วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR <p>วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ รับพิจารณาบทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านบริหารธุรกิจ การบัญชี การท่องเที่ยวและโรงแรม ธุรกิจบริการ และนิเทศศาสตร์ ของคณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไปทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านบริหารธุรกิจ การบัญชี การท่องเที่ยวและโรงแรม ธุรกิจบริการ และนิเทศศาสตร์ ของคณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไปทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยมีกำหนดการตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคมฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม <br /><br />ค่าลงทะเบียน บทความละ 4,000 บาท (สี่พันบาทถ้วน) ชำระเมื่อผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ ทั้งนี้วารสารจะไม่คืนเงินดังกล่าวแก่ผู้เขียน หากไม่ได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)</p> คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี th-TH วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ 2730-1540 <p>บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามและไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ</p> พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่ออาหารท้องถิ่นภาคเหนือ ของจังหวัดเชียงใหม่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/270267 <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่ออาหารท้องถิ่นภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยในการบริโภคอาหารท้องถิ่นภาคเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บกลุ่มตัวอย่างจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาใช้บริการร้านอาหารท้องถิ่นภาคเหนือในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งหมด 405 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ Chi – Square ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยที่สนใจเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่ มีความชื่นชอบในอาหารท้องถิ่นภาคเหนือ รับประทาน 1 – 2 ครั้ง<br />ต่อสัปดาห์ ประเภทแกง ในช่วงมื้ออาหารกลางวัน มีการสืบค้นข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นจัดส่งอาหาร ส่วนใหญ่รับประทานกับครอบครัว หรือญาติ รับประทานในร้านอาหารท้องถิ่นภาคเหนือ มีค่าใช้จ่าย 201 – 300 บาทต่อครั้ง โดยใช้รถจักรยานยนต์ในการเดินทางไปรับประทานอาหารท้องถิ่น ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวไทยมีความต้องการในการบริโภคอาหารท้องถิ่นภาคเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเลือกจากรูปลักษณ์ของอาหาร </p> <p> ผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ในภาพรวมลักษณะทางประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารท้องถิ่นภาคเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05</p> อภิไทย แก้วจรัส ชวลีย์ ณ ถลาง เสรี วงษ์มณฑา Copyright (c) 2023 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 4 3 1 15 ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 56-1 ONE REPORT กับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/270559 <p>งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 56-1 One Report กับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ระหว่างปี พ.ศ. 2562 – 2565 จำนวนข้อมูลทั้งหมด 458 ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า การเปิดเผยแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 56-1 One Report ความสามารถในการทำกำไร และขนาดของบริษัท มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับราคาหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่โครงสร้างหนี้สินมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่าการเปิดเผยแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 56-1 One Report ความสามารถในการทำกำไร ขนาดของบริษัท และโครงสร้างหนี้สิน เป็นข้อมูลที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุน ผลการศึกษานี้ย่อมเป็นประโยชน์ต่อบริษัทและหน่วยงานกำกับดูแล ได้ตระหนักถึงคุณค่าของการเปิดเผยแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 56-1 One Report และลักษณะของบริษัทที่แตกต่างกันมากยิ่งขึ้น</p> ปิยะดา เนตรสุวรรณ ธันวารินทร์ ต๊ะเสาร์ ดารณี ใจวงค์ Copyright (c) 2023 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 4 3 16 28 การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 4 บ้านโพนสูง ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/270713 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และพัฒนาแผนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 4 บ้านโพนสูง ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีผู้ให้ข้อมูลหลักจากภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว รวม 40 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการประชุมกลุ่มย่อย มาวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) และสังเคราะห์ TOWS Matrix</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) ศักยภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านโพนสูง