พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรม ในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

วาสนา ขวัญทองยิ้ม
ชวลีย์ ณ ถลาง
เสรี วงษ์มณฑา

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลา และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลา โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยใช้วิธีการตามสะดวก จำนวน 400 คน ในพื้นที่วิจัย 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสงขลา อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอสะเดา ของจังหวัดสงขลา และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และหาความสัมพันธ์โดยการทดสอบไคสแควร์


   ผลการวิจัย พบว่า 1) นักท่องเที่ยวโดยส่วนใหญ่มีจุดประสงค์ในการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เดินทางโดยเครื่องบิน และเลือกวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นช่วงเวลาในการเดินทางท่องเที่ยว โดยมีระยะเวลาในการพำนักไม่เกิน 2 วัน มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวอยู่ในช่วงต่ำกว่า 3,000 บาท นิยมเดินทางท่องเที่ยวกับกลุ่มเพื่อน และมักที่จะเลือกท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
เช่น ตลาดน้ำ และย่านเมืองเก่า 2) สำหรับผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ในภาพรวมลักษณะทางประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการเดินทางของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยว
พหุวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลาที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ Q1-Q4 ปี 2562 (ภาคใต้). สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/news/category/618.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). แผนปฏิบัติราชการรายปี 2565. สืบค้นจาก https://secretary.mots.go.th/ewtadmin/ewt/secretary/download/article/article_20220610151812.pdf.

กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว. (2565). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวไทยในสถานการณ์ COVID-19. สืบค้นจาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/thai-travel-behavior-in-covidmosphere/”

กุลวรา สุวรรณพิมล. (2556). หลักการมัคคุเทศก์. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.

เกศินี โพธิ์เพชร สุพิศ ฤทธิ์แก้ว และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2563). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในแหล่งท่องเที่ยวขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาการจัดการ. 37(2), 110-136.

ขนิษฐา แจ้งประจักษ์. (2554). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาสามชุกตลาดร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

ขวัญชนก สุวรรณพงศ์. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในจังหวัดภูเก็ตของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 113-128.

จินตนา สุริยะศรี. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารวิทยาการจัดการ, 3(3), 67-83.

จิระพงค์ เรืองกุน พิชาพัทธ์ งามสิน และปกรณ์ โอภาสวิทยารักษ์. (2565). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว: กรณีนักท่องเที่ยวที่เข้าพักแรม XYZ รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา. วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 3(1), 39-50.

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). อุตสาหกรรมการทองเที่ยว. กรุงเทพฯ: สามลดา.

ชวัลนุช อุทยาน (2564). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://touristbehaviour.wordpress.com

ฐิรชญา มณีเนตร. (2552). ไทยศึกษาเพื่อการท่องเที่ยว. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปรัชญา หลงฉิม. (2562). พฤติกรรมการท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย. บทความวิชาการค้นคว้าอิสระ คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิสมัย จัตุรัตน์. (2565). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนของกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 16(2), 50-64.

มติชนออนไลน์. (2565). เมืองเก่าสงขลา เมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นจาก https://mgronline.com/travel/detail/9650000085670.

ราณี อิสิชัยกุล. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวเฉพาะทาง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เลิศพร ภาระสกุล. (2553). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจิตรา บุญแล. (2563). การศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยกับการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 4(1), 192-201.

สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว. (2552). คำนิยามของการท่องเที่ยว. สืบค้นจากhttp://www.tourism.go.th/.

สิทธิโชค ปาณะศรี และคณะ. (2561). พหุวัฒนธรรมในมุมมองของปรัชญาหลังนวยุค. วารสารเซนต์จอห์น, 21(28), 31-46.

Market Plus. (2022). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย. สืบค้นจาก https://www.marketplus.in.th/content/detail.php?id=15187.

The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition. 2001-05 Columbia University Press. Retrieved from http://www.bartleby.com/65/mu/multicultural.html.

UNWTO. (2015). Tourism Towards 2030: Global Overview. Spain: World Tourism Organization.