ประสิทธิผลของการแจ้งเตือนทางโทรศัพท์ต่อการมารับบริการตรวจเต้านมโดยบุคลากรทางการแพทย์ในหน่วยบริการปฐมภูมิ: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

Main Article Content

วรัญญา ตั้งตระกูล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการแจ้งเตือนทางโทรศัพท์ต่อการมารับบริการตรวจเต้านมโดยบุคลากรทางการแพทย์


แบบวิจัย : การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (Randomized controlled trial)


วัสดุและวิธีการ : ศึกษาในประชากรหญิงอายุ 40-69 ปี จำนวน 84 คนที่มารับบริการคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลมหาราช เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ภาพอินโฟกราฟิกเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ใช้ในการเตือนผู้เข้าร่วมวิจัยกลุ่มทดลองให้เข้ารับการตรวจเต้านมทั้งหมด 6 ครั้ง ห่างครั้งละ 2 สัปดาห์ วัดสัดส่วนการตรวจเต้านมโดยบุคลากรทางการแพทย์เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับเพียงคำแนะนำตามเวชปฏิบัติทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานระหว่างประชากร 2 กลุ่มที่อิสระต่อกันด้วย Chi-square


ผลการศึกษา : ข้อมูลทั่วไปของผู้เข้าร่วมวิจัย ได้แก่ อายุเฉลี่ย สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สิทธิการรักษาทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p-value < 0.05) การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยบุคลากรทางการแพทย์ของผู้เข้าร่วมวิจัยกลุ่มควบคุมมีสัดส่วน 4/43 (9.30%) และกลุ่มทดลองมีสัดส่วน 13/41 (31.71%) p-value 0.035 (p < 0.05)


สรุป : การแจ้งเตือนทางโทรศัพท์มีประสิทธิผลต่อการมารับบริการตรวจเต้านมโดยบุคลากรทางการแพทย์ของหญิงที่มารับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิเมื่อเปรียบเทียบกับการให้คำแนะนำตามเวชปฏิบัติทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


คำสำคัญ : การแจ้งเตือนทางโทรศัพท์ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม การตรวจเต้านมโดยบุคลากรทางการแพทย์ อินโฟกราฟิก

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Roser M, Ritchie H. Number of deaths by cause, world, 2017[cited 2021 March 14].Available from: http://ourworldindata.org/cancer.

เอกภพ แสงอริยวนิช, รังสิยา บัวสัม, ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2561 hospital-based cancer registry 2018.กรุงเทพมหานคร: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2562.

American cancer society. Breast cancer facts & figures 2019-2020.Atlanta: American cancer society, Inc; 2019.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. นิยามตัวชี้วัด service plan สาขาโรคมะเร็งปี 2561- 2565 2561.

Oeffinger KC, Foritham ET, Etzioni R, Herzig A, Michaelson JS, Shin YT et al. Breast cancer screening for women at average risk 2015 guideline update from the American Cancer Society. JAMA 2015; 314: 1599-614.

Anderson BO, Bevers TB, Carlson RW. Clinical breast examination and breast cancer screening guideline. JAMA 2016; 315: 1403-4.

Provencher L, Hogue JC, Deshiens C, Poirier B, Poirier E, Boudreau D et al. Is clinical breast examination important for breast cancer detection?. Curr Oncol 2016; 23: e332-9.

Sankaranarayanan R, Ramadas K, Thara S, Muwonge R, Prabhakar J, Augustine P et al. Clinical breast examination: preliminary results from a cluster randomized controlled trial in India. J Natl Center Inst 2011; 103: 1-5.

Hurst CP, สุพรรณี พรหมเทศ, ณิชมน รักกะเปา. Factors associated with breast cancer awareness in Thai women. Asian Pac J Cancer Prev 2019; 20: 1825-31.

สุวรรณา มูเก็ม, หัชชา ศรีปลั่ง, McNeil E, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. Breast cancer screening among women in Thailand: Analyses of population-based household surveys. J Med Assoc Thai 2014; 11: 1106-18.

Nik Farid ND, Aziz NA, AI-Sadat N, Jamaludin M, Dahlui M. Clinical breast examination as the recommended breast cancer screening modality in a rural community in Malaysia; what are the factors that could enhance its uptake?. PLOS ONE 2014; 9: e106469-74.

