วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR <p>วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ รับพิจารณาบทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านบริหารธุรกิจ การบัญชี การท่องเที่ยวและโรงแรม ธุรกิจบริการ และนิเทศศาสตร์ ของคณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไปทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านบริหารธุรกิจ การบัญชี การท่องเที่ยวและโรงแรม ธุรกิจบริการ และนิเทศศาสตร์ ของคณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไปทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยมีกำหนดการตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคมฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม <br /><br />ค่าลงทะเบียน บทความละ 4,000 บาท (สี่พันบาทถ้วน) ชำระเมื่อผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ ทั้งนี้วารสารจะไม่คืนเงินดังกล่าวแก่ผู้เขียน หากไม่ได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)</p> th-TH <p>บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามและไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ</p> fmsjournal@vru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพันธ์พงษ์ ชิณพงษ์) fmsjournal@vru.ac.th (นางสาวเพชรกมล เพชรสุนทร) Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวทางการพัฒนาโรงแรมประเภทโฮสเทลภายในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/272362 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจศักยภาพของธุรกิจโรงแรมประเภทโฮสเทล<br />ภายในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) ออกแบบประสบการณ์การบริการในธุรกิจโรงแรมประเภทโฮสเทล ภายในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ <br />3) เป็นแนวทางในการยกระดับโรงแรมประเภทโฮสเทลภายในอำเภอพระนครศรีอยุธยา<br />จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมประเภทโฮสเทลหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการธุรกิจโรงแรมประเภทโฮสเทล จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างการเก็บรวบรวมข้อมูลทำการเก็บจากกลุ่มตัวอย่าง</p> <p>ผลวิจัยพบว่าศักยภาพของโรงแรมประเภทโฮสเทลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา <br />มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ด้านการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก 2) ด้านการจัดการภายในที่พักแรม 3) ด้านการจัดการสถานที่ 4) ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และ 5) ด้านการสร้างความน่าเชื่อถือ ผลวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบประสบการณ์การบริการในธุรกิจโรงแรมประเภทโฮสเทล ภายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย 1) ประสบการณ์การสร้างความทรงจำมิให้ลืมเลือน <br />2) ประสบการณ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น 3) ประสบการณ์การพักผ่อนเสมือนอยู่บ้าน <br />ซึ่งเป็นองค์ประกอบการยกระดับโรงแรมประเภทโฮสเทลภายในอำเภอพระนครศรีอยุธยาเพื่อนำไปสู่แนวทางในการยกระดับโรงแรมประเภทโฮสเทลภายในอำเภอพระนครศรีอยุธยา <br />จังหวัดพระนครศรีอยุธยาต่อไป</p> ฐาปกรณ์ ทองคำนุช, ภัทธนันท์ นาน้ำเชี่ยว, ชมาพร แสงศรีจันทร์, สุภัทรา คัมภิรานนท์ Copyright (c) 2024 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/272362 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาครัฐ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/273947 <p> การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาครัฐ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาครัฐ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จำนวน 504 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานโดยใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาครัฐ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ มีจำนวน 3 ปัจจัย ได้แก่ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอบบัญชี การปฏิบัติงานสอบบัญชี และความซับซ้อนของธุรกิจสหกรณ์ ส่วนปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมช่วยในการตรวจสอบ การควบคุมภายในของสหกรณ์ และความสามารถในการจัดทำบัญชีและงบการเงินของสหกรณ์ ไม่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาครัฐ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผลการศึกษานี้เป็นประโยชน์ต่อผู้สอบบัญชีสหกรณ์ได้ตระหนักถึงการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการสอบบัญชี และเพิ่มทักษะความชำนาญในการปฏิบัติงานสอบบัญชี เพื่อให้คุณภาพงานสอบบัญชีเพิ่มขึ้น</p> วัชริน อินชัย, ดลยา ไชยวงศ์, ศฐา วรุณกุล, สัตยา ตันจันทร์พงศ์ Copyright (c) 2024 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/273947 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุในอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/273956 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการบริการ การรับรู้คุณค่าการบริการ ความภักดี และการตัดสินใจใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุ 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุในอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม ที่ผ่านการหา IOC เท่ากับ 0.93 และที่ระดับความเชื่อมั่นที่ α = 0.5 เท่ากับ 0.947 และใช้สถิติบรรยายเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลของตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการ การรับรู้คุณค่า การบริการ ความภักดี และการตัดสินใจใช้บริการ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกรายการ 2) คุณภาพการให้บริการ การรับรู้คุณค่าการบริการ และความภักดี ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือคุณภาพการให้บริการส่งผลทางบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านการรับรู้คุณค่าการบริการและความภักดี มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.722 และ 0.368 ตามลำดับ อิทธิพลทางบวกโดยตรงของคุณภาพการให้บริการกับการรับรู้คุณค่าการบริการ การตัดสินใจใช้บริการ และความภักดี เท่ากับ 0.598 0.772 และ 0.764 ตามลำดับ การรับรู้คุณค่าการบริการมีอิทธิพลทางบวกโดยตรงกับความภักดี และการตัดสินใจใช้บริการ เท่ากับ 0.556 และ 0.616 ตามลำดับ ความภักดีมีอิทธิพลทางบวกโดยตรงกับการตัดสินใจใช้บริการ เท่ากับ 0.777 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 นั่นแสดงว่า ผู้ใช้บริการจะตัดสินใจเลือกใช้บริการโดยพิจารณาจากคุณภาพการให้บริการและการรับรู้คุณค่าของการบริการและความภักดี</p> วรวรรณ ทิพประเสริฐ, พีรญา ชื่นวงศ์ Copyright (c) 2024 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/273956 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยการออมและรูปแบบการออมที่มีอิทธิพลต่อความอยู่ดีมีสุขทางการเงินของครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/274000 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการออม รูปแบบการออม ความอยู่ดีมีสุขทางการเงินของครูโรงเรียน และ 2) ศึกษาปัจจัยการออม และรูปแบบการออมที่มีอิทธิพลต่อความ อยู่ดีมีสุขทางการเงินของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ ได้แก่ ครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ<br />เชิงพรรณนา และวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลของตัวแปร (Path Analysis) ผลการศึกษาพบว่าความคิดเห็นของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 <br />ในภาพรวมเกี่ยวกับปัจจัยการออม อยู่ในระดับมากที่สุด รูปแบบการออมและความอยู่ดีมีสุขทางการเงิน อยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยการออมและรูปแบบการออมส่งผลต่อความอยู่ดีมีสุขทาง<br />การเงินของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งปัจจัยทั้งสองส่งผลต่อความอยู่ดีมีสุขทางการเงินได้ร้อยละ 69.10 (R<sup>2</sup> = 0.691) เมื่อพิจารณารายปัจจัย พบว่า ปัจจัยการออมส่งอิทธิพลทางบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านรูปแบบการออมสู่ความอยู่ดีมีสุขทางการเงินค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยรวมเท่ากับ 0.312 โดยอิทธิพลทางบวกโดยทางตรงกับความอยู่ดีมีสุขทางการเงิน และรูปแบบการออม มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.751 และ 0.468 ตามลำดับ ส่วนรูปแบบการออมมีอิทธิพลทางบวกต่อความอยู่ดีมีสุขทางการเงิน มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.667 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 </p> ชิดชนก ขยันอาจ, พีรญา ชื่นวงศ์, กษิดิศ ใจผาวัง Copyright (c) 2024 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/274000 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 คุณลักษณะที่ส่งผลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/275064 <p> การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป 2) ระดับความคิดเห็นคุณลักษณะและความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการ และ3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี <br />คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ จำนวน 356 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์พหุถดถอย (Multiple regression) โดยใช้วิธีการแบบ Enter</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในสาขาการบัญชี อายุระหว่าง 21-23 ปี เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการทำงานระหว่างเรียน และครอบครัวไม่ได้เป็นผู้ประกอบการหรือประกอบธุรกิจส่วนตัว 2) นักศึกษาให้ความคิดเห็นต่อคุณลักษณะในการเป็นผู้ประกอบการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.704) และความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.875) และ3) ปัจจัยที่มีผลเชิงบวกต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 4 ตัวแปร ได้แก่ ด้านความมุ่งมั่นในความสำเร็จ ด้านความกล้าเผชิญความเสี่ยง ด้านความอดทนต่อความคลุมเครือ และด้านความคิดสร้างสรรค์ ในขณะเดียวกันปัจจัยที่มีผลเชิงลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ประสบการณ์ในการทำงานระหว่างเรียน และครอบครัวประกอบธุรกิจส่วนตัว</p> อโนทัย พลภาณุมาศ, เขมิกา ธนธำรงกุล Copyright (c) 2024 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/275064 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาการจัดการฐานข้อมูลลูกค้าในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของภาคธุรกิจในจังหวัดลพบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/276092 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการฐานข้อมูลลูกค้ากับการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของธุรกิจในจังหวัดลพบุรี และศึกษาการบริหารลูกค้าสัมพันธ์จากการจัดการฐานข้อมูลลูกค้าที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจในจังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานระดับหัวหน้างานหรือผู้บริหารของธุรกิจในจังหวัดลพบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการฐานข้อมูลลูกค้ากับการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง โดยการจัดการฐานข้อมูลลูกค้ามีความสัมพันธ์กับการบริหารลูกค้าสัมพันธ์สูงสุด 3 อันดับแรก คือ ข้อมูลการใช้จ่าย ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อ และข้อมูลปฏิสัมพันธ์ ผลการวิเคราะห์การบริหารลูกค้าสัมพันธ์จากการจัดการฐานข้อมูลลูกค้าที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ พบว่า การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ส่งผลเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ โดยร่วมกันพยากรณ์ผลการดำเนินงานได้ร้อยละ 78.9</p> เขมิกา สงวนพวก Copyright (c) 2024 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/276092 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700