ความคาดหวังและการรับรู้ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต่อคลินิกหมอครอบครัวใน จ.พิษณุโลก

Main Article Content

ศศิธร ศรีโพธิ์ทอง
วิโรจน์ วรรณภิระ
สิริพรรณ ธีระกาญจน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ทีมหมอครอบครัวประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพด้านการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชน และภาคประชาชน โดยมีอสม.ทำหน้าที่เชื่อมประสานจัดการสุขภาพชุมชน  ความคาดหวังและการรับรู้ของอสม.ที่มีต่อคลินิกหมอครอบครัวจึงมีความสำคัญในการกำหนดทิศทางและการวางแผนปฏิบัติงานของคลินิกหมอครอบครัวเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่แท้จริง การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและการรับรู้ของอสม. โดยการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ อสม.ที่ปฏิบัติงานร่วมกับคลินิกหมอครอบครัวจำนวน 12 คน คัดลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบความถูกต้องโดยใช้วิธีการตรวจสอบสามเส้า ผลการศึกษา พบว่า อสม.มีการรับรู้ต่อทีมหมอครอบครัวเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน อสม.ได้รับการพัฒนาศักยภาพและทักษะในการสนับสนุนการให้บริการเชิงรับและเชิงรุกในชุมชนที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดี อสม.คาดหวังให้ทีมหมอครอบครัวช่วยแก้ไขปัญหาการไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ช่วยสนับสนุนอุปกรณ์เพื่อคัดกรองโรคเรื้อรัง และอสม.ต้องการให้มีการจัดบริการเชิงรุกในชุมชนเพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ดีขึ้น ได้แก่ การตรวจสุขภาพ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และการคัดกรองโรคเรื้อรัง

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

เอกสารอ้างอิง
1. Health Administration Division Office of the Permanent Secretary. Guideline of primary care cluster for service unit [internet]. 2016 [cited 2018 July 1]. Available from: http://www.ato.moph.go.th/sites/default/files/download/primary%20care%20cluster_guide%20%28pcc%29.pdf.
2. Khonthaphakdi D. Perception of Hospital Administrators and Primary Care Practitioners on Primary Care Cluster Policy: Understandings, Feelings, Expectations, Obstacles and
Suggestions. Journal of Health Systems Research 2018;12(2):267-79.
3. Rashid F, Blanco E. Dimensions of Interpersonal Relationships: Corpus and Experiments [internet]. 2017 [cited 2018 July 15]. Available from: http://aclweb.org/anthology/D17-1244.
4. Jukchai P. Factors affecting the performance of village volunteers (VHVs) of family care teams, Pathum Thani Province. Journal of Public Health Nursing 2017;31:16-28.
5. Kaeodumkoeng K, Pekalee A, Junhasobhaga J, Suwannit C. The Role of Village Health Volunteers in the Family Care Team. KKU Journal for Public Health Research 2016;9(2):6-16.
6. Parasuraman, A., Zeithaml, VA., Berry, LL. SERVQUAL: A Multi-item Scale for Measuring Consumer Perception of Service Quality. Journal of Retailing 1988;64(1):12-40.
7. Kunaroop P. The Expectation Perception and Satisfaction of people towards quality Service in Don Kaew Hospital, Mae Rim district, Chiang Mai province. Ganesha Journal 2015;11(2):13-23.
8. Samerjai C. Proactive Service. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University 2015;1(2):20.
9. Manathura A. Client Perception on the Primary Care Service Provided by the Chakarat Health Service Network, Amphur Chakarat, Nakhonratchasima. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima 2012;18(1):17-28.
10. Suwanbamrung C. The Results of Problem Situation and Larval Indices Management Assessment Based on Mixed Method and Community Participation Approach for Preparing the Dengue Problem Solution in KumpheangSou Sub-district, Nakhon Si Thammarat Province. Area Based Development Research Journal.2014; 6:54-75.
11. Shuaytong P. The People Participation on Dengue Hemorrhagic Fever
Prevention and Control in Sisaket Province. Kuakarun Journal of Nursing 2013;20(2):55-69.
12. Thongdara P. A model development for dengue hemorrhagic fever prevention and control focusing on people’s participation. Journal of Rajanagarindra 2016;13:223-31.
13. Siripaiboon P. Role of development of health volunteers in primary health care: a case study of Phayathai district. Academic Services Journal, Prince of Songkla University 2010;21(2):30-44.