ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้นในผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

ระพีพัฒน์ โฆษิตานนท์

บทคัดย่อ

บทนำ:  ภาวะสมองบกพร่องระยะต้น (mild neurocognitive disorder; mNCD) ถือได้ว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease; AD) การคัดกรองผู้สูงอายุที่มีโอกาสเกิด mNCD และให้การดูแลรักษาเพื่อการป้องกันการเกิด AD


วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้นในผู้สูงอายุ


รูปแบบวิจัยการวิจัยแบบตัดขวาง


วิธีการ:  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มารับบริการที่ศูนย์ส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ ใช้เครื่องมือวิจัย 6 ชุด เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วง ก.ค. 2563 - มี.ค. 2564 ใช้เกณฑ์การวินิจฉัย mNCD ตาม DSM-V


ผลการศึกษา:  ผู้สูงอายุ 380 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่ม mNCD 204 คน และกลุ่มความจำปกติ 176 คน ความชุกของ mNCD มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยพบความชุก 50.28%, 53.28%, 57.69% และ 72.00% ในกลุ่มอายุ 60 - 65 ปี, 66 - 70 ปี, 71 - 75 ปี และมากกว่า 75 ปี ตามลำดับ  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ mNCD พบว่า มี 3 ปัจจัยเสี่ยงของการเกิด mNCD ได้แก่ ประวัติการหลงลืม,โรคเบาหวาน และความเสี่ยงมวลกล้ามเนื้อน้อย และ 4 ปัจจัยป้องกัน ได้แก่ การศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป, การพักอาศัยกับครอบครัว,  รายได้มากกว่า 25,000 บาท/เดือน  และการรับประทานยาหลายชนิด สำหรับปัจจัยอื่นๆไม่มีความสัมพันธ์กับ mNCD (p > 0.050)


สรุปความชุกของ mNCD ในผู้สูงอายุ 53.68%  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ mNCD  มี 3 ปัจจัยเสี่ยง และ 4 ปัจจัยป้องกัน ดังนั้นการฝึกทักษะความคิดและความจำจึงเป็นสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิด mNCD


คำสำคัญ: ภาวะสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้น, ผู้สูงอายุ,  แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม (MoCA)

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ปราโมทย์ ประสากุล, บรรณาธิการ. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. นครปฐม: บริษัทพริ้นเทอรี่. 2560. หน้า 3, 12, 43.

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. เกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2559. [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2563] เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/network_title1_2.html.

มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์, บรรณาธิการ. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 4 (เรียบเรียงใหม่). กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

อาทิตยา สุวรรณ์, สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2559;5:21-32.

Robert RO, Geda YE, Knopman DS. The incidence of MCI differs bu sub type and is higher in men: the Mayo Clinic study of aging. Neurology. 2012;78:342-51.

Tangwongchai S, Phanasathit M, Charernboon T, Akkayagorn L, Hemrugrojn S, Phanathumchinda K, et al. The Validity of Thai version of The Montreal Cognitive Assessment (MoCA-T). Poster presented at: International Psychological Association 14th International Congress. 2009 Sep 1-5; Montreal Canada.

เอกลักษณ์ แสงสิริลักษ์. การศึกษาความชุกของพุทธิปัญญาบกพร่องของผู้สูงอายุ. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2559;31:2:121-8.

ปัณณทัต ตันธนปัญญากร, เจียระไน ปฐมโรจน์สกุล, นิโรบล มาอุ่น, กุสุมา จ้อยจันทร์, ชุติมา มลัยหมื่น. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะการรู้คิดบกพร่องของผู้สูงอายุ ในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 2562;38:67-79.

Langa KM, Levine DA. The diagnosis and management of mild cognitive impairment: a clinical review. NIH Public Access. JAMA. 2014;17:321-3.

Yaffe K, Fiocco AJ, Lindquist K, Vittinghoff E, Simonsick EM, Newman AB, et al. Predictors of maintaining cognitive function in older adults: the Health ABC study. Neurology. 2009;72: 2029-35.

ธนุพันธ์ ดีทองอ่อน, ภาวิน พัวพัรพงษ์, สมโภช ภูมิพิเชฐ, ทรงภูมิ เบญญากร, เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์, กิตติพงษ์ คงสมบูรณ์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีภาวะ mild cognitive impairment ในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. Thai Journal of Obestetric and Gynaecology. 2013;21:110-6.

Lee LK, Shaha S, Chi A V, Yusoff NAM, Rajab NF, Sziz SA. Prevalence of gender disparities and predictors affecting the occurrence of mild cognitive impairment (MCI). Arch Gerental Geriatric. 2012;54:185-91.

ชวนนท์ อิ่มอาบ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะบกพร่องทางปัญญาในผู้สูงอายุ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28:782-91.

กิติภัทร บุญมา, สุคนธา ศิริ, ดุสิต สุจิรารัตน์, แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ. ความชุกและปัจจัยเกี่ยวข้องกับภาวะบกพร่องทาปัญญาในผู้สูงอายุ จังหวัดพังงา [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561. หน้า 177.

ปิยะพร ไพรสนธิ์, พรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงราย. วารสารสภาการพยาบาล. 2560;32:64-80.

Gao Y, Xiao Y, Miao R, Zhao J, Cui M, Huang G. The prevalence of mild cognitive impairment with type 2 diabetes mellitus among elderly people in China: A cross-sectional study. Arch Gerontol Geriatr. 2016;62:138-42.

Nui M, Yin F, Fang Y, Xuan X, Wu G. Non-highdensitylipo-protein cholesterol and other risk factor of mild cognitive impairment among Chinese type 2 diabetic patients. J Diabetes Complications. 2013; 27:443-6.

วลี รัตนวัตร์, ดาวชมพู นาคะวิโร, ภัทรพร วิสาจันทร์. ความชุกของภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อยในบุคคลากรโรงพยาบาลช่วยวัยก่อนเกษียร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2561;63:55-64

สุทธินันท์ สุบินดี, วรรณภา ศรีธัญรัตน์. ภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรังที่มารับบริการคลินิกโรคเรื้อรัง ของหน่วยปฐมภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2557;37:43-50.

Copper C. Modifiable predictors of dementia in mild cognitive impairment: a systemic review and metaanalysis. Am J Psychia. 2015;172:323-34.

Lee I, Cho J, Hong H, Jin Y, KIM D. Sarcopenia Is Associated with Cognitive impairment and Depression in elderly Korean Women. Iran J Public Health. 2018;47:327-34.

Nishiguchi S, Yamada M, Shirooka H, Nozaki Y, Fukutani N, Tashiro Y, et al. Sarcopenia as a risk factor for cognitive deterioration in community-dwelling older adults: a 1-year prospective study. J Am Med Dir Assoc. 2016;17:372.e5-8.

Huang CY, Hwang AC, Lui LK, Nozaki Y, Fukutani N, Tashiro Y, et al. Association of dynapenia, Sarcopenia, and cognitive impairment among communitydwelling older Taiwanese. Rejuenation Res. 2016;19: 71-8.

Tolea MI, Galvin JE. Sarcopenia and impairment in cognitive and physical performance. Clin Interv Aging. 2015;10:663-71