidd L, Wengstrom Y, Kearney N. An evaluation of the use of Telehealth within palliative care settings across Scotland. Palliative Medicine. 2011;26(2):152-61.
Hennemann-Krause L, Lopes AJ, Araújo JA, Petersen EM, Nunes RA. The assessment of telemedicine to support outpatient palliative care in advanced cancer. Palliat Support Care. 2015;13(4):1025-30.
Hancock S, Preston N, Jones H, Gadoud A. Telehealth in palliative care is being described but not evaluated: a systematic review. BMC Palliat Care. 2019;18(1):114.
Hoek PD, Schers HJ, Bronkhorst EM, Vissers KCP, Hasselaar JGJ. The effect of weekly specialist palliative care teleconsultations in patients with advanced cancer -a randomized clinical trial. BMC Med. 2017;15(1):119-.
Bausewein C, Fegg M, Radbruch L, Nauck F, von Mackensen S, Borasio GD, et al. Validation and clinical application of the German version of the palliative care outcome scale. J Pain Symptom Manage. 2005;30(1):51-62.
Hermann K, Engeser P, Szecsenyi J, Miksch A. Palliative patients cared for at home by PAMINO-trained and other GPs - health-related quality of life as measured by QLQ-C15-PAL and POS. BMC palliative care. 2012;11:13-.
Hebert MA, Brant R, Hailey D, Van Der Pol M. Potential and readiness for video-visits in rural palliative homecare: results of a multi-method study in Canada. Journal of Telemedicine and Telecare. 2006;12(3_suppl):43-5.
Tasneem S, Kim A, Bagheri A, Lebret J. Telemedicine Video Visits for patients receiving palliative care: A qualitative study. Am J Hosp Palliat Care. 2019;36(9):789-94.
Funderskov KF, Boe Danbjorg D, Jess M, Munk L, Olsen Zwisler AD, Dieperink KB. Telemedicine in specialised palliative care: Healthcare professionals' and their perspectives on video consultations-A qualitative study. J Clin Nurs. 2019;28(21-22):3966-76.