ความสัมพันธ์ของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยกับความหนาแน่นของมวลกระดูกในหญิงสูงอายุ ณ คลินิกผู้สูงวัยสุขภาพดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนํา: ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยและโรคกระดูกพรุนพบได้บ่อยและเป็นเหตุนําของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตในผู้สูงอายุทั้งสองภาวะมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกันและมีแนวโน้มที่จะพบร่วมกันซึ่งข้อมูลความสัมพันธ์นี้ในประเทศไทยยังมีไม่มาก
วัตถุประสงค์การวิจัย: หาความสัมพันธ์ของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยกับความหนาแน่นของมวลกระดูกในหญิงสูงอายุ
วิธีดําเนินการวิจัย: วิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางศึกษาในหญิง60 ปีขึ้นไปณคลินิกสูงวัยสุขภาพดีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบทวิเพื่อหาความสัมพันธ์ของสองภาวะดังกล่าว
ผลการวิจัย: ตัวอย่างทั้งหมด 106 คนจําแนก 3 กลุ่ม (Non-sarcopenia, Pre-sarcopenia กลุ่มละ 35 คน, Sarcopenia 36 คน) เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของBMD และT-score ระหว่าง3 กลุ่มพบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญและกลุ่มSarcopenia มีแนวโน้มBMD และT-score ตํ่ากว่ากลุ่มอื่นผลวิเคราะห์โอกาสเกิดกระดูกพรุนกลุ่มPre-sarcopenia และกลุ่มSarcopenia มีโอกาสเกิดกระดูกพรุนมากกว่ากลุ่มNon-sarcopenia 2.207 เท่าอย่างไม่มีนัยสําคัญ(OR=2.207, 95%CI 0.505-9.639) และ10.667 เท่าอย่างมีนัยสําคัญ (OR= 10.667, 95%CI 2.760-41.220) เมื่อควบคุมตัวแปรอายุและนํ้าหนักตัวพบว่าผลไม่ต่างกัน
สรุปผลการศึกษา: มวลกล้ามเนื้อน้อยในหญิงสูงอายุมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของมวลกระดูก
คําสําคัญ:มวลกล้ามเนื้อน้อย, กระดูกพรุน, ความหนาแน่นมวลกระดูก, หญิงสูงอายุ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
2. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร; 2560.
3. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. การสำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร; 2557 [ค้นข้อมูลเมื่อ19พ.ย.2562].จาก: http://thaitgri.org/?p=37869.
4. คุณาวุฒิ วรรณจักร, พิมลพรรณ และทวีการ วรรณจักร. การหกล้มในผู้สูงอายุที่กระดูกพรุน สาเหตุและการป้องกันด้วยการออกกำลังกาย. วารสารมหาวิทยาลัยบูรพา. 2561 Jul-Dec;13(2):141-150.
5. International Osteoporosis Foundation Facts and Statistics 2017. [Internet]. [cited 19 November.2019]. Available from: https://www.iofbonehealth.org/facts-statistics.
6. Han P, Kang L, Guo Q, Wang J, Zhang W, Shen S, et al. Prevalence and factors associated with sarcopenia in suburb-dwelling older Chinese using the Asian Working Group for Sarcopenia definition. 7. J Gerontol A Biol Sci Med Sci. 2016;71:529-35.
Cuesta F, Formiga F, Lopez-Soto A, Masanes F, Ruiz D, Artaza I, et al. Prevalence of sarcopenia in patients attending outpatient geriatric clinics: the ELLI study. Age Ageing. 2015;44:807-9.
8. Greco EA, Pietschmann P, Migliaccio S, Osteoporosis and Sarcopenia Increase Frailty Syndrome in the Elderly. Front. Endocrinology. 2019;10:255.
9. Lima MR, Oliveira JR, Raposo R, Ricci Neri GS, Gadelha BA. Stages of sarcopenia, bone mineral density, and the prevalence of osteoporosis in older women. Arch Osteoporosis. 2019;14:38.
10. Wu CH, Yang KC, Chang HH, Yen JF, Tsai KS and Huang KC. Sarcopenia is related to increased risk for low bone mineral density. J Clin Densitom. 2013 Jan-Mar;16(1):98.