ผลการควบคุมความดันโลหิตหลังการปรับรูปแบบบริการในคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลแม่สอด ระหว่างการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

ธนพล ตั้งสกุล

บทคัดย่อ

ความสำคัญ : ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable disease, NCD) มีอัตราตายสูงหากป่วยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus 2019 Infectious Disease, COVID-19) คลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลแม่สอดจึงปรับบริการในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 เพื่อลดโอกาสติดเชื้อในคลินิก NCD โดยคัดแยกผู้ที่ควบคุมโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคร่วมอื่นไม่ได้ให้พบแพทย์ก่อนรับยาและผู้ที่ควบคุมโรคได้ดีให้รับยาทันทีโดยไม่ต้องพบแพทย์ แต่การรับยาโดยไม่พบแพทย์อาจส่งผลต่อการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงได้


วัตถุประสงค์ : 1) ประมาณความชุกโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในนัดตรวจติดตาม 2) เปรียบเทียบการควบคุมความดันโลหิตระหว่างกลุ่มจำแนกตามเกณฑ์ของคลินิกหมอครอบครัว


รูปแบบการศึกษา :การศึกษาแบบย้อนหลังเชิงสังเกต โดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่รับบริการที่คลินิกหมอครอบครัวในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 (นัดแรก) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความดันโลหิตในช่วง 6 เดือนก่อนนัดแรกกับนัดตรวจติดตาม


ผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 274 คนและ 254 คนเข้ารับบริการในนัดแรกนัดตรวจติดตามตามลำดับ ความชุกโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในนัดตรวจติดตามคิดเป็นร้อยละ 17.7  กลุ่มศึกษาที่รับยาทันทีมีสัดส่วนผู้ควบคุมความดันโลหิตได้ลดลง (ร้อยละ 35.8 เป็น 33.9) กลุ่มที่พบแพทย์ก่อนรับยามีสัดส่วนผู้ควบคุมความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 40.5 เป็น 48.4)  กลุ่มที่พบแพทย์ก่อนรับยามีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซิสโตลิก (mean of systolic blood pressure, mSBP) ลดลงจาก 133.55 เป็น 129.98 มิลลิเมตรปรอท (p-value <0.001) และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตไดแอสโตลิก (mean of diastolic blood pressure, mDBP) ลดลงจาก 78.65 เป็น 76.52 มิลลิเมตรปรอท (p-value 0.005) ขณะที่กลุ่มที่รับยาได้ทันทีไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ


สรุป : การให้รับยาทันทีโดยไม่พบแพทย์ทำให้การควบคุมความดันโลหิตแย่ลง การพบแพทย์ก่อนรับยามีความสำคัญในการควบคุมความดันโลหิตระหว่างการระบาดใหญ่ของโรค COVID-19

