จดหมายถึงบรรณาธิการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
เรียน กองบรรณาธิการวารสาร PCFM
วิกฤตโควิด19 ได้สร้างบทเรียนสำคัญต่อการสาธารณสุขและการปรับตัวของทีมสุขภาพของประเทศไทย ปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เรื่องการแยกส่วนการทำงานของทีม เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับความเสี่ยงในการติดเชื้อและมีการวางแผนแนวทางการทำงานใหม่ให้กับประชาชนในพื้นที่
ในพื้นที่อ.เมืองชลบุรี ช่วง10มีนาคม63-10เมษายน2563 พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 จำนวน23 ราย ซึ่งเป็นการติดเชื้อจากการสัมผัสโรคในกลุ่มผู้ป่วยมาจากสนามมวยในกรุงเทพ พบ High risk contact จำนวน205ราย กลไกการดำเนินงานต้องอาศัยความเข้มแข็ง ใน3 ด้านได้แก่
1.โครงสร้างการทำงาน โดยใช้กลไก คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ท่านนายอำเภอเป็นประธานในการประสาน ความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการสนับสนุน ยานพาหนะในการับส่งผู้ป่วยและ การส่งกลุ่ม High risk contact มาตรวจในโรงพยาบาล ในการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้กักกันตนเองที่บ้านในกลุ่มเสี่ยง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกันกับทีมสาธารณสุขในการเชื่อมความช่วยเหลือด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมกลุ่มมีปัญหาด้านเศรษฐฐานะได้รับการดูแลและช่วยเหลือปัญหาต่างๆเพื่อให้สามารถกักกันตนเองที่บ้านให้ครบ 14 วันตามเกณฑ์
2.ความรู้ทางการแพทย์ เน้นการเชื่อมโยงและการจัดการองค์ความรู้ในการทำงานโดยได้รับความร่วมมือจาก งานควบคุมโรคสสจ.ชลบุรี สคร.เขต6 อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ พยาบาลIC แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว สสอ.เมือง งานควบคุมโรครพ.ชลบุรีและ ทีมพยาบาลCOC ได้มีการทำแนวทางในการดูแลผู้ป่วย โควิด19 ในกระบวนการในการดูแลในโรงพยาบาลและหลังจำหน่ายกลับบ้าน แนวทางการดูแลกลุ่ม High risk contactหลังจากการตรวจคัดกรองและการกักกันตนเองที่บ้าน มีการประชุมทีมงานศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชลบุรี ในการวางแผนการติดตามหลังจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน และกลุ่มกักกันตนเองที่บ้านเพื่อสร้างระบบและแนวทางการติดตามชัดเจนและเป็นระบบ การจัดอุปกรณ์ป้องกัน(PPE)ให้กับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานและซักซ้อมการสวมใส่ชุดPPEโดยทีมพยาบาลICหัวใจสำคัญในการดูแลเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ
3.การปรับตัวและพัฒนางานด้านบริการ ด้านการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับชุมชนร่วมกับองค์กรส่วนท้องถิ่น สื่อภาคเอกชน สร้างความเข้าใจในชุมชนและยอมรับผู้ป่วยโรคโควิด19กลับสู่ครอบครัวและชุมชน สร้างมาตรฐานการคัดกรองผู้ป่วยมารับบริการในสถานบริการพร้อมกับการจัดบริการคลินิกโรคระบบทางเดินหายใจในหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่
ความท้าทายและโอกาสพัฒนาในระบบปฐมภูมิใน อนาคต มีการพัฒนาต่อยอดการให้บริการผู้ป่วยโดยใช้ระบบการแพทย์ทางไกล การจัดบริการส่งยาทางไปรษณีย์ การมีภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยร่วมกับเภสัชกรทีมร้านยาชุมชนอบอุ่นในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถควบคุมโรคได้ดีเพื่อลดจำนวนครั้งการมารับบริการในหน่วยบริการ กระบวนการดูแลเพิ่มคุณภาพการดูแลให้กับประชาชนในพื้นที่
ท้ายที่สุด ผู้เขียนเห็นว่าการมีวิกฤตทำให้เกิดโอกาสในการจัดรูปแบบการดูแลประชาชนในพื้นที่และการพรัอมรับมือกับปัญหาสุขภาพต่างๆซึ่งชาวปฐมภูมิ มีทีมเดินเคียงข้าง สนับสนุน การเกิดรูปแบบการทำงานใหม่ๆในอนาคตต่อไป
แพทย์หญิงโสรยา วงศ์วิไล
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลชลบุรี
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น