ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพทางกายด้านความอดทนของระบบหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมาและความสําคัญ: การมีสมรรถภาพกายด้านความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือดที่ดีจะช่วยเพิ่มความสามารถในการทํางานของร่างกายและลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพกายด้านความอดทนของระบบหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรโรงพยาบาลสิชลจังหวัดนครศรีธรรมราช
แบบวิจัย: วิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง
วัสดุและวิธีการ: ผู้ร่วมวิจัยเป็นผู้ตอบคําถามด้วยตนเอง (Self-administered-questionnaire) มีผู้เข้าร่วมวิจัย222 คนโดยการสุ่มวิธีSimple random sampling ในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2562 วิเคราะห์สถิติโดยใช้ความถี่ร้อยละหาความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้สถิติChi-square test ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิตที่p-value < 0.05 และสมการถดถอยแบบพหุสัมพันธ์
ผลการศึกษา:บุคลากรส่วนใหญ่ร้อยละ67.1 มีสมรรถภาพกายด้านหัวใจและหลอดเลือดไม่เหมาะสมและมีความเครียดบ่อยครั้งส่งผลให้มีสมรรถภาพกายด้านหัวใจและหลอดเลือดที่เหมาะสมคิดเป็น 0.10 เท่าของผู้ที่ไม่มีความเครียดหรือมีเล็กน้อย(p-value 0.032)
สรุป: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพกายด้านหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรโรงพยาบาลสิชลได้แก่ความเครียดซึ่งแตกต่างจากงานวิจัยอื่นที่เคยศึกษาควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยด้านความเครียดต่อสมรรถภาพกายในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์เนื่องจากภาระงานและการทํางานเป็นกะซึ่งสาเหตุของความเครียดและระดับความเครียดที่ต่างกันอาจส่งผลต่อสมรรถภาพกายที่แตกต่างกัน
คําสําคัญ:สมรรถภาพกาย, สมรรถภาพกายด้านหัวใจและไหลเวียนเลือด, บุคลากร, ความเครียด, โรงพยาบาลสิชล
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
2. เพิ่มศักดิ์ สุริยจันทร์, สุพิตร สมาหิโต, วัลลีย์ ภัทโรภาสและคณะ. แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย ของประชาชน อายุ 19 - 59 ปี.สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา; 2562.
3. ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ และสิทธา พงษ์พิบูลย์. (2554). สรีรวิทยาการออกกำลังกาย. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนารายวิชาเพื่อการเรียนการสอน คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
4. สันติภาพ กาติวงศ์ และ พรรณี บัญชรหัตถกิจ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพทางกายของบุคลากร ที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี .วารสารวิจัย มข. (บศ.).2556;13(2). 85-98.
5. มณฑินี มีสมบูรณ์.สมรรถภาพทางกายของผู้ใช้บริการ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย กรมพลศึกษา[วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.