ผลการให้บริการผู้ป่วย COVID-19 ณ ศูนย์พักคอยในชุมชน(Community Isolation) มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เขตธนบุรี โรงพยาบาลเลิดสิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มาและวัตถุประสงค์: สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่เป็นปัญหาต่อระบบสาธารณสุข ทั่วโลก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการให้บริการผู้ป่วย COVID-19 ณ ศูนย์พักคอยในชุมชน โรงพยาบาลเลิดสิน
แบบวิจัย: การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา
วิธีการ: เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนการให้บริการระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม 2564 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2564 ในผู้ป่วยซึ่งได้รับการวินิจฉัยเป็น COVID-19 ที่มีกลุ่มอาการสีเขียว จำนวน 304 ราย วิเคราะห์ด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ากลาง ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบมัธยฐานของระยะเวลาด้วยสถิติ Mann-Whitney U Test
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 51.6% อายุเฉลี่ย 37.6 ปี ไม่ได้รับวัคซีน 62.5% ไม่มีโรคประจำตัว 76.0% อาการและอาการแสดงที่พบบ่อยสุด 5 อันดับ ได้แก่ ไม่ได้กลิ่น 77.1% ไอ 65.0% มีน้ำมูก 18.0% เจ็บคอ 8.6% และมีไข้ 7.5% ตามลำดับ ที่ศูนย์พักคอยฯ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยฟ้าทะลายโจร 74.3% และมีสถานะการจำหน่าย คือ ครบกำหนดกลับบ้าน 92.4 % ระยะเวลาที่ได้รับการรักษาในศูนย์พักคอยภายหลังทราบผลการตรวจเชื้อระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่มารับบริการในช่วงเวลาที่แตกต่างกันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.01)
สรุป: ผลจากการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าการตอบสนองต่อโรคระบาดใหม่นี้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับเวลาและองค์ความรู้ที่เพิ่มขึ้น การจัดทำศูนย์พักคอยเป็นการช่วยคัดแยกผู้ติดเชื้อ ออกจากครอบครัวและชุมชนเพื่อช่วยลดการระบาดในวงกว้างในชุมชน การร่วมมือร่วมใจของ ทุกภาคส่วนในการร่วมกันพัฒนาการให้บริการช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย การเรียนรู้ปัญหาอุปสรรคและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมช่วยให้ผ่านพ้นความยากลำบากนี้ไปด้วยกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
World Health Organization. Novel Coronavirus (2019-nCoV) Situation Report – 120 20 January 21
World Health Organization (WHO). Naming the coronavirus disease (COVID-19) and the virus that causes it [Internet]. 2019 [Cited 2022 Feb 1]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/technical-guidance/naming-thecoronavirus-disease-(covid-2019)-and-the-virus-that-causes-it
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 28 ก.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no13-160163.pdf
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). ข้อเสนอเพื่อการควบคุมวิกฤตโควิดระลอก 3 ในไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 22 ม.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก:https://tdri.or.th/2021/05/the-third-wave-of-covid-19-policy-suggestions/
กรมการแพทย์, กรมควบคุมโรค, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย, และเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet). แนวทางการจัดตั้งหอผู้ป่วยรวม (Cohort ward) ห้องแยกโรค (Isolation room) โรงพยาบาลสนาม (Field hospital) เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.2564. [เข้าถึงเมื่อ 27 ม.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/kOFMY
World Health Organization. Interim guidance for home base and isolation care of patient with Covid-19 for member states. [Internet]. 2021 [cited 2022 Feb 1]. Available from: https://shorturl.asia/L3d52
คู่มือการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) ฉบับปฏิบัติการ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) . [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 25 ม.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก:https://shorturl.asia/Dkfc5
ปิยะธิดา หาญสมบูรณ์, นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ และ อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ (บรรณาธิการ) .การจัดบริการ Home Isolation กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 22 ม.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/a2YfW
Pascarella G, Strumia A, Piliego C, Bruno F, Del Buono R, Costa F, et al. COVID-19 diagnosis and management: a comprehensive review. J Intern Med. 2020 ;288 (2):192-206.
Wilder-Smith A, Freedman DO. Isolation, quarantine, social distancing and community containment: pivotal role for old-style public health measures in the novel coronavirus (2019-nCoV) outbreak. J Travel Med. 2020; 27(2):taaa020. doi: 10.1093/jtm/taaa020. PMID: 32052841; PMCID: PMC7107565.
Ali I, Alharbi OML. COVID-19: Disease, management, treatment, and social impact. Sci Total Environ. 2020 Aug 1;728:138861. doi: 10.1016/j.scitotenv.2020.138861. Epub 2020 Apr 22. PMID: 32344226; PMCID: PMC7175909.
Liu J, Liu S. The management of coronavirus disease 2019 (COVID-19). J Med Virol. 2020 ;92(9):1484-1490.