การวัดการดูแลต่อเนื่องของคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง โดยใช้ดัชนีวัดการได้รับการดูแลต่อเนื่อง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาการได้รับการรักษาแบบติดตามต่อเนื่องผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่รักษาในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง
วิธีการศึกษา: รูปแบบวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ประชากรคือผู้รับบริการคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
อายุมากกว่า 35 ปี เก็บข้อมูลตั้งแต่ มิถุนายน 2561 – มิถุนายน 2562 คำนวนค่าดัชนีวัดการรับการรักษาแบบติดตามต่อเนื่อง (COCI) ตามลำดับคะแนน วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ใช้ Exact binomial และ T test statistical ตามชนิดตัวแปร ค่าความเชื่อมั่น 95% เพื่อแสดงช่วงของข้อมูล
ผลการศึกษา: การทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย 359 ราย อายุเฉลี่ย 61.7 ปี เพศหญิง 62% โรคประจำตัวเฉลี่ย 3.1 โรค จำนวนครั้งการเข้ารับการบริการ 4.8 ครั้งต่อปี คะแนนเฉลี่ยดัชนีวัดการได้รับการรักษาแบบติดตามต่อเนื่อง 0.17±0.21 อยู่ในระดับต่ำ ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบติดตามต่อเนื่องระดับสูงคิดเป็น 3.3% (95% C.I. 2.0-5.0) ระดับปานกลาง 5.3% (95% C.I. 3.0-8.0) และระดับต่ำ 91.4% (95% C.I. 89.0-94.0)
สรุปผลการศึกษา: การรับการรักษาแบบติดตามต่อเนื่องโดยใช้ดัชนีวัดการรับการรักษาแบบติดตามต่อเนื่องของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในโรงพยาบาลชุมชนแห่งนี้อยู่ในระดับต่ำ มีความแตกต่างอย่างมากกับงานวิจัยที่ผ่านมา ดังนั้นในบริบทโรงพยาบาลชุมชนจำเป็นอย่างมากที่ต้องส่งเสริม ปรับปรุงระบบให้ได้รับการดูแลแบบติดตามต่อเนื่องที่ดีขึ้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
2. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. ศ.กต. พญ. อัมพา สุทธิจำรูญและคณะ , editor. ปทุมธานี: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2017.
3. วิชัย เอกพลากร (บรรณาธิการ). คู่มือการส ารวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5. นนทบุรี: แผนงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย; 2556.
4. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2556. นนทบุรี: บริษัท เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด; 2558.
5. Chaudhry SR, Hanna-Attisha M, LaChance J, et al.Primary resident physician: improving continuity of care. J Grad Med Educ. 2015;7(2):291–292.
6. Cheng S-H, Chen C-C, Hou Y-F. A Longitudinal Examination of Continuity of Care and Avoidable Hospitalization: Evidence From a Universal Coverage Health Care System. Arch Intern Med [Internet]. 2010 Oct 11 [cited 2019 Dec 1];170(18). Available from: http://archinte.jamanetwork.com/article.aspx?doi=10.1001/archinternmed.2010.340.
7. Parchman ML, Pugh JA, Noël PH, Larme AC. Continuity of Care, Self-Management Behaviors, and Glucose Control in Patients With Type 2 Diabetes: Med Care. 2002 Feb;40(2):137–44.
8. Kim JH, Park EC, Kim TH, Lee Y. Hospital charges and continuity of care for outpatients with hypertension in South Korea: a nationwide population-based cohort study from 2002 to 2013. Korean J Fam Med. 2017;38:242–248.
9. นายแพทย์วศิน คัมภีระ คุณภาพชีวิตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสงขลา. [รายงานการวิจัยอนุมัติบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว]. โรงพยาบาลจะนะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 2561.
10. สุพัตรา ศรีวนิชชากร และคณะ. การศึกษาเรื่องอัตราการศึกษาตอของแพทยเปนแพทยเฉพาะทาง. กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพ; 2535.
11. นิลเนตร วีระสมบัติ. การคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนของประเทศไทย . วิทยานิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2552.
12. แพทย์หญิงณภัทร สิทธิศักดิ์ การศึกษารูปแบบบริการปฐมภูมิเขตเมืองที่เหมาะสม. [เอกสารการศึกษาทางวิชาการในหลักสูตร การพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านนโยบายและยุทธศาสตร์สุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข]. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2561.
13. Li Y-C. Continuity of care for newly diagnosed diabetic patients: A population-based study. Orueta JF, editor. PLOS ONE. 2019 Aug 22;14(8):e0221327.
14. Hong JS, Kang HC, Kim J. Continuity of Care for Elderly Patients with Diabetes Mellitus, Hypertension, Asthma, and Chronic Obstructive Pulmonary Disease in Korea. J Korean Med Sci. 2010;25(9):1259.
15. Leleu H, Minvielle E. Relationship between Longitudinal Continuity of Primary Care and Likelihood of Death: Analysis of National Insurance Data. Schooling CM, editor. PLoS ONE. 2013 Aug 22;8(8):e71669.
16. Knight JC, Dowden JJ, Worrall GJ, et al. Does higher continuity of family physician care reduce hospitalizations in elderly people with diabetes? Popul Health Manag 2009;12:81-6.
17. Gray DP, Gill JM. Continuity of Care and Trust in One’s Physician: Evidence From Primary Care in the United States and the United Kingdom. Fam Med. 2000;7.
18. Chalobol Chalermsri, Supalerg Paisansudhi, Pitchaporn Kantachuvesiri, Pornpoj Pramyothin, Chaiwat Washirasaksiri, Weerachai Srivanichakorn, et al. The Effectiveness of Holistic Diabetic Management between Siriraj Continuity of Care Clinic and Medical Out-Patient Department. J Med Assoc Thai.2014; Vol.97:197-205.
19. โกเมศ โฆษะวิวัฒน์, และคณะ. การศึกษาประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการติดตามดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องในคลินิกปฐมภูมิ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ [งานวิจัยในรายวิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและเวชศาสตร์ชุมชน 3,4]. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาสงขลานครินทร์, 2558.
20. พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562.