รูปแบบการจัดเส้นทางทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างมีส่วนร่วม ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทชุมชน วิเคราะห์ศักยภาพชุมชน และเพื่อคิดค้นเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเลือกจากกลุ่มผู้นำชุมชนในด้านการปกครอง ด้านการศึกษา ศาสนา และใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบ Snowball Technique เพื่อเก็บข้อมูลแหล่งเกษตรที่เหมาะสำหรับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยวิเคราะห์จาก 3 องค์ประกอบคือ สิ่งดึงดูดทางการท่องเที่ยว การเข้าถึง และสิ่งอำนวยความสะดวกซึ่งมีฐานการเรียนรู้ด้านการเกษตรที่ผ่านเกณฑ์ 5 แหล่ง จึงนำมาจัดทำเป็นเส้นทางทางการท่องเที่ยว 2 รูปแบบ ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร แบบ 1 วัน และการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบ 2 วัน 1 คืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามและไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2553). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวไทย ปี 2565. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/download/article/article_20170216111201.pdf
ฉันทัช วรรณถนอม. (2559). การวางแผนและการจัดรายการนำเที่ยว.กรุงเทพฯ :หจก.สามลดา.
ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2546). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. เชียงใหม่:ลานนาการพิมพ์.
บริสุทธิ์ แสนคำ. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยภายหลังสถานการณ์โควิท 19. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4 (1) : 160 - 167.
ปวีณา งามประภาสม. (2560). การจัดการท่องเที่ยวชุมชน. ลำปาง:มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
ปัทเมศย์ ประดิษฐ์แสงทอง, ภัสสรกันต์ ทรัพย์มหาโชค, พัทธ์ยมล สื่อสวัสดิ์วณิชย์. (2565).
การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วยแนวคิด POSDCORB.วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(1) : 173-186.
มัทรี สีมา,อําพร กันทา,วรัญญ์คมน์ รัตนะมงคลชัย. (2565).การมีส่วนร่วมของชุมชนชาติพันธุ์ม้งเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตําบลโป่งแยง อําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่.วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์,3(3) : 11-24.
รุ่งวิทย์ ตรีกุล,กมล เสวตสมบูรณ์ และธนชาติ เราประเสริฐ. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนบึงพลาญชัยในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น 8(2), 133-150.
วชิรวัชร งามละม่อม. (2559). ทฤษฎีการมีส่วนร่วม. สืบค้นจาก http://learningofpublic.blogspot.com/2016/02/blog-post_79.html
Skyscanner (2560). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป 5 แทรนด์ของการท่องเที่ยว 2560. สืบค้นจาก https://www.skyscanner.co.th/news/inspiration/thai-tourist-trend-2016/