ความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการบริหารจัดการด้านบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิตามหลักการบริหารจัดทางระบาดวิทยาเพื่อรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่ 1 และ 2 ใน จ.พิษณุโลก พ.ศ. 2563

Main Article Content

ศศิธร ศรีโพธิ์ทอง
วิโรจน์ วรรณภิระ

บทคัดย่อ

กระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาตรการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินต่อการระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อให้สถานพยาบาลเตรียมการและวางแผนรับมือ แต่มุมมองของผู้ให้บริการต่อการวางแผนและปฏิบัติตามมาตรการจัดการด้านบริการในสถานการณ์จริงนั้นมีความแตกต่างกัน การวิจัยผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการบริหารจัดการด้านบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิที่ได้ปฏิบัติจริงในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่1 และ 2 ของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ รพ.พุทธชินราช พิษณุโลก  เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามในบุคลากรทางการแพทย์จำนวน 108 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกในบุคลากรทางการแพทย์ที่สามารถให้ข้อมูลได้มากและเจาะลึกตรงตรงประเด็น จำนวน 8 คน ระหว่างเดือน ก.ย.-พ.ย พ.ศ.2563 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยสถิติร้อยละ มัธยฐานควอไทล์ที่ 1 และ 3  และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าการบริหารจัดการด้านบริการทั้ง 5 ด้านมีคะแนนอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เนื่องจากมีความพร้อมด้านบุคลากรทางการแพทย์ทีมีประสบการณ์และได้รับการสนับสนุนจาก รพ.แม่ข่ายเป็นอย่างดี แต่ยังพบประเด็นที่ต้องปรับปรุง ได้แก่ ด้านการบริการทั่วไป พบปัญหาในภารกิจการตอบคำถามผ่านโทรศัพท์หรือไลน์ การให้คำปรึกษาออนไลน์ และการให้บริการรับยาโดยไม่พบแพทย์ยังไม่ครอบคลุมทุก รพ.สต. ยังพบปัญหาการรับรู้ของผู้รับบริการต่อการให้บริการผู้ป่วยทั่วไปที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงการระบาดโควิด-19 ด้านคลินิกโรคทางเดินหายใจ พบปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลและไม่เพียงพอต่อความต้องการ การจัดแยกบริเวณพื้นที่ ILI (influenza like illness ) และ non-ILI ไม่ชัดเจน ด้านการทำงาน พบปัญหาเกี่ยวกับการอบรมการใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลและการจัดที่พักและรับประทานอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจุดเสี่ยงสูง ด้านการดูแลคลังและอุปกรณ์สนับสนุน พบปัญหาการจัดทำบัญชีและจัดเก็บอุปกรณ์ทางการแพทย์ และด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ พบว่าไม่ได้จัดอบรมพนักงานทำความสะอาดอย่างชัดเจน ดังนั้น การนำผลการศึกษาไปพัฒนาและปรับปรุงวิธีการจัดการและบริการวิถีใหม่จะช่วยให้หน่วยบริการปฐมภูมิเกิดความพร้อมและสร้างความปลอดภัยให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยทั่วไป

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน

พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) [อินเทอร์เน็ต ]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 8 พ.ค. 2563] เข้าถึงได้จากhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/g_other02.pdf

กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดระบบบริการของโรงพยาบาล กรณีมีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในวงกว้าง [อินเทอร์เน็ต ]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 9 พ.ค. 2563] เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/guidelines/G33.pdf

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต ]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 8 พ.ค. 2563] เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/G42_4.pdf

งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ.สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง [อินเทอร์เน็ต ]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 5 ต.ค. 2564] เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

พิษณุโลกฮอตนิวส์. เปิดไทม์ไลน์ผู้ติดเชื้อพิษณุโลกรายแรก [อินเทอร์เน็ต ]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 5 ต.ค. 2564] เข้าถึงได้จาก https://www.phitsanulokhotnews.com/tag/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94-19

วิไลลักษณ์ หฤหรรษพงศ์. ความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพมหานคร .วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2557 ; 7 : 55-64

วีณา ภักดีศิริชัย. ความพร้อมของระบบตอบโต้ภาวะฉุกเฉินแบบบูรณาการสำหรับการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรณีศึกษา : จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. 2557. วารสารควบคุมโรค 2557 ; 40(2) : 191-201.

สุธารัตน์ แลพวง. การบริหารจัดการภายใต้มาตรการคัดกรองเพื่อรับมือสถานการณ์โรคไวรัส COVID-19 ของโรงพยาบาลปทุมธานี.[การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ : รามคำแหงมหาวิทยาลัย ; 2562.

กันต์ฤทัย คลังพหล. การวิจัยแบบผสมวิธี MIXED METHODS RESEARCH.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2563 ; 14 : 235-56.

กรมควบคุมโรค. แนวทางการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล [อินเทอร์เน็ต ]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 21 ธ.ค. 2564] เข้าถึงได้จาก: https://zhort.link/DxY

กรมการแพทย์. แนวทางการจัดตั้งคลินิกตรวจโรคระบบทางเดินหายใจ (ARI Clinic) [อินเทอร์เน็ต ]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 21 ธ.ค. 2564] เข้าถึงได้จาก: https://zhort.link/DxV

Yadav UN, Rayamajhee B, Mistry SK, Parsekar SS and Mishra SK (2020) A Syndemic Perspective on the Management of Non-communicable Diseases Amid the COVID-19 Pandemic in Low- and Middle-Income Countries. Front. Public Health 8:508. doi: 10.3389/fpubh.2020.00508

Salman R, Luke N. Allen, Florian L. Lessons on the COVID-19 pandemic, for and by primary care professionals worldwide, European Journal of General Practice 2021 ; 26 : 129-133.

ปฐมพร ศิรประภาศิริ. แนวทางลดความแออัดในโรงพยาบาลเพื่อลดการแพร่กระจาย COVID-19 [อินเทอร์เน็ต ]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 8 พ.ค. 2563] เข้าถึงได้จากhttp://www.kkpho.go.th/i/index.php/component/attachments/download/8012 (4/8/2564)

ดารารัตน์ ชูวงค์อินทร์. การสื่อสารทางการพยาบาลในยุคการแพทย์เปลี่ยนวิถี.วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 2563 ; 2(2) : 25-38.

Gareth L. Covid-19: Doctors still at “considerable risk” from lack of PPE, BMA warns. BMJ 2020 ; 368 : m1316.

Clare D. Covid-19: Doctors make bid for public inquiry into lack of PPE for frontline workers. BMJ 2020 ; 369 : m1905.

Davey SL, Lee BJ, Robbins T, Randeva H, & Thake CD. (2021). Heat stress and PPE during COVID-19: impact on healthcare workers' performance, safety and well-being in NHS settings. J Hosp Infect 2021 ; 108 : 185–88.

สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. แนวทางการดูแลด้านสังคมจิตใจบุคลากรทางการสาธารณสุข. [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 5 ส.ค. 2563] เข้าถึงได้จาก https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document/200417158712041814.pdf?fbclid=IwAR0y7vwbOPU7Bxr5Sk60D6O8wLexsh0AY1Sjrjdbwjd6ae82UKTFWA_-3CE

world health organizationzation. Cleaning and disinfection of environmental surfaces in the context of COVID-19 [internet]. 2563. [cited 2021, August 8 ] Available from : https://www.who.int/publications/i/item/cleaning-and-disinfection-of-environmental-surfaces-inthe-context-of-covid-19.