เปรียบเทียบระยะเวลารอดชีพระหว่างผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางหน้าท้องโดยผู้ดูแลกับผู้ป่วยที่ล้างไตทางหน้าท้องด้วยตนเอง ณ คลินิกไตเทียม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

Main Article Content

ธนิสร พรประสิทธิ์
อิทธิชัย วัฒนโกศล
แสงเดือน แสงสระศรี

บทคัดย่อ

ที่มาและวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลารอดชีพ ระหว่างผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ล้างไตทางหน้าท้องโดยผู้ดูแลกับผู้ป่วยที่ล้างไตทางหน้าท้องด้วยตนเอง


แบบวิจัย: การศึกษาเชิงพยากรณ์ ที่มีการเก็บข้อมูลแบบย้อนหลัง


วัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ล้างไตทางหน้าท้องรายใหม่ ณ คลินิกไตเทียม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 ผู้ป่วยถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่ล้างไตทางหน้าท้องโดยผู้ดูแลกับผู้ป่วยที่ล้างไตทางหน้าท้องด้วยตนเอง เก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และข้อมูลการล้างไตทางหน้าท้อง เปรียบเทียบการอยู่รอดโดยวิธี Kaplan–Meier และ log-rank test หาปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีพโดย Multivariable Cox's regression


ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 148 คน กลุ่มผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้องโดยผู้ดูแลจำนวน 67 คน (45.2%) มีอายุเฉลี่ย 62.2 ± 10.5 ปี และกลุ่มล้างไตทางหน้าท้องด้วยตนเอง 81 คน (54.7%) มีอายุเฉลี่ย 49.0 ± 11.3 ปี (p<0.001) เปรียบเทียบระยะเวลารอดชีพระหว่างกลุ่มและปรับปัจจัยรบกวน พบระยะเวลารอดชีพในกลุ่มที่ล้างไตทางหน้าท้องโดยผู้ดูแลและกลุ่มล้างไตทางหน้าท้องด้วยตนเองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (Adjusted HR = 1.25, 95%CI 0.50-3.14, p=0.632)  ทั้งสองกลุ่มมีระยะปลอดเยื่อบุช่องท้องอักเสบและติดเชื้อช่องทางออกไม่แตกต่างกัน อายุที่มากกว่า 60 ปีเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการตาย และการเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ


สรุป: ระยะเวลารอดชีพ ระยะปลอดติดเชื้อเยื่อบุช่องท้อง และระยะปลอดติดเชื้อแผลช่องทางออกในกลุ่มผู้ป่วยที่ล้างไตทางหน้าท้องทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ผู้ป่วยสูงอายุที่ล้างไตทางหน้าท้อง ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิต และการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

คณะอนุกรรมการลงทะเบียนการรักษาทดแทนไต (TRT) สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. ข้อมูลการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2562 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 7 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2021/01/1.TRT-Annual-report-2016-2019.pdf

ระบบฐานข้อมูลแบบสมัครใจ เพื่อช่วยเหลือหน่วยบริการในการ M&E และพัฒนาคุณภาพการบริบาลล้างไตทางช่องท้อง. รายงานแสดงจำนวนผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียน [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 7 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://dpexthailand.org/reports.php

กลุ่มงานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร เรื่องไตวายในประเทศไทย. รายงานผลการพิจารณาศึกษาเรื่องภาวะไตวายในประเทศไทย โดยคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา; 2556:หน้า (ก).

วาสนา สวนพุฒ. ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง อําเภอสอง จังหวัดแพร่.วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557;23(2):284-289.

Yu Z, Seow Y, Seow P, Tan B. Effectiveness of a day care program in supporting patients on peritoneal dialysis and their caregivers. Int Urol Nephrol 2016;48(5):799–805.

Konstadina G, Zhenli Y, Sally C, Thanaletchumi K, Ruyani B, Faezah B, et al. Age is not a contraindication to home-based dialysis - quality-of-life outcomes favour older patients on peritoneal dialysis regimes relative to younger patients. J Adv Nurs 2014;70(8):1902-1914

Belasco A, Barbosa D, Bettencourt AR, Diccini S, Sesso R. Quality of life of family caregivers of elderly patients on hemodialysis and peritoneal dialysis Am J Kidney Dis 2006 Dec;48(6):955-63.

Moore R, Teitelbaum I. Preventing burnout in peritoneal dialysis patients. Adv Perit Dial 2009;25:92-95.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. Thailand PD Newsletter [อินเตอร์เน็ต]. ตุลาคม-ธันวาคม 2559 [เข้าถึงเมื่อ 16 มีนาคม 2565];1(4):3. เข้าถึงได้จาก https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2020/08/NewsLetter_%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%9A_4_%E0%B8%95%E0%B8%84-%E0%B8%98%E0%B8%84_59_%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%AF.pdf

Sakacı T, Ahbap E, Koc Y, Basturk T, Ucar ZA, Sınangıl A, et al. Clinical outcomes and mortality in elderly peritoneal dialysis patients. Clinics (Sao Paulo). 2015 May;70(5):363-8.

Lobbedez T, Moldovan R, Lecame M, Hurault de Ligny B, El Haggan W, Ryckelynck JP. Assisted peritoneal dialysis. Experience in a French renal department. Perit Dial Int 2006; 26:671–6.

Querido S, Branco PQ, Costa E, Pereira S, Gaspar MA, Barata JD. Results in Assisted Peritoneal Dialysis: A Ten-Year Experience. Int J Nephrol 2015;2015:712539.

Povlsen JV, Ivarsen P. Assisted peritoneal dialysis: also for the late referred elderly patient. Perit Dial Int 2008; 28:461–7

Xu R, Zhuo M, Yang Z, Dong J. Experience with assisted peritoneal dialysis in China. Perit Dial Int 2012;32(1):94-101.

Al Wakeel JS, Al Ghonaim MA, Aldohayan A, Usama S, Al Obaili S, Tarakji AR, et al. Appraising the outcome and complications of peritoneal dialysis patients in self-care peritoneal dialysis and assisted peritoneal dialysis: A 5-year review of a single Saudi center. Saudi J Kidney Dis Transpl 2018 Jan-Feb;29(1):71-80.

ทวี ศิริวงศ์, ชลธิป พงศ์สกุล, ทัดสะลัง แก้วบุนมา , ดรุณี จันทร์เลิศฤทธิ์, กนกกร ศรีทาโส, เจฟฟ์ จอห์นส. ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อทางช่องท้องครั้งแรกในผู้ป่วยไทยที่ล้างไตทางช่องท้องแบบถาวร. จดหมายเหตุทางแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. 2549;89(2):138-145

ธวัช เตียวิไล,รสสุคนธ์ ตันติวิชิตเวช. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องครั้งแรกของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลโพธาราม. วารสารแพทย์เขต 4-5 2563;39(1):51-64.

Xia X, Qiu Y, Yu J, Lin T, Lu M, Yi C, et al. Ten-year survival of patients treated with peritoneal dialysis: a prospective observational cohort study. Peri Dial Int 2020;40(6):573-580.

Castrale C, Evans D, Verger C, Fabre E, Aguilera D, Ryck elynck JP, et al. Peritoneal dialysis in elderly patients: report from the French Peritoneal Dialysis Registry (RDPLF). Nephrol Dial Transplant 2010; 25:255–62.

Jiang C, Zheng Q. Outcomes of peritoneal dialysis in elderly vs non-elderly patients: A systemic review and meta-analysis. PLoS One 2022 Feb 8;17(2):e0263534.