ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในโรงพยาบาลชลบุรี

Main Article Content

อัมรา บุญสาหร่าย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            ความเป็นมา: โรคจิตเภทเป็นปัญหาอันดับต้นๆของกลุ่มโรคทางจิตเวช จากสถิติปี พ.ศ.  2561  จังหวัดชลบุรีมีจำนวนผู้ป่วยโรคจิตเภท 4,964 ราย โดยผู้ป่วยจิตเภทไม่สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้อย่างเต็มที่ ต้องได้รับการดูแลจากผู้ดูแลอย่างมาก ซึ่งคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเป็นประเด็นที่ควรให้ความสนใจและได้รับการช่วยเหลือ


วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท


วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง(cross-sectional descriptive study) ในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท 290 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย  ข้อมูลพื้นฐานของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลความเจ็บป่วยของผู้ป่วย โดยแบบสอบถามได้รับการตรวจสอบในด้านความตรงของเนื้อหา(Content validity) มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบัค(Cronbach’s alpha  coefficient) =0.707 และแบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ชุดย่อ ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงสถิติด้วยสมการถดถอยโลจิสติกแบบพหุ(multiple logistic regression)


ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง ร้อยละ 56.2 จากการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญ(p<0.05) ได้แก่  สถานภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท(p=0.007) รายได้(p<0.001)  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วย(p<0.001)  ระยะเวลารวมในการดูแลผู้ป่วย(p=0.016)  การกำเริบของโรคจิตเภทในระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา(p=0.007)  และความสามารถในการสื่อสารของผู้ป่วย(p<0.001) 


สรุป: คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทนั้นมีปัจจัยทำนายหลายประการ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท


คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต ผู้แลหลัก ผู้ป่วยจิตเภท

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. World Health Organization. WHO | Schizophrenia [Internet]. WHO. World Health Organization; 2019 [cited 2019 Nov 24]. Available from: https://www.who.int/mental_health/management/schizophrenia/en/
2. เสาวลักษณ์ สุวรรณไมตรี, อนงค์นุช ศาโศรก, ธนเนตร ฉันทลักษณ์วงศ์, ชุรีภรณ์ เสียงล้ำ, วีร์ เมฆวิลัย, บรรณาธิการ. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทสำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ(ฉบับพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุข).พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิคทอเรียอิมเมจ; 2560.
3. ศิริยุพา นันสุนานนท์. โรคจิตเภท. J Health Res. 2001;15(2):139–55.
4. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนสำหรับบุคลากรระดับปฐมภูมิ [อินเทอร์เน็ต]. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 24 พ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th/FrontEnd/page-information_detail.aspx?ContentID=NTkwMDAwMjAx
5. World Health Organization. WHOQOL-100 [Internet]. Geneva: World Health Organization; 1995 Feb [cited 2019 Nov 28]. Available from: https://www.who.int/healthinfo/survey/WHOQOL-100.pdf?ua=1
6. กระทรวงสาธารณสุข. รายงานตามตัวชี้วัดกระทรวง จำนวนผู้ป่วยนอกจิตเวชที่มารับบริการจำแนกรายกลุ่มโรคและสิทธิ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php?sele_kpiyear=2020&level=1&sele_kpi=d36f6c38999d128132513933e36a848a
7. Krause B. THORNDIKE, R. M.: Correlation Procedures for Research. Gardner Press. New York 1978. Biom J. 1978;21(4):183–4.
8. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย(WHOQOL-BREF-THAI)[อินเทอร์เน็ต]. จังหวัดเชียงใหม่; 2545 [เข้าถึงเมื่อ 24 พ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf
9. เสาวลักษณ์ ยาสุวรรณ. คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคจิตเภท / เสาวลักษณ์ ยาสุวรรณ. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2545
10. Kolyanee A, Dangdomyouth P, Aumtanee A. Selected Factors Relating to Quality of life among Caregivers Caring fot Patients with Schizophrenia at Home. JOPN. 18 Oct 2015;7(1):128–40.
11. รุ่งอรุณ โตศักดิ์ภราเลิศ, ศันสนีย ประชุมศรี, กนกวรรณ บุญอริยะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทที่รับไว้รักษาในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2009;3(1):1–11.
12. ทัศนีย์ กุลจนะพงศ์พันธ์, กฤตนัย แก้วยศ, ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์, เกยูรมาศ อยู่ถิ่น. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2016;10(2):23–35.
13. Basheer S, Anurag K, Garg R, Kumar R, Vashisht S. Quality of life of caregivers of mentally ill patients in a tertiary care hospital. Ind Psychiatry J. 2015;24(2):144.
14. Maeng S-R, Kim W-H, Kim J-H, Bae J-N, Lee J-S, Kim C-E. Factors Affecting Quality of Life and Family Burden among the Families of Patients with Schizophrenia. Korean J Schizophr Res. 2016;19(2):78.
15. Margetić BA, Jakovljević M, Furjan Z, Margetić B, Boričević Maršanić V. Quality of Life of Key Caregivers of Schizophrenia Patients and Association with Kinship. Cent Eur J Public Health. 1 Dec 2013;21(4):220–3.
16. Souza ALR, Guimarães RA, de Araújo Vilela D, de Assis RM, de Almeida Cavalcante Oliveira LM, Souza MR, et al. Factors associated with the burden of family caregivers of patients with mental disorders: a cross-sectional study. BMC Psychiatry. Dec 2017;17(1):353.
17. Caqueo-Urízar A, Alessandrini M, Urzúa A, Zendjidjian X, Boyer L, Williams DR. Caregiver’s quality of life and its positive impact on symptomatology and quality of life of patients with schizophrenia. Health Qual Life Outcomes. Jan 2017;15(1):76.