ประสิทธิภาพของการประยุกต์ปฏิบัติสมาธิ SKT7 เทียบกับการบริหารการหายใจแบบห่อปาก ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี

Main Article Content

สุปวีณ์ สิทธิเขตรกรณ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสมรรถภาพทางกายจากการบําบัดด้วยสมาธิเคลื่อนไหวไทยซี่กง (SKT7) กับการบริหารหายใจแบบห่อปากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลทัพทันจังหวัดอุทัยธานี


แบบวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)


วัสดุและวิธีการ: เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจํานวน40 คนแบ่งเป็น 2 กลุ่มกลุ่มละ20 คนและผู้ป่วยบันทึกการปฏิบัติในแบบบันทึกเป็นระยะเวลา8 สัปดาห์วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาPaired t-test และIndependent t-test ที่p-value < 0.05


ผลการศีกษา: ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุ70 – 79 ปีระยะเวลาการเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มบริหารหายใจแบบห่อปากมีค่าเฉลี่ย 7.1 ปีและกลุ่มปฏิบัติSKT7 มีค่าเฉลี่ย 11.8 ปี (p = 0.018) ทั้ง 2 กลุ่มมีระดับความรุนแรงของโรคGOLD stage II (moderate) การกําเริบเฉียบพลันในรอบปีที่ผ่านมา1 – 3 ครั้งและModified medical research council (MMRC) dyspnea scale ระดับ1 เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่ากลุ่มปฏิบัติSKT7 และกลุ่มบริหารหายใจแบบห่อปากมีค่าเฉลี่ยPEFR (263.9 vs. 251.0, p 0.626)และค่าเฉลี่ย 6MWD (316. 75 vs. 315.65, p = 0.973)


