ประสบการณ์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการติดตามผู้สัมผัสโรคในชุมชนระหว่างช่วงการระบาดทั่วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาประสบการณ์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน(อสม.) ในการติดตามผู้สัมผัสโรคในชุมชนระหว่างช่วงที่ประเทศไทยเผชิญการระบาดทั่วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
แบบวิจัย:การวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยข้อคําถามกึ่งโครงสร้าง
วัสดุและวิธีการ:ผู้ให้ข้อมูลคืออสม. 12 คนคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาตรวจสอบความถูกต้องโดยการตรวจสอบสามเส้า
ผลการศึกษา:อสม. ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ติดตามผู้สัมผัสโรคใน2 พื้นที่คือบริเวณด่านในชุมชนและณที่พักอาศัยโดยอสม.ส่วนใหญ่ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากประชาชนและไม่ได้รู้สึกกลัวที่ต้องทําหน้าที่อย่างไรก็ตามอสม. บางส่วนถูกตําหนิว่าการปฏิบัติงานทําให้ประชาชนเกิดความไม่สะดวกบางส่วนรู้สึกกลัวเหนื่อยแต่ก็ยังปฏิบัติงานได้ต่อเนื่องด้วยเห็นว่าเป็นหน้าที่และเป็นการทําเพื่อส่วนร่วมอุปสรรคและข้อขัดข้องใจที่พบคือการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าตอบแทนการขาดสวัสดิการในการปฏิบัติหน้าที่อุปกรณ์ปฏิบัติงานที่ไม่เพียงพอและความไม่สะดวกในขั้นตอนการกรอกข้อมูลเพื่อรายงานผล
สรุป:หากมีการระบาดซํ้าหรือเกิดโรคระบาดอื่นในอนาคตด้วยพื้นฐานจิตอาสาที่พร้อมช่วยเหลือผู้อื่นร่วมกับการดึงศักยภาพของอสม. มาใช้อย่างเหมาะสมน่าจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับที่ประสบความสําเร็จในการควบคุมการระบาดครั้งนี้ทั้งนี้รัฐควรมีบทบาทสนับสนุนอสม. ในด้านองค์ความรู้ที่จําเป็นค่าตอบแทนที่เหมาะสมอุปกรณ์ที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพและวางขั้นตอนการดําเนินงานให้สะดวกและสอดคล้องกับบริบทการปฏิบัติงานจริง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
2. World Health Organization. WHO Director-General's opening remarks at the media briefing on COVID-19 - 11 March 2020 [internet]. 2020 [cited 2020 Apr 20]. Available from: URL: https://www.who.int/dg/speeches/detail/who-director-general-s-opening-remarks-at-the-media-briefing-on-covid-19---11-march-2020
3. Cheung E. Wuhan pneumonia: Thailand confirms first case of virus outside China [internet]. 2020 [updated 2020 Jan 13; cited 2020 Apr 22]. Available from: URL: https://www.scmp.com/news/hong-kong/health-environment/article/3045902/wuhan-pneumonia-thailand-confirms-first-case
4. สธ.แถลง ยืนยัน ผู้ป่วย 'โควิด-19' เสียชีวิตรายแรก. กรุงเทพธุรกิจ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [ปรับปรุงเมื่อ 1 มีนาคม 2563; เข้าถึงเมื่อ 22 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/868622
5. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ณ วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [ปรับปรุงเมื่อ 13 พฤษภาคม 2563 ; เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.nrct.go.th/covid19/daily
6. 28 วันตัวเลขป่วย COVID-19 "ศูนย์คน" ไม่เสียชีวิตเพิ่ม. ไทยพีบีเอส [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [ปรับปรุงเมื่อ 22 มิถุนายน 2563; เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://news.thaipbs.or.th/content/293863
7. กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 21 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
8. คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 5/2563 เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137, ตอนพิเศษ 69 ง (ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563).
9. กรมควบคุมโรค. คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [ปรับปรุงเมื่อ 29 กรกฎาคม 2563; เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2563]. หน้า 9-24. เข้าถึงได้จาก: URL: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/G42_4.pdf
10. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?filename=develop_issue&nid=3779
11. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การจัดระบบ อสม. และภาคประชาชน สำหรับ Local quarantine และ Home quarantine [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [ปรับปรุงเมื่อ 12 มีนาคม 2563; เข้าถึงเมื่อ 21 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/km08_120363.pdf
12. World Health Organization. WHO Thailand Situation Report – 12 April 2020 [internet]. 2020 [updated 2020 Apr 12; cited 2020 Aug 10]. Available from: URL: https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/2020-04-12-tha-sitrep-50-covid19-finala0161210534642308b23a2965a57a44c.pdf
13. Ministry of Foreign Affairs. Information on Covid-19 : Thailand's Ungowned and Unsung Heroes Play Significant Roles in Battling COVID-19 [internet]. 2020 [updated 2020 Jun 30; cited 2020 Aug 10]. Available from: URL: http://www.mfa.go.th/protocol/en/news/4853/119261-Thailand's-Ungowned-and-Unsung-Heroes-Play-Si.html
14. กิตติพร เนาว์สุวรรณ นภชา สิงห์วีรธรรม และพยงค์ เทพอักษร. ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุข ภาคใต้ 2563;7(2):ก-จ. [เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/download/242083/164646/
15. Colaizzi P. Psychological research as the Phenomenologist views it. In: Ronald SV, King M. Existential – Phenomenological Alternatives for Psychology. London:Oxford University Press;1978. 48-71.