ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พลังงานในการประกอบอาชีพในช่วงวัยทำงานและการพลัดตกหกล้ม ในผู้สูงอายุไทย ที่อาศัยในจังหวัดลพบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มาและความสําคัญ: การพลัดตกหกล้มเป็นปัญหาสําคัญในผู้สูงอายุที่ป้องกันได้โดยเกิดจากหลายสาเหตุรวมถึงวิถีชีวิตในอดีตจุดประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุและการใช้พลังงานในการประกอบอาชีพในช่วงวัยทํางาน
วิธีการศึกษา: งานวิจัยนี้ศึกษาจากผลไปหาเหตุ(Case-control study) ในผู้สูงอายุ 60-69 ปีจํานวน 202 คนที่ศูนย์สุขภาพชุมชนอําเภอเมืองอําเภอบ้านหมี่และอําเภอหนองม่วงจังหวัดลพบุรีในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน 2563 จากนั้นแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่มีการพลัดตกหกล้มและกลุ่มที่ไม่มีการพลัดตกหกล้มหาความสัมพันธ์ระหว่างการพลัดตกหกล้มและการใช้พลังงานในการประกอบอาชีพในช่วงอายุ 30-60 ปีโดยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบทวิ
ผลการศึกษา: กลุ่มที่มีการหกล้ม 67 คนและกลุ่มที่ไม่มีการหกล้ม 135 คนการใช้พลังงานในการประกอบอาชีพน้อยที่สุดคือ 29 METs-hr./wk./yr. และมากที่สุดคือ 216 METs-hr./wk./yr. นํามาจัดกลุ่มเป็นตติยภูมิ (tertile) หาความสัมพันธ์เทียบกับตติยภูมิกลางพบว่าตติยภูมิตํ่าสุดมีค่าสัมประสิทธิ์0.851 ช่วงความมั่นใจ95% 0.431 ถึง1.756 และตติยภูมิสูงสุดมีค่าสัมประสิทธิ์1.143 ช่วงความมั่นใจ 95% 0.563 ถึง 2.321
สรุปผล: ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พลังงานในการประกอบอาชีพในช่วงวัยทํางานกับการพลัดตกหกล้มแต่สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมในปัจจุบันเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุหกล้มเพิ่มขึ้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
2. Carlson C, Merel SE, Yukawa M. Geriatric syndromes and geriatric assessment for the generalist. Med Clin North Am. 2015;99(2):263-79.
3. Worapanwisit T, Prabpai S, Rosenberg E. Correlates of Falls among Community-Dwelling Elderly in Thailand. J Aging Res. 2018;2018:8546085.
4. นิพา ศรีช้าง, ลวิตรา ก๋าวี. รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทยปี 2560-2564. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
5. Sophonratanapokin B, Sawangdee Y, Soonthorndhada K. Effect of the living environment on falls among the elderly in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2012;43(6):1537-1547.
6. Maneeprom N, Taneepanichskul S, Panza A. Falls among physically active elderly in senior housings, Bangkok, Thailand: situations and perceptions. Clin Interv Aging. 2018;13:2149-2159.
7. Panahi S, Tremblay A. Sedentariness and Health: Is Sedentary Behavior More Than Just Physical Inactivity? Front Public Health. 2018;6:258.
8. Lurati AR. Health Issues and Injury Risks Associated With Prolonged Sitting and Sedentary Lifestyles. Workplace Health Saf. 2018;66(6):285-290.
9. Board OotNEaSD. Population Projections for Thailand 2010-1040. Office of the National Economic and Social Development Board. 2013;1.
10. Cereda E. Mini nutritional assessment. Current opinion in clinical nutrition and metabolic care. 2012;15(1):29-41.
11. Friedenreich CM, Courneya KS, Bryant HE. The lifetime total physical activity questionnaire: development and reliability. Medicine and science in sports and exercise. 1998;30(2):266-274.
12. Ainsworth BE, Haskell WL, Herrmann SD, et al. 2011 Compendium of Physical Activities: a second update of codes and MET values. Med Sci Sports Exerc. 2011;43(8):1575-1581.
13. Thiamwong L, Thamarpirat J, Maneesriwongul W, Jitapunkul S. Thai falls risk assessment test (Thai-FRAT) developed for community-dwelling Thai elderly. J Med Assoc Thai. 2008;91(12):1823-1831.
14. Suen LK. Occupation and risk of hip fracture. J Public Health Med. 1998;20(4):428-433.