คือ มีแหล่งเกษตรกรรมที่หลากหลาย เป็นชุมชนท่องเที่ยวโอทอป นวัตวิถีและได้รับการพัฒนาเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนร่วมมือในการจัดการท่องเที่ยวและสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างประสบการณ์และความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยว 2) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง คือ บ้านโพนสูงจะพัฒนาเป็นจุดหมายปลายทางที่มีแบรนด์ 4 ด้าน พร้อมทั้งวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ โครงการ ของแต่ละแบรนด์ คือ แบรนด์ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แบรนด์ท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจ แบรนด์ท่องเที่ยวเชิงสังคม แบรนด์ ท่องเที่ยววัฒนธรรมและการพัฒนาจิตใจ</p> โชคดี คู่ทวีกุล Copyright (c) 2023 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 4 3 29 44 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ จังหวัดเพชรบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/270818 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาปัญหา อุปสรรคในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และการพัฒนาสู่เมืองสร้างสรรค์ของอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 2.ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และ3.ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ชุมชน และนักท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบอ้างอิงด้วยบุคคลและผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการตรวจสอบสามเส้า</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1.ไม่ได้พบสภาพปัญหา หรืออุปสรรคในการพัฒนาสู่เมืองสร้างสรรค์ของอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 2.ชุมชนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียพยายามมีส่วนร่วมในแต่ละด้านกับการสร้างสรรค์เมืองเพชรบุรีให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่ได้รับการยอมรับจากยูเนสโก ภูมิใจและยินดีร่วมมือสู่เป้าหมายเดียวกันคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและส่งเสริมภาพลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรีให้เป็นที่รู้จักในระดับโลก 3.แนวทางในการจัดการพัฒนาสู่เมืองสร้างสรรค์ของจังหวัดเพชรบุรี มีดังนี้ 1) การประชาสัมพันธ์และการร่วมแรงร่วมใจจากทุกฝ่ายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยต้องช่วยสร้างการรับรู้ให้กับนักท่องเที่ยวเรื่องความโดดเด่นของแต่ละชุมชน 2) การดำเนินโครงการที่ทางภาครัฐจัดขึ้นเป็นแนวทางการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารที่ดี เนื่องจากเทรนด์อาหารสุขภาพเป็นที่นิยมทั่วโลก 3) ควรใส่ใจความยั่งยืนและความต่อเนื่องของนโยบายจากภาครัฐรวมไปถึงงบประมาณที่ลงสู่ชุมชน 4) การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันในจังหวัด เพื่อกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวไปทุกท้องถิ่น</p> ใบเฟิร์น วงษ์บัวงาม ญาณาธร เธียรถาวร Copyright (c) 2023 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 4 3 45 61 การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยการใช้ส่วนประสมทางการตลาด เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/271074 <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี 2.ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษามีจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติใช้<br />ในการศึกษาคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่ 1.นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีร้อยละ 52.25 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 30.00 มีอายุ 20 ถึง 29 ปี ร้อยละ 51.50 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 59.00 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 37.25 มีอาชีพอิสระร้อยละ 27.75 มีรายได้ต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท 2.ส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยว ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม มีป้ายราคาอาหารและการบริการชัดเจน สินค้าในพื้นที่สาธารณะสามารถซื้อและจัดส่งทางไปรษณีย์ได้ มีสื่อในการส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวมีความหลากหลาย เช่น สื่อออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ เป็นต้น เจ้าหน้าที่เต็มใจในการให้บริการและเอาใจใส่ต่อนักท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวมีความหลากหลาย มีขั้นตอนการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน และภายในแหล่งท่องเที่ยวมีกิจกรรมในการบริการสามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่มีทักษะ มีความรู้ เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว สามารถเข้าใจและอธิบายสถานการณ์การท่องเที่ยวในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี</p> ยุทธภูมิ สุวรรณเวช เสรี วงษ์มณฑา ชวลีย์ ณ ถลาง ชุษณะ เตชคณา Copyright (c) 2023 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 4 3 62 77 ลักษณะและกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/271385 <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2.