อัตราความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้นในผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

ระพีพัฒน์ โฆษิตานนท์

บทคัดย่อ

บทนำ  ภาวะสมองบกพร่องระยะต้นถือได้ว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นโรคอัลไซเมอร์ โดยร้อยละ15 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นโรคอัลไซเมอร์ภายในเวลา 1 ปี หรือ ร้อยละ 70 ภายในเวลา 4 - 5 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีอายุใกล้เคียงกันซึ่งจะมีอัตราการเปลี่ยนไปเป็นโรคอัลไซเมอร์เพียงร้อยละ 1 - 2 เท่านั้น การคัดกรองผู้สูงอายุที่มีโอกาสเกิดและให้การดูแลรักษาเพื่อการป้องกันการเกิดภาวะสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้นจึงเป็นแนวทางสำคัญในการลดโอกาสการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ


วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาอัตราความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้นในผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์


รูปแบบวิจัย  การวิจัยแบบตัดขวาง (Cross-sectional analytic study)


วิธีการ  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มารับบริการที่ศูนย์ส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ คลินิกหมอครอบครัวคลองศาลาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคก คัดลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คัดเลือกเข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 380 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 7 ชุด ได้แก่ แบบสอบถาม Demographic data แบบประเมิน Basic Activity Daily Living Index แบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ  แบบประเมินการนอนหลับ แบบประเมิน time up and go, และ Hand grip strength  แบบประเมินสภาพสมอง MMSE –Thai 2002 และแบบประเมินภาวะสมองเสื่อม MoCA เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน กรกฎาคม 2563 ถึง มีนาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  Chi square, Independent t-test, odds ratio และ Binary logistic regression กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


ผลการศึกษา  ผู้สูงอายุ 380 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้น 204 คน และกลุ่มความจำปกติ 176 คน ความชุกของภาวะสมรรถภาพสองบกพร่องระยะต้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยพบอัตราความชุกร้อยละ 50.3 ในกลุ่มอายุ 60 - 65 ปี และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นร้อยละ 53.3,  57.7 และ 72.0 ในกลุ่มอายุ 66 - 70 ปี, อายุ 71 - 75 ปี และอายุมากว่า 75 ปี ตามลำดับ  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้น พบว่า 3 ปัจจัยที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิด mNCD ได้แก่ ประวัติการหลงลืม (ORadj = 2.99 เท่า,  p = 0.001, 95%CI = 1.598 – 5.621), โรคเบาหวาน (ORadj   = 2.87, p = 0.009, 95% CI = 1.303 – 6.331) และความเสี่ยงมวลกล้ามเนื้อน้อย (ORadj = 2.17, p = 0.027, 95% CI = 1.094 – 4.97)   และ ปัจจัยป้องกันการเกิด mNCD 3 ปัจจัย ได้แก่ การศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป (79.6%, p = 0.000, 95% CI = 0.112 – 0.372)    การพักอาศัยกับครอบครัว (50.3%, p = 0.047, 95% CI = 0.249 – 0.991) 6) และการรับประทานยาหลายชนิด (69.2% , p = 0.008, 95% CI = 0.130 – 0.733) สำหรับปัจจัยอื่นๆไม่มีความสัมพันธ์กับ mNCD (p > 0.05) ได้แก่ เพศ, อายุ, การศึกษาระดับอนุปริญญาลงมา, ปัญหาการนอน,Time up and go test, Hand grip strength, โรคความดันโลหิตสูง, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคหัวใจ, CV risk score และการนอน


สรุป  ความชุกของภาวะสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้นในผู้สูงอายุร้อยละ 53.68  ปัจจัยเสี่ยง 3 ปัจจัย ได้แก่ ประวัติการหลงลืม การเป็นโรคเบาหวาน และความเสี่ยงมวลกล้ามเนื้อน้อย และปัจจัยป้องกัน 3 ปัจจัย ได้แก่การศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป การอาศัยอยู่กับครอบครัว และการรับประทานยาหลายชนิด ดังนั้นการฝึกทักษะความคิดและความจำจึงเป็นแนวทางการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ฝึกทักษะสมอง ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้นในผู้สูงอายุ

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ปราโมทย์ ประสากุล, บรรณาธิการ; มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. บริษัทพริ้นเทอรี่ จำกัด นครปฐม: พฤศจิกายน 2560 : หน้า 3, 12, 43.
2. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. ผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/better-brain-health/dementia-alzheime
3. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. เกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม [อินเทอร์เน็ต], กรุงเทพฯ: ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2563] เข้าถึงได้จาก: http://www.si.mahidol.ac.th /project/geriatric/network_title1_2.html
4. มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์, บรรณาธิการ.พิมพ์ครั้งที่ 4 (เรียบเรียงใหม่).จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.
5. ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทรี, พญ.แสงศุลี ธรรมไกสร, พ.ท.พญ.พัฒนศรี ศรีสุวรรณ, ชลัญธร โยธาสมุทร, คณะบรรณาธิการ. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บริษัท เดอะแฟรี่ คาราวาน จำกัด; 2558
6. อาทิตยา สุวรรณ์ และสุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารสมาคม
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2559; 5 (2) : 21-32
7. Robert RO, Geda YE, Knopman DS. The incidence of MCI differs bu sub type and is higher in men: the Mayo Clinic study of aging. Neurology 2012; 78(5): 342-51.
8. Kenneth M. Langa, Debarah A. Levine. The diagnosis and management of mild cognitive impairment: A Clinical review. NIH Public Access. JAMA. 2014; 17: 321-23.
9. วลี รัตนวัตร์, ดาวชมพู นาคะวิโร, ภัทรพร วิสาจันทร์. ความชุกของภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อยในบุคคลากรโรงพยาบาลช่วยวัยก่อนเกษียร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2561; 63: 55-64
10. Yuxia Gao, Yanyu Xiao, Rujuan Miao, Jiangang Zhao, Mingfei Cui, Guowei Huang. The prevalence of mild cognitive impairment with type 2 diabetes mellitus among elderly people in China: A cross-sectional study. Archives of Gerontology and Geriatrics. 2016; 138-142.
11. Ming-jia Nui, Fu-zai Yin, Yuan Fang, Xu-min Xuan, Guang-fei Wu. Non-highdensitylipo-protein cholesterol and other risk factor of mild cognitive impairment among Chinese type 2 diabetic patients. Journal of Diabetes and Its Complication 2013; 27: 443-446.
12. Miji Kim and Chang Won Won. Sarcopenia Is Associated with Cognitive Impairment
Mainly Due to Slow Gait Speed: Results from the
Korean Frailty and Aging Cohort Study (KFACS). International journal of environmental and public health. 2019, 16, 1491:1-18.