กลยุทธ์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของกลุ่มชุมชนเกษตรอินทรีย์ ที่ได้รับมาตรฐาน Organic Thailand เพื่อยกระดับสู่ความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

กนกเกล้า แกล้วกล้า
รวีพรรณ อุตรินทร์
กานต์มณี การินทร์
นรินทร์ เจตธำรง
ชนัดดา รัตนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของกลุ่มชุมชนเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับมาตรฐาน Organic Thailand เพื่อยกระดับสู่ความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในชุมชนเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับมาตรฐาน Organic Thailand ผ่านรูปแบบการถ่ายทอดแบบมีส่วนร่วมของคน
ในชุมชน


ผลการวิจัยพบว่า การวัดศักยภาพผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน มีศักยภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยศักยภาพมากที่สุด คือ ด้านจริยธรรม รองลงมา คือ ด้านทักษะ ด้านทัศนคติ ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ด้านบุคลิกภาพ และด้านความรู้เกี่ยวกับภาษา ตามลำดับ และเมื่อทำการศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสถานที่ท่องเที่ยวตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวและด้านโฆษณา ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร รองลงมา คือ ด้านความปลอดภัย ด้านการคมนาคม และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำข้อเสนอแนะ รวมถึงข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ได้ลงพื้นที่เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงกลยุทธ์การท่องเที่ยวแล้วนั้น พบว่าได้กรอบแนวคิดสวายสอโมเดล 7 ด้าน เพื่อนำไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของกลุ่มชุมชนเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับมาตรฐาน Organic Thailand เพื่อยกระดับสู่ความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตรีฤกษ์ เพชรมนต์, ปาริฉัตร ศรีหะรัญ และประภาศรี เพชรมนต์. (2564). กลยุทธ์ด้านการตลาดของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย: กรณีศึกษา ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช . วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 4(3), 85-100.

ทักษิณ รักจริง, เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, จินดา ขลิบทอง และพิเชตวุฒิ นิลละออ. (2564). โมเดลการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6(5), 408-424.

พัดชา เศรษฐากา และวรรณวิสา ศรีตาชัย. (2561). ศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวในจังหวัดสกลนคร. วารสารแก่นเกษตร. 46(ฉบับพิเศษ 1), 786-794.

ภูริ ชุณห์ขจร. (2560). ยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสำหรับนักท่องเที่ยว

ชาวต่างประเทศ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11(ฉบับพิเศษ), 321-332.

ฤดี เสริมชยุต. (2563). กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด สำหรับการท่องเที่ยวชุมชน. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา. 2(4), 51-61.

วิภารัตน์ วงษ์พัง, เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม. (2562). การพึ่งพาตนเองและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์จากแป้งข้าวหอมมะลิในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารแก่นเกษตร. 47(ฉบับพิเศษ 1), 1079-1088.

สุพัตรา คำแหง สุธิกาญจน์ แก้วคงบุญ และสุภาพร ไชยรัตน์. (2564). กลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์และการโฆษณาเชิงเนื้อหาการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 2(2), 55-70

องค์การบริหารส่วนตำบลสะแกโพรง. (2562). แผนพัฒนาท้องถิ่นตำบลสะแกโพรง จังหวัดบุรีรัมย์. ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์.