เพื่อศึกษาลักษณะและกิจกรรมส่งเสริม<br />การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลด้วยวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษามีจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสถิติใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)</p> <p>ผลการวิจัยส่วนใหญ่พบว่า 1. ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร้อยละ 73.75 เดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ร้อยละ 46 เดินทางมาท่องเที่ยวกับเพื่อน/กลุ่มเพื่อน ร้อยละ 49.50 มีผู้ร่วมเดินทางระหว่าง 3-5 คน ร้อยละ 69.50 เดินทางท่องเที่ยวในวันหยุด ร้อยละ 59 เคยเดินทางมาท่องเที่ยวแล้วมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป ร้อยละ 45.25 มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า 10,000 บาทขึ้นไป ร้อยละ 37.25 ทราบข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวจากการออกบูธ/โบรชัวร์ และร้อยละ 93 กลับมาท่องเที่ยวแน่นอน 2. ลักษณะและกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า นักท่องเที่ยวมีลักษณะและกิจกรรมทัวร์สปาและนวดแผนไทยมากที่สุด รองลงมาคือ ทัวร์อาหารและเครื่องดื่มสมุนไพร ทัวร์กีฬาเพื่อสุขภาพ ทัวร์แหล่งท่องเที่ยว<br />ทางธรรมชาติ และทัวร์ฝึกสมาธิและบำเพ็ญภาวนา ตามลำดับ</p> ผกามาศ ชัยรัตน์ สุนิสา มามาก เกริกกิต ชัยรัตน์ Copyright (c) 2023 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 4 3 78 91 ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแฟชั่นรวดเร็ว (Fast Fashion) กับการตัดสินใจซื้อแบรนด์ Chanel ของวัยเริ่มต้นทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/271717 <p>การศึกษาวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแฟชั่นรวดเร็ว (Fast Fashion) กับการตัดสินใจซื้อ แบรนด์ Chanel ของวัยเริ่มต้นทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร <br />มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแฟชั่นรวดเร็ว (Fast Fashion) ของแบรนด์ Chanel 2) การตัดสินใจซื้อแบรนด์ Chanel ของวัยเริ่มต้นทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแฟชั่นรวดเร็ว (Fast Fashion) <br />กับการตัดสินใจซื้อแบรนด์ Chanel ของวัยเริ่มต้นทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน เพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 15 - 32 ปี ที่มีการตัดสินใจซื้อแบรนด์ Chanel และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 150 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) <br /> ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า การจัดกิจกรรมพิเศษ และการสร้างประสบการณ์เป็นกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแฟชั่นรวดเร็วที่สำคัญ เนื่องจากมีความพึงพอใจต่อการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ New Collection ของแบรนด์ Chanel 2) การตัดสินใจซื้อเป็นขั้นตอนสำคัญของ<br />การตัดสินใจซื้อแบรนด์ Chanel ของกลุ่มตัวอย่างเนื่องจากมีโปรโมชั่นและกิจกรรมส่งเสริมการขาย สามารถเลือกซื้อสินค้าเสริมได้ตามความต้องการ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแฟชั่นรวดเร็ว (Fast Fashion) กับการตัดสินใจซื้อแบรนด์ Chanel ของวัยเริ่มต้นทำงาน<br />ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> จิรยุทธ อินมิทิน พรพรหม ชมงาม Copyright (c) 2023 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 4 3 97 108 ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับแอปพลิเคชัน TikTok กับการใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของ Gen Z ในเขตกรุงเทพมหานคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/271759 <p>การศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับแอปพลิเคชัน TikTok กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของ Gen Z ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเปิดรับแอปพลิเคชัน TikTok ของ Gen Z 2) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจาก<br />แอปพลิเคชัน TikTok ของ Gen Z และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับแอปพลิเคชัน TikTok กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของ Gen Z กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ Gen Z ช่วงอายุระหว่าง 15 – 30 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 120 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านการเลือกรับรู้และตีความหมายมีความสำคัญต่อการเปิดรับ<br />แอปพลิเคชัน TikTok เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างสามารถเข้าใจถึงกระแสนิยมต่างๆ ได้จากเเอปพลิเคชัน TikTok 2) ความต้องการด้านสังคมมีความสำคัญต่อการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการใช้ TikTok ของ Gen Z เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างคิดว่าแอปพลิเคชันTikTok ควรมีการจำแนกอายุในการเข้าถึงเนื้อหา 3) การเปิดรับแอปพลิเคชัน TikTok มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของ Gen Z อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.01 <strong> </strong></p> อภิเษก ดูเบย์ พรพรหม ชมงาม Copyright (c) 2023 วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 4 3 109 121