ความชุกและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตตก เมื่อเปลี่ยนท่าทาง ในผู้สูงอายุที่มารับบริการ ที่คลินิกตรวจโรคเวชศาสตร์ศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาความชุกของการเกิดภาวะความดันโลหิตตกเมื่อเปลี่ยนท่าทางและภาวะไม่สามารถทนต่อการเปลี่ยนท่าทาง และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดความดันโลหิตตกเมื่อเปลี่ยนท่าทางในผู้สูงอายุ
แบบวิจัย:เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เก็บข้อมูลในผู้สูงอายุที่มารับบริการที่คลินิกตรวจโรค
เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 284 คน
วัสดุและวิธีการ:โดยใช้แบบสอบถาม และวัดความดันโลหิตท่านั่งและท่ายืนด้วยวิธีมาตรฐานประเมินความดันโลหิตตกเมื่อเปลี่ยนท่าทางข้อมูลที่ได้นำมาหาความชุกโดยใช้ค่าร้อยละ และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Multivariate logistic regression analysis (p-value < 0.05)
ผลการศึกษา:ความชุกของการเกิดภาวะความดันโลหิตตกเมื่อเปลี่ยนท่าทางและภาวะไม่สามารถทนต่อการเปลี่ยนท่าทางเป็นร้อยละ17.25และ 58.45 ตามลำดับ และพบมากที่สุดในผู้ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 80 ปี (adjust OR 5.27 (95% CI; 1.65-16.83, p = 0.005)) เมื่อเทียบกับกลุ่มอายุ70-79ปี (adjust OR 2.82 (95% CI; 1.19-6.72, p = 0.019))และผู้ที่รับประทานยามากกว่า 4 ชนิด สัมพันธ์กับการเกิดภาวะความดันโลหิตตกเมื่อเปลี่ยนท่าทาง (adjust OR 3.66 (95% CI; 1.52-8.79, P = 0.004)) มากกว่า เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานยาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 ชนิด นอกจากนี้ยังพบว่าภาวะความดันโลหิตตกเมื่อเปลี่ยนท่าทาง สัมพันธ์กับอาการเดินและยืนไม่มั่นคง (adjust OR 3.92 (95% CI; 1.70-9.05, P = 0.001)) และมีสายตาที่ผิดปกติ (adjust OR 4.38 (95% CI; 1.92-10.00, P = 0.001)) หลังจากการเปลี่ยนท่าทาง
สรุปผล:หนึ่งในหกของผู้สูงอายุพบว่ามีภาวะความดันโลหิตตกเมื่อเปลี่ยนท่าทาง โดยสัมพันธ์กับหลายปัจจัย ซึ่งบางปัจจัยสามารถแก้ไขได้ และสามารถที่จะทำให้การเกิดภาวะความดันโลหิตตกเมื่อเปลี่ยนท่าทางในผู้สูงอายุลดลงได้
คำสำคัญ:ผู้สูงอายุ, ภาวะความดันโลหิตตกเมื่อเปลี่ยนท่าทาง,ภาวะไม่สามารถทนต่อการเปลี่ยนท่าทาง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
2. Low PA. Prevalence of orthostatic hypotension. Clin Auton Res 2008;18 (1):8-13.
3. Mosnaim AD, Abiola R, Wolf ME, Perlmuter LC. Etiology and risk factors for developing orthostatic hypotension. Am J Ther 2010;17(1):86-91.
4. Sclater A, Alagiakrishnan K. Orthostatic Hypotension: A primary care primer for assessment and treatment. Geriatrics 2004; 59(8): 22-7.
5. Ong HL, Abdin E, Seow E, Pang S, Sagayadevan V, Chang S, et al. Prevalence and associative factors of orthostatic hypotension in older adults: Results from the Well-being of the Singapore Elderly (WiSE) study. Arch GerontolGeriatr. 2017 Sep;72:146–152.
6. Chou RH, Liu CJ, Chao TF, Chen SJ, Tuan TC, Chen TJ, et al. Association between orthostatic hypotension, mortality, and cardiovascular disease in Asians. Int J Cardiol 2015;195:40-4.
7. Huang H, Zheng T, Liu F, Wu Z, Liang H, Wang S. Orthostatic Hypotension Predicts Cognitive Impairment in the Elderly: Findings from a Cohort Study. FrontNeurol 2017 Apr 3;8:121.
8. Menant JC, Wong AK, Trollor JN, Close JC, Lord SR. Depressive Symptoms and Orthostatic Hypotension Are Risk Factors for Unexplained Falls in Community-Living Older People. J Am Geriatr Soc. 2016 May;64(5):1073-8.
9. Freeman R, Wieling W, Axelrod FB, Benditt DG, Benarroch E, Biaggioni I, et al. Consensus statement on the definition of orthostatic hypotension, neurally mediated syncope and the postural tachycardia syndrome. Clin Auton Res 2011;21:69-72.
10. O'Connell MD, Savva GM, Fan CW, Kenny RA. Orthostatic hypotension, orthostatic intolerance and frailty: The Irish Longitudinal Study on Aging-TILDA. Arch Gerontol Geriatr 2015;60(3):507-13.
11. Kamaruzzaman S, Watt H, Carson C, Ebrahim S. The association between orthostatic hypotension and medication use in the British Women’s Heart and Health Study. Age Ageing. 2010;39:51-6.
12. Lanier JB, Mote MB, Clay EC. Evaluation and management of orthostatic hypotension. Am Fam Physician 2011;84(5):527-36.
13. Juraschek SP, Daya N, Appel LJ, Miller III ER, Windham BG, Pompeii L, et al. Orthostatic Hypotension in Middle-Age and Risk of Falls. American journal of Hypertension. 2017 Feb;30(2):188-95.