https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/issue/feed
วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์
2024-08-30T00:00:00+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพันธ์พงษ์ ชิณพงษ์
fmsjournal@vru.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ รับพิจารณาบทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านบริหารธุรกิจ การบัญชี การท่องเที่ยวและโรงแรม ธุรกิจบริการ และนิเทศศาสตร์ ของคณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไปทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านบริหารธุรกิจ การบัญชี การท่องเที่ยวและโรงแรม ธุรกิจบริการ และนิเทศศาสตร์ ของคณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไปทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยมีกำหนดการตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคมฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม <br /><br />ค่าลงทะเบียน บทความละ 4,000 บาท (สี่พันบาทถ้วน) ชำระเมื่อผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ ทั้งนี้วารสารจะไม่คืนเงินดังกล่าวแก่ผู้เขียน หากไม่ได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)</p>
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/276953
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านการทำงานจากที่บ้าน สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความพึงพอใจในงาน และแรงจูงใจในการทำงานต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานหน่วยงานสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย
2024-06-17T16:47:58+07:00
ประเสริฐศักดิ์ โพธิ์ทอง
Prasertsak.ph@western.ac.th
ทศพล ปรีชาศิลป์
thotsapon.p@rmutsb.ac.th
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านการทำงานจากที่บ้าน สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความพึงพอใจในงาน และแรงจูงใจในการทำงานต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานหน่วยงานสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พนักงานหน่วยงานสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของประเทศไทย จำนวน 420 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการทำงานจากที่บ้าน สภาพแวดล้อมในการทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในงาน และประสิทธิภาพการทำงาน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ สำหรับการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการทำงานจากที่บ้าน พบว่ามีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจในงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน แรงจูงใจในการทำงานมีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจในงาน สำหรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานหน่วยงานสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย ส่วนปัจจัยการทำงานจากที่บ้านไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานหน่วยงานสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/277274
การศึกษาความเป็นไปได้ของความภักดีของผู้รับบริการรีสอร์ตระดับห้าดาว
2024-05-23T10:35:05+07:00
พัชรีภรณ์ สงเคราะห์พานิช
s65584917006@ssru.ac.th
เอื้ออัมพร ทิพยฑิฆัมพร
uea-umporn.ti@ssru.ac.th
ธิปัตย์ โสตถิวรรณ์
tipat_s@rmutt.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความได้เปรียบทางการแข่งขัน การพัฒนาคุณภาพพนักงานให้บริการ กลยุทธ์การตลาด และการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้รับบริการรีสอร์ตระดับห้าดาว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการชาวต่างชาติและชาวไทย จำนวน 50 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบสะดวก โดยพนักงานให้บริการนำแบบสำรวจทำการสอบถามตรงต่อผู้รับบริการชาวต่างชาติและชาวไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบปลายปิด สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ เพื่อทดสอบสมมติฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้รับบริการรีสอร์ตระดับห้าดาว ผลการศึกษา พบว่า 1) ความได้เปรียบทางการแข่งขัน มีอิทธิพลโดยรวมร้อยละ 18.1 ต่อความภักดีของผู้รับบริการ 2) การพัฒนาคุณภาพพนักงานให้บริการ มีอิทธิพลโดยรวมร้อยละ 45.9 ต่อความภักดีของผู้รับบริการ 3) กลยุทธ์การตลาด มีอิทธิพลโดยรวมร้อยละ 34.1 ต่อความภักดีของผู้รับบริการและ 4) การพัฒนาที่ยั่งยืน มีอิทธิพลโดยรวมร้อยละ 33.6 ต่อความภักดีของผู้รับบริการ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และในส่วนความได้เปรียบทางการแข่งขัน (ภูมิทัศน์การบริการ) กับการพัฒนาคุณภาพพนักงานให้บริการ (ภาวะผู้นำ) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.382 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/279549
การศึกษาแรงจูงใจและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาชมคาบาเรต์โชว์ ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
2024-07-25T08:45:55+07:00
พัฒน์ธีรา พันธราธร
patteera.p@rsu.ac.th
สิรีวรรณ ธรรมสังวาลย์
Sireewan.t64@rsu.ac.th
อธิชา นาอุดม
Aticha.n64@rsu.ac.th
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาชม คาบาเรต์โชว์ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาชม คาบาเรต์โชว์ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาชมคาบาเรต์โชว์ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี และ 4) ศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางมาชม<br />คาบาเรต์โชว์ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 370 คน ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจด้านปัจจัยผลัก แรงจูงใจด้านปัจจัยดึงดูด และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาชมคาบาเรต์โชว์ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลบางอย่างเช่น อายุ การศึกษา และอาชีพ มีผลต่อระดับความพึงพอใจในการชมคาบาเรต์โชว์ แรงจูงใจด้านปัจจัยผลัก มี 4 ปัจจัย และแรงจูงใจด้านปัจจัยดึงดูด มี 4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยเช่นกัน</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/279903
ทัศนคติ บรรทัดฐานทางสังคม และการรับรู้สภาพแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจ ส่งผลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพของกลุ่มเจเนอเรชัน ซี ในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
2024-07-27T10:06:06+07:00
พีรวัส หนูเกตุ
pheerawas.no@skru.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับทัศนคติ บรรทัดฐานทางสังคม และการรับรู้ถึงสภาพแวดล้อมภายนอก และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพ<br>ของกลุ่มเจเนอเรชัน ซี ในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2541 – 2555 ที่กำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษาหรือกำลังทำงานและรู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์พหุสัมพันธ์เชิงถดถอย Multiple Regression ด้วยวิธี Backward</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการระดับปานกลางโดยให้ความสำคัญกับความมีนวัตกรรมเป็นอันดับแรก บรรทัดฐานทางสังคมอยู่ในระดับสูงโดยมีความเห็นว่าบุคคลสำคัญจะเป็นผู้สนับสนุนและให้กำลังใจในการทำธุรกิจ การรับรู้สภาพแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจอยู่ในระดับปานกลางซึ่งให้ความสำคัญกับคู่แข่งขันเป็นอันดับแรก และมีความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพระดับปานกลาง โดยมีความพยายามทำธุรกิจเป็นของตนเอง สำหรับปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพ ได้แก่ ความสนใจในธุรกิจสตาร์ทอัพ บรรทัดฐานสังคม การรับรู้สภาพแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย และสิ่งแวดล้อม</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/279879
ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ และความไว้วางใจ ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อทุเรียนจังหวัดอุตรดิตถ์ของผู้บริโภคในประเทศไทย
2024-08-05T09:12:47+07:00
ชนนิกานต์ วงษ์สมิตร
wong.chonnikarn@gmail.com
ภาศิริ เขตปิยรัตน์
pasiri.khe@live.uru.ac.th
ศิริกานดา แหยมคง
sirikarnda.yk@gmail.com
<p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดออนไลน์ ความไว้วางใจ และกระบวนการตัดสินใจซื้อ และ 2) เพื่อต้องการศึกษาส่วนประสมการตลาดออนไลน์ และความไว้วางใจ ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อทุเรียนจังหวัดอุตรดิตถ์ของผู้บริโภคในประเทศไทย งานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้ที่เคยบริโภคทุเรียนของจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการให้บริการส่วนบุคคล มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด สำหรับความไว้วางใจ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความสามารถ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และกระบวนการตัดสินใจซื้อ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยพฤติกรรมภายหลังการซื้อ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านการให้บริการส่วนบุคคล ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อทุเรียนจังหวัดอุตรดิตถ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อธิบายค่าความผันแปร ได้ร้อยละ 72.70 (R<sup>2</sup> = 0.727) และความไว้วางใจ ด้านความสามารถ และด้านความปลอดภัย ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อทุเรียนจังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ด้านความซื่อสัตย์ อธิบายค่าความผันแปร ได้ร้อยละ 71.40 (R<sup>2</sup> = 0.714)</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์