ผลกระทบทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์จังหวัดตรังระหว่างการระบาดของโรค COVID-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิต และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพจิตบุคลากรทางการแพทย์จังหวัดตรัง ระหว่างการระบาดโรค COVID-19
แบบวิจัย: วิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง
วัสดุและวิธีการ: กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์ จังหวัดตรัง มีบุคลากรเข้าร่วมการวิจัย 345 คน สุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Random Sampling เก็บข้อมูลด้วย google form ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปบุคคล ข้อมูลการสัมผัสการระบาดโรค COVID-19 และแบบวัดภาวะสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติถดถอยโลจิสติคหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับปัญหาภาวะสุขภาพจิต
ผลการศึกษา: บุคลากรทางการแพทย์จังหวัดตรังมีความชุกภาวะซึมเศร้าร้อยละ 9.5 ภาวะวิตกกังวลร้อยละ 13.1 และภาวะเครียดร้อยละ 2.7 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลคือสถานที่ทำงานจัดอุปกรณ์ป้องกันระหว่างปฏิบัติงาน (PPE) ไม่เพียงพอ (p=0.005) โดยมีโอกาสเกิดภาวะวิตกกังวลมากกว่ากลุ่มที่จัดอุปกรณ์ PPE เพียงพอ (AOR 2.95, 95%CI: 1.38-6.31) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเครียดคือโรคประจำตัว (p=0.005) โดยบุคลากรที่มีโรคประจำตัวมีโอกาสเกิดภาวะเครียดมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีโรคประจำตัว (AOR 17.86, 95%CI: 2.69-118.55)
สรุปผล: ความชุกของภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และเครียดของบุคลากรทางการแพทย์จังหวัดตรัง มีค่าใกล้เคียงกับการศึกษาในประเทศสิงคโปร์ที่ควบคุมการระบาดโรค COVID-19 ได้ดี การจัดอุปกรณ์ PPE ให้เพียงพอช่วยลดภาวะวิตกกังวลของบุคลากร ควรซักประวัติโรคประจำตัวบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยโรค COVID-19 หรือผู้ป่วย PUI เนื่องจากเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเครียดมากกว่าบุคลากรที่ไม่มีโรคประจำตัว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์การโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.mo ph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no113-250463.pdf
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. รายงานประจำวันสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tro. moph.go.th/COVID-19.php
Chong MY, Wang WC, Hsieh WC, Lee CY, Chiu NM, Yeh WC, et al. Psychological impact of severe acute respiratory syndrome on health workers in a tertiary hospital. Br J Psychiatry 2004;185:127-33.
Goulia P, Mantas C, Dimitroula D, Mantis D, Hyphantis T. General hospital staff worries, perceived sufficiency of information and associated psychological distress during the A/H1N1 influenza pandemic. BMC infect dis 2010;10:1-11.
นภวัลย์ กัมพลาศิรฺ. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพ: วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 7 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.elnurse.ssru.ac. th/noppawan_ku/pluginfile.php/86/block html/content/pdf
Tan BY, Chew NW, Lee GK, Jing M, Goh Y, Yeo L, et al. Psychological impact of the COVID-19 pandemic on health care workers in Singapore. Ann Intern Med 2020;173:317-20.
Du J, Dong L, Wang T, Yuan C, Fu R, Zhang L, & Li, et al. Psychological symptoms among frontline healthcare workers during COVID-19 outbreak in Wuhan. Gen Hosp Psychiatry 2020;67:144–5.
Lowy Institute. Covid performance index [Internet]. Geneva: WHO; 2021 [cited 2021 Feb 25]. Available from: https:// interactives.lowyinstitute.org/features/covid-performance/
Romero CS, Delgado C, Catalá J, Ferrer C, Errando C, Iftimi A, et al. COVID-19 psychological impact in 3109 healthcare workers in Spain: The PSIMCOV group. Psychol Med 2020;14:1–7.
Sayeed A, Kundu S, Al Banna MH, Christopher E, Hasan MT, Begum MR, et al. Mental health outcomes of adults with comorbidity and chronic diseases during the COVID-19 pandemic: a matched case-control study. Psychiatr Danub 2020;32:491-8.
Mukeshimana M, Chironda G. Depression and Associated Factors Among the Patients with Type 2 Diabetes in Rwanda. Ethiop J Health Sci 2019;29:709–18.
Rozario SS, Masho SW. The Associations Between Mental Health Status, Hypertension, and Hospital Inpatient Visits in Women in the United States. Am J Hypertens 2018;31:804-10.
พัทธนันท์ เอกนิพิตรพงศ์. รายงานชี้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีโรคประจำตัว เสี่ยงอาการรุนแรง เสียชีวิตมากกว่าคนปกติ [อินเตอร์เน็ต]. อินโฟเควสท์. 2563 มิ.ย. 16; [เข้าถึงเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ry t9.com/s/iq47/3133734.
Dai Y, Hu G, Xiong H, Qiu H, Yuan X. Psychological impact of the coronavirus disease 2019 (COVID-19) outbreak on healthcare workers in China. MedRxiv 2020.
สำนักข่าวไทย. วิกฤติขาดแคลนหน้ากาก [อินเตอร์เน็ต]. สำนักข่าวไทย. 2563 มี.ค. 9; [เข้าถึงเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/tnamcot/posts/2640793099358146?comment_id=2640802652690
สำนักข่าวไทยโพสต์. อว.แบ่งงบ 3,000 ล้าน แก้ปัญหาอุปกรณ์ทางการแพทย์สู้โควิด-19 ขาดแคลน [อินเตอร์เน็ต]. ไทยโพสต์. 2563 มี.ค. 31; [เข้าถึงเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/covid-19/323173/