ความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการชาวกัมพูชา ต่อคุณภาพบริการ ณ คลินิกเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย

Main Article Content

ธนกฤต ดงบัง
ฉัตรชัย มโนกุลจิต
สุชาติ ศุภปีติพร
ภรเอก มนัสวานิช
สุทธ์ศรี กอแก้ววิเชียร

บทคัดย่อ

ที่มาและความสำคัญ: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีผู้ป่วยชาวกัมพูชาจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกปี การจะพัฒนาคุณภาพบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้าใจความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการบริการ การศึกษาจึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประเด็นดังกล่าวในผู้รับบริการชาวกัมพูชา


วิธีการศึกษาวิจัยเชิงพรรณาตัดขวาง ศึกษาชาวกัมพูชาที่ใช้บริการคลินิกเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 120 คน ระหว่างเดือน มีนาคม - สิงหาคม 2562  โดยตอบแบบสอบถามภาษาเขมรที่ผ่านการทดสอบแล้ว แปลผลด้วยสถิติเชิงพรรณา


ผลการศึกษา: ความคาดหวังและการรับรู้บริการของกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.05 SD = 0.41, x̄ = 4.16 SD = 0.39)  ผู้ป่วยกัมพูชาส่วนใหญ่มาใช้บริการเป็นครั้งแรก (74.2%) ไม่เคยรับบริการจากสถานพยาบาลอื่นในไทยมาก่อน (70%) และถูกแนะนำจากญาติหรือคนรู้จักที่เคยมารักษา (63.3%) เหตุผลหลักที่มาใช้บริการ คือ ค่ารักษาถูก (68.3%)  มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย (56.7%) และมั่นใจในความเชี่ยวชาญของแพทย์ (55.8%)  ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความต้องการมาพบแพทย์เฉพาะทาง (83.3%) โดยเฉพาะอายุรกรรมทางเดินอาหาร ศัลยกรรมทั่วไป และศัลยกรรมกระดูก   ต้องการมาตรวจสุขภาพประจำปี (65.8%)  และต้องการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม (18.3%) เช่น Esophagogastroduodenoscopy (50%)


สรุปผล: ภายหลังการรับบริการความพอใจโดยรวมของผู้รับบริการชาวกัมพูชาเพิ่มขึ้น ความคาดหวังและการรับรู้ต่อคุณภาพบริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก  โรงพยาบาลควรจัดบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ  อีกทั้งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความคิดเห็นของแพทย์ และผู้ป่วยชาวไทยต่อผู้ป่วยชาวกัมพูชา

Article Details

How to Cite
1.
ดงบัง ธ, มโนกุลจิต ฉ, ศุภปีติพร ส, มนัสวานิช ภ, กอแก้ววิเชียร ส. ความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการชาวกัมพูชา ต่อคุณภาพบริการ ณ คลินิกเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย. PCFM [อินเทอร์เน็ต]. 28 กันยายน 2020 [อ้างถึง 5 กุมภาพันธ์ 2025];2(2):58-6. available at: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/222512
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
Author Biography

ธนกฤต ดงบัง, ฝ่ายเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

แพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

References

1. กมลรัตน์ (ศักด์สมบูรณ์) เทอร์เนอร์ และ ศุภาพิชญ์ (มณีสาคร) โฟน โบรแมนน. พฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพและการรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพของชาวต่างชาติในประเทศไทย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2556;23(1):1-4.
2. กองสุขภาพระหว่างประเทศ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตรก์ารพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ(MEDICAL HUB)(พ.ศ.2560 - 2569). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทเอ็มเอสคอเปอร์เรชันจำกัด; 2560.
3. จอมขวัญ ศุภศิริกิจเจริญ และบุญเสริม บุญเจริญผล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนไทยของผู้รับบริการที่เป็นชาวต่างชาติ. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2558; 32:114-123.
4. ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาดชาดไทย. สถิติข้อมูลผู้ป่วยที่มาใช้บริการ. 2561.
5. พรมิตร กุลกาลยืนยง. การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในประเทศไทย ความท้าทายและการพัฒนา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 2560;1(9):125-132.
6. พิเชฐ สัมปทานุกุล บรรณาธิการ. หลักการทำวิจัยสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิทยาการวิจัยแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
7. ลักขณา สริวัฒน์. จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2549.
8. วิทวัส รุ่งเรืองผล และคณะ. ไทยกับศูนย์กลางบริการสุขภาพของเอเชียร์[อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 27 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaifta.com/thaifta/Portals/0/File/ta_doc4.html.
9. วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. คุณภาพในงานบริการ1. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ส.ส.ท; 2543.
10. สภากาชาดไทย. หลักการกาชาด. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.redcross.or.th/principles/.
11. สาริกา ค้าสุวรรณ. พฤติกรรมการใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากตะวันออกกลาง มุมมองจากผู้ให้บริการทางการแพทย์. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ 2560;14:53-76.
12. สุรสักย์ ธไนศวรรยางกูร. ข้อมูลพื้นฐานด้านสาธารณสุขและความร่วมมือด้านเอชไอวีและเอดส์ระหว่าง ราชอาณาจักรไทย และ ราชอาณาจักรกัมพูชา. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: อินฟินิตี้; 2558.
13. ศรัญธินี มงคลรัตน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขสาสตร์มหาบัณฑิต เรื่อง ความพึงพอใจคนไข้ชาวต่างชาติที่มีต่อการบริการโรงพยาบาลเอกชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
14. ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. รายงานพฤติกรรมผู้บริโภค. ขอนแก่น; 2558.
15. อัจฉรา อ่วมเครือ และ มณฑาทิพย์ ไชยศักดิ์. รายงานการวิจัยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี เรื่อง ความคิดเห็นและความคาดหวังของชาวต่างชาติเกี่ยวกับบริการสุขภาพในประเทศไทย. ราชบุรี; สถาบันบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข;2550.
16. Best, S.W..Research in education. EnglewoodCliffs, NJ: Prentice-Hall; 1959.
17. Brislin RW. Back-translation for cross-cultural research. J Cross-Cult Psychol 1970; 1(3): 185-216.
18. Bye D. H. Shopping Abroad for Medical Care: The Next Step in Controlling the Escalating Health Care Costs of American Group Health Plans, The Health Lawyer. 2007;19(5):30.
19. Cochran, W.G. Sampling Techiques. New York :John Wiley & Sons. Inc; 1953.
20. Hornby. A.S.. Oxford Advanced Learner’s Dictionary. London: Oxford University Press; 2000.
21. Horowitz, M.D. and Resensweig, J.A.. Medical Tourism and Traditional International Medical Travel: A Tale of Two Models. International Medical Travel Journal. 2008;3:30-33.
22. Parasuraman A., Zeithamal Valarie A., and Berry Leonard L. Delivery Quality Service : Balancing Customer Perceptions and Expectations. New York: The Free Press; 1990.
23. Paul TJ James. The Impact of Medical Tourism on Thai Private Hospital Management: Informing Hospital Policy. Global Journal of Health Science. 2012;4(1):127-139.
24. Schiffman, L. F. and Kanuk, L.L.. Consumer behavior. 7th ed. Upperr Saddle River,NJ: Prentic-Hall; 2000.