สรุป: สมรรถภาพการทํางานของปอดและความสามารถในการทํากิจกรรมของกลุ่มผู้ป่วยที่ปฏิบัติSKT7 และและกลุ่มบริหารหายใจแบบห่อปากไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
1.
สิทธิเขตรกรณ์ ส. ประสิทธิภาพของการประยุกต์ปฏิบัติสมาธิ SKT7 เทียบกับการบริหารการหายใจแบบห่อปาก ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี. PCFM [อินเทอร์เน็ต]. 29 เมษายน 2021 [อ้างถึง 22 มกราคม 2025];4(1):35-48. available at: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/245723
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. World Health Organization.World STATISTICS 2017: A Wealth of information on global public health. [online].2017 [cited 2019 July 26]. Available form:URL: http://www.who.int/respiratory/copd/en.
2. กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน .แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,2560.
3. เวชระเบียนและสถิติ 2561.รายงานประจำปี พ.ศ.2561 โรงพยาบาลทัพทัน อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี;2561.
4. คณะทำงานพัฒนาแนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2553. แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ.2553 .สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2553.
5. Caroci Ade S1, Lareau SC. Descriptors of dyspnea by patients with chronic obstructive pulmonary disease versus congestive heart failure. Heart & Lung 2004 ;33(2):102-10.
6. Hurst JR, Vestbo J, Anzueto A, et al. Susceptibility to exacerbation in chronic obstructive pulmonary disease. N Engl J Med 2010;363:1128-38.
7. Hilling L. & Smith J. Pulmonary rehabilitation. In S.Irwin & J.S.Teckli (Editor), Cardiopulmonary physical therapy .St Louis: Mosby;1995.445-470.
8. อาภรณ์พรรณ สุนทรจตุรวิทย์. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2546.
9. สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. ข้อแนะนำการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ.2560, กรุงเทพฯ:สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; 2560.
10. The Global Strategy for the Diagnosis, Management and Prevention of COPD, Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease (GOLD), [online].2018 [cited 2019 Jul 26]. Available from: URL: http://www.goldcopd.org.
11. ปิยวรรณ เหลืองจิรโณทัย, สุณี เลิศสินอุดม. GOLD guideline 2017 for COPD management. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2560.
12. อรรถวุฒิ ดีสมโชค.การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด : pulmonary rehabilitation. เชียงใหม่ : ธนพรรณการพิมพ์; 2545.
13. ACCP/AACVPR Pulmonary Rehabilitation: Evidence-Based Clinical Practice Guidelines, 2007.
14. จันทร์จิรา วิรัช. ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่ออาการหายใจลำบากและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ , บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2544.
15. Canadian Thoracic Society COPD Committee Expert Working Group. Optimizing pulmonary rehabilitation in chronic obstructive pulmonary disease – practical issues: A Canadian Thoracic Society Clinical Practice Guideline, 2010.
16. กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ. 6-Minute Walk Test.เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2557;24(1):1-4.
17. ATS statement: guidelines for the six-minute walk test. Am J Respir Crit Care Med. 2002;166:p.111-7.
18. สมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี. การปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยาองค์รวม (meditation for holistic self healing and cell healing);2551.
19. สมทรง มั่งถึก.ผลของการออกกำลังกายแบบไท่ จี๋ ชี่กง ต่อสมรรถภาพปอดและการหายใจลำบากในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2548.
20. ดาราวรรณ รองเมือง .ผลของการบริหารหายใจต่อสมรรถภาพปอดในผู้สูงอายุ.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,2545.
21. สมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี. การปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยา. พิมพ์ครั้งที่ 15; 2561.
22. อโนมา ศรีแสง ,ชลนรรจ์ วังแสง .การประเมินสมรรถภาพของหัวใจและปอดด้วยการทดสอบการเดิน 6 นาที. Siriraj Med Bull 2018;11(1):57-64.
23. Lacasse Y, Martin S, Lasserson TJ, Goldstein RS. Meta-analysis of respiratory rehabilitation in chronic obstructive pulmonary disease: a Cochrane systematic review. Eura Medicophys 2007;43:475-85.
24. วไลพร หงส์พันธ์. สิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่อยู่ในระยะพักฟื้น.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา การพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2547.
25. อัมพรพรรณ ธีราบุตร.โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.ใน อัมพรพรรณ ธีราบุตร, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์ และดลวิวัฒน์ แสนโสม (บรรณาธิการ) .คู่มือการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้าน, พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น. โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2552.
26. กฤษณา พุทธวงค์. ผลของโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2554.
27. ลลิตา รอดภัย.การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการหายใจเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์.มหิดล;2554.
28. สิรินาถ มีเจริญ.วิทยานิพนธ์. ผลของการใช้เทคนิคผ่อนคลายร่วมกับการหายใจแบบเป่าปากต่อความสุขสบายในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2542.
29. Xu J. He S.Han Y. Pan J. Cao J. Effects of modified pulmonary rehabilitation on patients with moderate to severe chronic obstructive pulmonary disease: A randomized controlled trail. IJNSS. 2017;4(3):219-224.
30. Kyung KA, Chin PA. The effect of a pulmonary rehabilitation programme on older patients with chronic pulmonary disease. J Clin Nurs. 2008;17(1):118-25.
31. กรวรรณ จันทพิมพะ และคณะ.ผลของโปรแกรมการบำบัดทางการพยาบาลต่อสมรรถนะทางกายและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง( Effects of Nursing Therapeutic Program on Physical Competence and Quality of Life among Chronic Obstructive Pulmonary Disease Patients).วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.2550;1(1):57-70.
32. มณฑา ทองตำลึง.ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการกำเริบเฉียบพลันร่วมกับการใช้สมาธิในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.วิทยานิพนธ์.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2559.
33. Triamchaisri SK., Sresumatchai V., Rawiworakul T, et al.การประยุกต์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในการเยียวยาสุขภาพ (กรณีประยุกต์การปฏิบัติสมาธิ SKT1 – SKT7 กับโรคเรื้อรังและผู้ป่วยระยะสุดท้าย;2557.
34. Mayer AF, Karloh M, Sant K,et al .Effect of acute use of pursed-lips breathing during exercise in patients with COPD: a systematic review and meta-analysis.Physiotherapy 2018;104:9–17.
35. จตุพร จักรเงิน.ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของปอดและความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.2551.
36. สุกัลยา กฤษณเกรียงไกร , จินตนา ตันหยง, สุวัฒน์ จิตรดำรงค์, รุจิรวรรณ บุปผาพรหม, วิภาพร ตัณฑ์สุระ.การศึกษาประสิทธิภาพของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (A study of the efficacy of pulmonary rehabilitation program for patients with chronic obstructive pulmonary disease.วารสารกายภาพบำบัด.2556;35(2):93-101.
37. Oh EG. The effects of home-based pulmonary rehabilitation in patients with chronic lungdisease. Int J Nurs Stud .2003;40:873-9.
38. Foglio K, Bianchi L, Bruletti G, et al. Seven year time course of lung function, symptoms,health-related quality of life, and exercise tolerance in COPD patients undergoing pulmonary rehabilitation programs. Respir Med 2007;101:1961–70.