การศึกษาเปรียบเทียบระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ใช้บริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์กับกลุ่มรับยาที่แผนกผู้ป่วยนอก ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด -19

Main Article Content

สุธาทิพย์ ตันกุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ที่มา: ผู้ป่วยเบาหวานเมื่อป่วยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จะมีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตสูงกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า โรงพยาบาลมะการักษ์จึงปรับให้มีบริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ในกลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมโรคได้ตามเป้าหมาย เพื่อลดโอกาสติดเชื้อโควิด-19  ทั้งนี้ยังไม่พบการศึกษาเปรียบเทียบระดับน้ำตาลสะสมในเลือดในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุม ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ตามเป้าหมาย ระหว่างกลุ่มที่ใช้บริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์กับกลุ่มใช้บริการรับยาที่แผนกผู้ป่วยนอก ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน


วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ตามเป้าหมาย ระหว่างกลุ่มที่ใช้บริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์กับกลุ่มใช้บริการรับยาที่แผนกผู้ป่วยนอก ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19


แบบวิจัย: การศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง


วิธีการ: ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับยาลดน้ำตาลชนิดรับประทานในแผนกผู้ป่วยนอก เดือนมกราคม – ธันวาคม พ.ศ.2563 ที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดน้อยกว่า 7% และติดตามระดับน้ำตาลสะสมในเลือดไม่เกิน 3 เดือน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ใช้บริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ และกลุ่มใช้บริการรับยาที่แผนกผู้ป่วยนอก 


ผลการศึกษา: จากข้อมูลผู้ป่วยจำนวนทั้งหมด 1244 คน เมื่อนำมาปรับค่าตัวแปรต้นด้วย Propensity score matching เหลือกลุ่มละ 405 คน และข้อมูลมีการแจกแจงแบบไม่ปกติ จึงใช้ค่ามัธยฐานแทนค่าเฉลี่ยที่เป็นค่ากลาง พบว่าหลังติดตามระดับน้ำตาลสะสมในเลือดกลุ่มที่ใช้บริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์มีค่ามัธยฐาน 6.6% (IQR = 6, 7.1) กลุ่มรับยาที่แผนกผู้ป่วยนอกมีค่ามัธยฐาน 6.5% (IQR = 6, 7) (P-value = 0.242) 


สรุป: กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ตามเป้าหมายอยู่เดิม การใช้บริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์และการใช้บริการรับยาที่แผนกผู้ป่วยนอกในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เมื่อติดตามระดับน้ำตาลสะสมในเลือดพบว่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 


คำสำคัญ:  โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, บริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
Author Biography

สุธาทิพย์ ตันกุล

แพทย์ปฏิบัติงานเพื่อสอบวุฒิบัตรสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ชั้นปีที่3

โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี

References

Sohrabi C, Alsafi Z, O'Neill N, Khan M, Kerwan A, Al-Jabir A, et al. World Health Organization declares

global emergency: A review of the 2019 novel coronavirus (COVID-19). Int J Surg. 2020;76:71-6.

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ภายในประเทศ อัพเดตรายวัน [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/.

สำนักโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ข่าวทันสถานการณ์โควิด-19

[อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก:

https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28032.

สปสช.จับมือ ไปรษณีย์ไทย เพิ่มศักยภาพส่งยาสิทธิบัตรทอง หนุนการแพทย์ยุคใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. กันยายน 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th/news/2885.

กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดบริการคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูงวิถีใหม่ แบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (สำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2 ก.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก:

https://drive.google.com/drive/folders/1SOsEuu76JmNjUDT2nPcJeqUKpagpJbVS.

Roncon L, Zuin M, Rigatelli G, Zuliani G. Diabetic patients with COVID-19 infection are at higher risk of ICU admission and poor short-term outcome. J Clin Virol. 2020;127:104354.

Williamson EJ, Walker AJ, Bhaskaran K, Bacon S, Bates C, Morton CE, et al. Factors associated with COVID-19-related death using OpenSAFELY. Nature. 2020;584(7821):430-6.

Bode B, Garrett V, Messler J, McFarland R, Crowe J, Booth R, et al. Glycemic characteristics and clinical outcomes of COVID-19 patients hospitalized in the United States. Journal of diabetes science and technology. 2020; 14(4): 813-21.