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [Internet]. 2020 [cited 2020 May 27]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ind_world.php
2. ศูนย์ปฏิบัติการณ์ภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. 2568;(232):1–8.
3. องค์การอนามัยโลกประเทศไทย. รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก ( WHO ) ประเทศไทย – 4 เมษายน 2563 [Internet]. 2020. Available from: https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/2020-04-4-tha-sitrep-42-covid19-th.pdf?sfvrsn=d179d208_0
4. องค์การอนามัยโลก ประเทศไทย. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก ประเทศไทย 17 เมษายน 2563. 2019;2019:15–6. Available from: http://www.ghbook.ir/index.php
5. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สู้! โควิด-19 ไปด้วยกัน คู่มือดูเเลตัวเองสำหรับประชาชน [Internet]. สู้! โควิด-19 ไปด้วยกัน คู่มือดูเเลตัวเองสำหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2020. Available from: http://repositorio.unan.edu.ni/2986/1/5624.pdf
6. Leung K, Wu JT, Liu D, Leung GM. First-wave COVID-19 transmissibility and severity in China outside Hubei after control measures, and second-wave scenario planning: a modelling impact assessment. Lancet. 2020;395(10233):1382–93.
7. Guan WJ, Ni ZY, Hu Y, Liang WH, Ou CQ, He JX, et al. Clinical Characteristics of Coronavirus Disease 2019 in China. N Engl J Med. 2020;
8. Singh A, Shaikh A, Singh R, Singh AK. COVID-19: From bench to bed side. Diabetes Metab Syndr Clin Res Rev. 2020;14(4):277–81.
9. Fang L, Karakiulakis G, Roth M. Correspondence hypertension and increased risk for. Lancet Respir [Internet]. 2020;2600(20):30116. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/S2213-2600(20)30116-8
10. Lippi G, Wong J, Henry BM. Hypertension in patients with coronavirus disease 2019 (COVID-19): A pooled analysis. Polish Arch Intern Med. 2020;130(4):304–9.
11. Pranata R, Lim MA, Huang I, Raharjo SB, Lukito AA. Hypertension is associated with increased mortality and severity of disease in COVID-19 pneumonia: A systematic review, meta-analysis and meta-regression. JRAAS - J Renin-Angiotensin-Aldosterone Syst. 2020;21(2).
12. Ran J, Song Y, Zhuang Z, Han L, Zhao S, Cao P, et al. Blood pressure control and adverse outcomes of COVID-19 infection in patients with concomitant hypertension in Wuhan, China. Hypertens Res. 2020;
13. อมร ลีลารัศมี. ความรู้ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ สำหรับเเพทย์. 2563;1–14.
14. Richard Guthmann, Nancy Davis, Matthew Brown JE. Visit Frequency and Hypertension. J Clin Hypertens. 2005;7(6):327–32.
15. Baum A, Barnett ML, Wisnivesky J, Schwartz MD. Association Between a Temporary Reduction in Access to Health Care and Long-term Changes in Hypertension Control Among Veterans After a Natural Disaster. JAMA Netw open. 2019;2(11):e1915111.
16. นิธิยสนันท์เเละคณะ ว. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 [Internet]. กรุงเทพมหานคร; 2017. Available from: สมาคมโรคเบาหวานเเห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
17. Milik A, Hrynkiewicz E. KDIGO 2012 Clinical Practice Guideline for the Evaluation and Management of Chronic Kidney Disease. J Int Soc Nephrol. 2013;3(1).
18. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก. Controlled BP in Maesot hospital 2019 [Internet]. [cited 2020 Oct 30]. Available from: https://tak.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2019&source=pformated/format1.php&id=2e3813337b6b5377c2f68affe247d5f9
19. Numkham L, Piaseu N, Panpakdee O, Cunningham SL, Chansatitporn N. Predictors of Albuminuria and Uncontrolled Blood Pressure in People withHypertension in The Community. Pacific Rim Int J Nurs Res. 2015;19(2):135–49.
20. Kim SH, Lee RNA. Health-Literacy-Sensitive Diabetes Self-Management Interventions : A Systematic Review and Meta-Analysis. 2016;1–10.
21. Wold Health Organization. Results of a rapid assessment. 2020. 1–32 p.
22. Kluge HHP, Wickramasinghe K, Rippin HL, Mendes R, Peters DH, Kontsevaya A, et al. Prevention and control of non-communicable diseases in the COVID-19 response. Lancet. 2020;395(10238):1678–80.
23. Basu S. Non-communicable disease management in vulnerable patients during Covid-19. Indian J Med Ethics. 2020;V(2):103–5.
24. WHO. Addressing noncommunicable diseases in the COVID-19 response. 2020;(April):1–6. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/331923/NCD-COVID-19-eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y
25. Kario K, Morisawa Y, Sukonthasarn A, Turana Y, Chia YC, Park S, et al. COVID-19 and hypertension—evidence and practical management: Guidance from the HOPE Asia Network. J Clin Hypertens. 2020;22(7):1109–19.