คุณภาพชีวิต ความสมดุลในชีวิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลาออกจากการทำงานของแพทย์ที่จบการศึกษาเฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัวในประเทศไทย

Main Article Content

สวิส ใจมั่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตและความสมดุลระหว่างชีวิต และปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกจากการทำงานของแพทย์ที่จบเฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวในประเทศไทยจำนวน 95 คน โดยรวบรวมข้อมูลทางออนไลน์จากแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานทั่วไป แบบสอบถามคุณภาพชีวิต แบบสอบถามสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ความพึงพอใจในงานในบุคลากรสุขภาพ และแบบสอบถามความคิดลาออกและโอนย้ายจากงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดลาออกและโอนย้ายจากงานของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวด้วยสถิติ Chi-square test หรือ Fisher’s exact test และ Independent t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (α = 0.05) ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมระดับที่ดี ความพึงพอใจในงาน ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานอยู่ในระดับต้องปรับปรุง มีความคิดที่จะย้ายจากงานปัจจุบันที่ปฏิบัติงานอยู่บ้างเป็นบางเวลาและไม่เคยคิดที่จะลาออกจากอาชีพปัจจุบันที่ปฏิบัติงาน สาเหตุที่คาดว่าอาจเป็นเหตุผลทำให้ต้องลาออกจากองค์กรส่วนใหญ่เป็นหน้าที่รับผิดชอบที่หนักเกินไป ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดโอนย้ายหรือลาออกจากอาชีพปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ โอกาสเรียนต่อปริญญาโทหรือเฉพาะทางอื่น ๆ, สาเหตุที่คาดว่าทำให้ต้องลาออกเนื่องจากผู้บริหารหน่วยงานหรือผู้บังคับบัญชาและหน้าที่รับผิดชอบที่หนักเกินไป, คุณภาพชีวิตโดยรวม และความพึงพอใจในงาน ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ดังนั้นองค์กรควรส่งเสริมและให้ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ของแพทย์ และมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน อีกทั้งแพทย์เองควรเสริมสร้างคุณภาพชีวิตทั้งด้านสุขภาพกาย จิตใจ สัมพันธภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Mobley WH. Employee Turnover: Causes, Consequences, and Control. Philippines, Addison: Wesley Publishing Company; 1982.
2. Halawi AH. Stimuli and Effect of the Intention to leave the organization. European Scientific Journal. 2014;1:1857–7431.
3. Moneta GB. Need for achievement, burnout, and intention to leave: Testing an occupational model in educational settings. Personality and Individual Differences. 2011;50: 274–8.
4. Elangovan AR. Causal ordering of stress, satisfaction and commitment, and intention to quit: a structural equations analysis. Leadership & Organization Development Journal. 2001;22(4):159-65.
5. ฉัตรชัย ชุมวงศ์. คุณภาพชีวิตในการทางาน ความผูกพันต่อองค์การกับความตั้งใจลาออก ของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา บริษัท ฟาร์มเลี้ยงไก่ปู่-ย่าพันธุ์แห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ] ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.
6. เบญจพร ถีระรัตน์. ความพึงพอใจในงาน ลักษณะความเป็นผู้นำของหัวหน้างานและความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานในระดับปฏิบัติการในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตวงจารแหง่ หนึ่ง. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ] ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2547.
7. Keller RT. Role conflict and ambiguity: correlates with job satisfaction and values. Personal Psychology. 1975;28:57-64.
8. นารีรัตน์ เอี่ยมตั้งพาณิชย์. ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความผูกพันต่อองค์การ และความตั้งใจที่ จะลาออกของบุคลากรสานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจกระทรวงการคลัง . [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2555.
9. พรรณชนก เดชสิงห์. การศึกษาคุณภาพชีวิตและสมดุลการทำงานในพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. [วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิต] กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.
10. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ และราณี พรมานะจิรังกุล. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัย โลก ชุด 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. 2540.
11. อุไรพร จันทะอุ่มเม้า. คุณภาพชีวิตในการทางานของวิชาชีพพยาบาล. วารสารกองการพยาบาล. 2555;39(1):92-6.
12. M. Flinkman, M. Laine, H. Leino-Kilpi, H. M. Hasselhorn, S. Salantera. Explaning young registered Finnish nurses’ intention to leave the profession: A questionnaire survey. Eldevier Ltd Journal of Nursing Studies. 2008;45:727-39.
13. กำธร พฤกษานานนท์, วิรุฬห์ พรพัฒนกุล, เกริยศ ชลายนเดชะ, ลักษนันท์ รัตนคูหา และกมลทิพย์ ดุลยเกษม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของแพทย์ในภาครัฐ. [การจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต] กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2546.
14. สยาม พิเชฐสินธุ์. สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=02-2010&date=23&group=27&gblog=18