Makki I, Alnoon N, Rahmani N, Almulla J, Alamiri A, Alfalasi A, et al. Impact of COVID 19 Lockdown on Glycemic Control in Patients with Type 2 Diabetes Mellitus in Dubai. Curr Diabetes Rev. 2021.

Fernández E, Cortazar A, Bellido V. Impact of COVID-19 lockdown on glycemic control in patients with type 1 diabetes. Diabetes Res Clin Pract. 2020;166:108348.

Sutkowska E, Marciniak DM, Sutkowska K, Biernat K, Mazurek J, Kuciel N. The impact of lockdown caused by the COVID-19 pandemic on glycemic control in patients with diabetes. Endocrine. 2022:1-9.

Karatas S, Yesim T, Beysel S. Impact of lockdown COVID-19 on metabolic control in type 2 diabetes mellitus and healthy people. Prim Care Diabetes. 2021;15(3):424-7.

Khare J, Jindal S. Observational study on effect of lock down due to COVID 19 on HBA1c levels in patients with diabetes: Experience from Central India. Primary Care Diabetes. 2021.

ปราณี ชัยหลาก, อรุณรัตน์ สู่หนองบัว. ผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานในสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชัยภูมิ ปี2563. ชัยภูมิเวชสาร 2564;1(41):111-21.

ณกานต์ชญาน์ นววัชรินทร์, สุดฤทัย รัตนโอภาส, สุพาณี น้อยเอียด. การพัฒนาระบบบริการทางโทรศัพท์ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2564;2:62-75.

Schwab P, Racsa P, Rascati K, Mourer M, Meah Y, Worley K. A Retrospective Database Study Comparing Diabetes-Related Medication Adherence and Health Outcomes for Mail-Order Versus Community Pharmacy. J Manag Care Spec Pharm. 2019;25(3):332-40.

กลุ่มพัฒนาความร่วมมือในประเทศและระหว่างประเทศ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ผลกระทบและการปรับตัวของนโยบายและระบบบริการสุขภาพ (ภาครัฐและเอกชน) สำหรับโรคไม่ติดต่อ (Health service response) ระหว่าง ช่วงการระบาดของ COVID-19 รอบแรกและรอบสอง [Internet]. 2021 [cited 2022 Feb 20]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1198820211129082915.pdf.

Davies MJ, D'Alessio DA, Fradkin J, Kernan WN, Mathieu C, Mingrone G, et al. Management of Hyperglycemia in Type 2 Diabetes, 2018. A Consensus Report by the American Diabetes Association (ADA) and the European Association for the Study of Diabetes (EASD). Diabetes Care. 2018;41(12):2669-701.

Lopes A, Roque F, Morgado S, Dinis C, Herdeiro MT, Morgado M. Behavioral Sciences in the Optimization of Pharmacological and Non-Pharmacological Therapy for Type 2 Diabetes. Behavioral Sciences. 2021;11(11):153

Zhang L, Zakharyan A, Stockl KM, Harada AS, Curtis BS, Solow BK. Mail-order pharmacy use and medication adherence among Medicare Part D beneficiaries with diabetes. J Med Econ. 2011;14(5):562-7.

Ramachandran B, Trinacty CM, Wharam JF, Duru OK, Dyer WT, Neugebauer RS, et al. A Randomized Encouragement Trial to Increase Mail Order Pharmacy Use and Medication Adherence in Patients with Diabetes. J Gen Intern Med. 2021;36(1):154-61.

Ahmad NS, Islahudin F, Paraidathathu T. Factors associated with good glycemic control among patients with type 2 diabetes mellitus. J Diabetes Investig. 2014;5(5):563-9.

de Pablos-Velasco P, Parhofer KG, Bradley C, Eschwège E, Gönder-Frederick L, Maheux P, et al. Current level of glycaemic control and its associated factors in patients with type 2 diabetes across Europe: data from the PANORAMA study. Clin Endocrinol (Oxf). 2014;80(1):47-56.

Babic N, Valjevac A, Zaciragic A, Avdagic N, Zukic S, Hasic S. The Triglyceride/HDL Ratio and Triglyceride Glucose Index as Predictors of Glycemic Control in Patients with Diabetes Mellitus Type 2. Med Arch. 2019;73(3):163-8.