Mohler PJ. Enhancing compliance with screening mammography recommendations: a clinical trial in a primary care office. Fam Med 1995; 27: 117-21.

Narasimhan K. Text message appointment reminders. Am Fam Physician 2013; 88: 20-21.

Vidal C, Garcia M, Benito L, Mila N, Binefa G, Moreno V. Use of text-message reminders to improve participation in a population-based breast cancer screening program. J Med Syst 2014; 38: 118-24.

Chung YI, Kang E, Yom CK, Kim D, Sun Y, Hwang Y et al. Effect of short message service as a reminder on breast self examination in breast cancer patients: a randomized controlled trial. J. Telemed. Telecare 2015; 21: 144-50.

Lin ML, Huang JJ, Li SH, Lee FH, Hou MF, Wang HH. Effects of different reminder strategies on first- mammography screening among women in Taiwan. BMC Health Services Research 2020; 20: 114-21.

Khokhar A. Short text message(SMS) as a reminder system for making working women from Delhi breast aware. Asian Pacific J Cancer Prev 2009; 10: 319-21.

TWF agency. Line in Thailand internet population[internet]. 2020[cited 2021 March 14]. Available from: https://www.twfdigital.com/blog/2020/04/line-user-stat-in-thailand-2020/

เมธาวี จำเนียร, เมธี แก้วสนิท. Health communication to promote the well-being for the community people. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี พ.ศ. 2561; 2: 155-66.

ณัฏฐพงษ์ สายพิณ. บทบาทของการสื่อสารอินโฟกราฟิกต่อสังคมไทย The role of communication infographics in Thai society. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต พ.ศ.2560; 2: 145-79.

Miller GA. The magical number seven, plus or minus two: sometimes on our capacity for processing information. Psychological Review 1994; 101: 343-52.

ธัชพล อินทรเทวี. ทัศนคติของคนไทยที่มีต่อการสื่อสารในรูปแบบอินโฟกราฟิกและข้อความในการรณรงค์ทางสังคม [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต]จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

McCrorie AD, Chen JJ, Weller R, McGlade KJ, Donnelly C. Trial of infographics in Northern Ireland(TINI): preliminary evaluation and results of a randomized controlled trial comparing infographics with text. Cogent Medicine 2018; 5: 1-12.

Buljan I, Malicki M, Wager E, Puljak L, Hren D, Kellie F et al. No difference in knowledge obtained from infographic or plain language summary of a Cochrane systematic review: three randomized controlled trials. J Clin Epidemiol 2018; 97: 86-94.

วันทนี ยอดสกุลยิ่งยง. อิทธิพลการสื่อสารการตลาด ณ จุดซื้อต่อผู้บริโภคตามหลักการ AIDA โมเดล กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น[รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ] มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

กัลยาวีร์ อนนท์จารย์. ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ(health belief model)[อินเตอร์เน็ต]. 2559[เข้าถึงเมื่อ 14 มี.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://myblogcomnurse.blogspot.com/2016/02/health-believe-model.html

วีรวุฒิ อิ่มสำราญ, อาคท ชัยวีระวัฒนะ, ดนัย มโนรมณ์, สมชาย ธนะสิทธิชัย. แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและ รักษาโรคมะเร็งเต้านม. กรุงเทพมหานคร: โฆสิตการพิมพ์; 2560.

ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษาแห่งชาติ สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. ร้อยละของระดับการศึกษาของประชากรไทยวัยแรงงานรวมชาย-หญิง(กลุ่มอายุ 15-59 ปี) ปี 2559-2564[อินเตอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อ 9 มี.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://backoffice.onec.go.th/uploaded2/Category/202202/20220225_EDAVG_EDULEVEL5964.doc

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานภาวะเศรษฐกิจในประเทศปี 2564[อินเตอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อ 9 มี.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=11555.

พิเชฐ สัมปทานุกุล. หลักการทำวิจัย สู่ความสำเร็จในการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์ วิทยาการวิจัยแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555. หน้า 135.

พิเชฐ สัมปทานุกุล. หลักการทำวิจัย สู่ความสำเร็จในการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์ วิทยาการวิจัยแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555. หน้า 138.