องค์ประกอบในการเดินทางท่องเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ศศิประภา บุดดี
จารุวรรณ ศักดิ์สมบูรณ์
จุรีรัตน์ หนองหว้า

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบในการเดินทางท่องเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) เปรียบเทียบองค์ประกอบในการเดินทางท่องเที่ยวตามปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ทดสอบเครื่องมือโดยการตรวจค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา (IOC) และค่าความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า F-Test หรือ (Anova)  ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด ประกอบอาชีพนักเรียน/นักศึกษา รายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อองค์ประกอบในการเดินทางท่องเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความดึงดูดใจ มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ พิพิธภัณฑ์มีการจัดนิทรรศการโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เพื่อให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินชมได้อย่างทั่วถึงและเข้าใจง่ายเกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นมาของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่มีความเป็นมาเชื่อมโยงกัน รองลงมา คือ ด้านความสามารถในการเข้าถึง และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุนักท่องเที่ยวต่างกัน มีความคิดเห็นต่อด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2565). ระบบฐานข้อมูลแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นจาก https://mis.finearts.go.th/Default.aspx.

จิระพงค์ เรืองกุน พิชาพัทธ์ งามสิน และปกรณ์ โอภาสวิทยารักษ์. (2565). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว: กรณีนักท่องเที่ยวที่เข้าพักแรม XYZ รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา. วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 3(1), 39-50.

ฐาปกรณ์ ทองคำนุช เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ และอรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล. (2564). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยด้วยแนวคิดพิพิธภัณฑ์จุดหมายปลายทาง. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University. 15(1), 38-52.

ณัฏฐ์พัชร์ กาญจนรัตน์ และกุลพิชญ์ โภไคยอุดม. (2563). องค์ประกอบทางการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความสนใจท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีตของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 21(2), 283-294.

ดวงใจ ฤดีสถิต. (2563) องค์ประกอบด้านการท่องเที่ยวและแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจท่องเที่ยวทัวร์ไหว้พระของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เตือนใจ จันทร์หมื่น. (2562). การศึกษาองค์ประกอบการท่องเที่ยว 5A’S ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นักรบ นาคสุวรรณ์. (2565). ความต้องการของนักท่องเที่ยวในการมาท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 16(2), 20-34.

นุจนาถ นรินทร์. (2560). การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเดินทางท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม.

นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (2554). มนุษยศาสตร์ในทศวรรษใหม่: พลวัตแห่งองค์ความรู้กับพหุลักษณ์ทางวัฒนธรรม. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดกรุงเทพ

บ้านเมือง. (2561). เปิดสถิติคนไทยสนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์เพิ่มขึ้น. สืบค้นจาก https://www.banmuang.co.th/news/education/116939.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ผุสดี คุ้มรักษา. (2563). การจัดการพิพิธภัณฑ์สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

มนต์ธร ตั้งภาณุกุล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิไลพร เสถียรอุดร. (2561). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

ศรัณยู นกแก้ว. (2565). เปิดพิพิธภัณฑ์เครื่องทอง ที่ดีที่สุดในไทย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา. สืบค้นจาก https://www.sarakadeelite.com/arts_and_culture/gold-treasures-of-ayutthaya/.

Daskalaki, V. V., Voutsa, M. C., Boutsouki, C. & Hatzithomas, L. (2020). Service quality, visitor satisfaction and future behavior in the museum sector. Journal of Tourism, Heritage & Services Marketing. 6(1), 3-8.

Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. 2nd ed. Sydney: Hodder Education.

Pike, Steven D. (2008). Destination Marketing : anintegrated marketing communication approach. Butterworth-Heinmann, Burlington, MA.

Silberberg, T. (1995). Cultural tourism and business opportunities for museums and heritage sites. Tourism management. 16(5), 361-365.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row Publications.