ปัจจัยการออมและรูปแบบการออมที่มีอิทธิพลต่อความอยู่ดีมีสุขทางการเงินของครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2

Main Article Content

ชิดชนก ขยันอาจ
พีรญา ชื่นวงศ์
กษิดิศ ใจผาวัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการออม รูปแบบการออม ความอยู่ดีมีสุขทางการเงินของครูโรงเรียน และ 2) ศึกษาปัจจัยการออม และรูปแบบการออมที่มีอิทธิพลต่อความ อยู่ดีมีสุขทางการเงินของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ ได้แก่ ครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ
เชิงพรรณนา และวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลของตัวแปร (Path Analysis) ผลการศึกษาพบว่าความคิดเห็นของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
ในภาพรวมเกี่ยวกับปัจจัยการออม อยู่ในระดับมากที่สุด รูปแบบการออมและความอยู่ดีมีสุขทางการเงิน อยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยการออมและรูปแบบการออมส่งผลต่อความอยู่ดีมีสุขทาง
การเงินของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งปัจจัยทั้งสองส่งผลต่อความอยู่ดีมีสุขทางการเงินได้ร้อยละ 69.10 (R2 = 0.691) เมื่อพิจารณารายปัจจัย พบว่า ปัจจัยการออมส่งอิทธิพลทางบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านรูปแบบการออมสู่ความอยู่ดีมีสุขทางการเงินค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยรวมเท่ากับ 0.312 โดยอิทธิพลทางบวกโดยทางตรงกับความอยู่ดีมีสุขทางการเงิน และรูปแบบการออม มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.751 และ 0.468 ตามลำดับ ส่วนรูปแบบการออมมีอิทธิพลทางบวกต่อความอยู่ดีมีสุขทางการเงิน มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.667 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 

Article Details

How to Cite
ขยันอาจ ช. ., ชื่นวงศ์ พ. ., & ใจผาวัง ก. . (2024). ปัจจัยการออมและรูปแบบการออมที่มีอิทธิพลต่อความอยู่ดีมีสุขทางการเงินของครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 5(1), 50–67. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/274000
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กรณิกา วาระวิชะนี. (2560). ความรู้ทางการเงินและความอยู่ดีมีสุขทางการเงินของพนักงานในสถาบันการเงินกรณีศึกษาจากพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ขจรเกียรติ เพียรสร้าง. (2560). พฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์นาวิกโยธิน จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิรายุทธ์ ธราธรรุ่งเรื่อง และพัฒน์ พัฒนรังสรรค์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้สกุลเงินดิจิตอลของธนาคารแห่งประเทศไทย. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTC Academic Day.

ซานียะฮ์ ช่างวัฒนกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนจังหวัดสตูล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ณิชากร ชัยศิริ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในจังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เด่นพงษ์ สุดภักดี.(2557). “การรู้ดิจิทัล”.ในรายงานการอบรม เรื่อง เทคโนโลยีสานสนเทศและการสื่อสารในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อการวิจัย (21 พฤศจิกายน 2557). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นเรศ หนองใหญ่. (2560). พฤติกรรมการออมของประชาชนในเขตพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิตยา วงศ์ใหญ่. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของดิจิทัลเนทีฟ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(2), 1630-1642.

ปิยพร อำมสุทธิ์. (2557). การตัดสินใจออมเงินผ่านการลงทุนกองทุนรวมหุ้นระยะยาวของพนักงานเงินเดือนประจำในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิไล เอื้อปิยฉัตร. (2556). ความรู้ทางการเงิน: ตัวกำหนดและผลกระทบที่มีต่อพฤติกรรมการออม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริรัตน์ ศรีพนม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมเงินของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจันทบุรี จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สยานนท์ สหุนันต์. (2560). พฤติกรรมการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานี พัทยา. ชลบุรี: วิทยาลัยดุสิตธานี พัทยา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ. (2562). บทที่ 5 ตลาดเงินและตลาดตราสารทุน. คณะกรรมการกลุ่มผลิตคู่มือปฏิบัติงานสาหรับตัวแทนประกันชีวิต (บ.ก.), คู่มือปฏิบัติงานสำหรับนายหน้าประกันชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย, 1-38.

เอกจิต เพียรพิทักษ์. (2558). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนรูปแบบต่าง ๆ ในอสังหาริมทรัพย์ ประเภทอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Dan Goldhaber & Cyrus Grout. (2016). Pension Choices and the Savings Patterns of Public School Teachers. Education Finance and Policy.

Ian Gough & J. Allister McGregor. (2007). Wellbeing in Developing Countries: From Theory to Research. Cambridge University.

Dong-Hyeon Kim, Peiyao Liu & Shu-Chin Lin. (2024). The moderating role of financial Development in the nexus between population aging and saving. Advances in Economics Management and Political Sciences, 56(1), 155-162.

Alba Lugilde, Roberto Bande & Dolores Riveiro. (2019). Precautionary saving: a review of the empirical literature. Journal of Economic Surveys, 33, 481–515.

Paul Langley. (2008). The Everyday Life of Global Finance: Saving and Borrowing in Anglo-America. OUP Oxford.

Richard J. Stillman. (1988). Public administration: concepts & cases. Boston: Houghton Mifflin.

Tom Rath & Jim Harter (2010), Wellbeing: The Five Essential Elements. Gallup, Inc.

Tabachnick and Fidell (1996). Using Multivariate Statistics (3rd Ed.). New York: Harper Collins.

Taro Yamane (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Ed). New York: Harper and Row Publications.

Maarten van Rooij, Annamaria Lusardi & Rob Alessie. Financial Literacy and Retirement Planning in the Netherland.Journal of Economic Psychology, Journal of Economic Psychology, 593-608.