พฤติกรรมการขยายสินเชื่อและรายได้จากดอกเบี้ยรับสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์

Main Article Content

วิกรานต์ เผือกมงคล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการขยายสินเชื่อและความสามารถการหารายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการขยายสินเชื่อกับความสามารถการหารายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อ โดยทำการศึกษาเฉพาะธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย 14 แห่งและใช้ข้อมูลรายปีระหว่างปี 2554-2561 การศึกษานี้ทำการทดสอบความนิ่งของข้อมูล ด้วย Panel unit-root test วิธี Fisher-type tests ส่วนการทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว ด้วย Johansen Co-integration test และเลือกใช้วิธี Pedroni tests และ Kao Tests (ADF Test) และทำการทดสอบความเหมาะสมของแบบจำลอง ด้วย Hausman-test และทำการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ด้วยวิธี Random effect Model ผลการศึกษา พบว่า ธนาคารพาณิชย์มีพฤติกรรมการขยายสินเชื่อเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจที่มีการขยายตัวมากกว่าสินเชื่อส่วนบุคคล และธนาคารพาณิชย์มีความสามารถการหารายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังพบว่า พฤติกรรมการขยายสินเชื่อส่วนบุคคลและพฤติกรรมการขยายสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์มีความสัมพันธ์กับความสามารถการหารายได้ดอกเบี้ยรับจากเงินให้สินเชื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลการศึกษาจำแนกตามขนาดของธนาคารพาณิชย์  พบว่า ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่มีพฤติกรรมการขยายสินเชื่อส่วนบุคคลสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและขนาดเล็ก ส่วนธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กกลับมีพฤติกรรมการขยายสินเชื่อธุรกิจที่สูงกว่าและมีความสามารถการหารายได้ดอกเบี้ยรับจากเงินให้สินเชื่อสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและขนาดใหญ่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เทพติยา นิตยชาติ มาฆะสิริ เชาวกุล และสัมพันธ์ เนตยานันท์. (2559). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ

การผลิตข้าวของเกษตรกร อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ด้วยข้อมูล Panel Data ปี

เพาะปลูก 2550, 2552 และ 2554. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(2),

-102.

พิมลวรรณ เดชานุเบกษา. (2559). การวิเคราะห์สินเชื่อกับแนวโน้มสินเชื่อของธุรกิจ. วารสาร

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(1), 39-46.

มนตรี พิริยะกุล. (2560). Panel data analysis. วารสารรามคำแหง สาขาวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี, 30(2), 41-54.

วิชญ์พล คุ้มกัน และกุลบุตร โกเมนกุล (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผิดนัดชำระหนี้: กรณีศึกษากลุ่ม

ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสังคมศาสตร์

สุรนารี, 13(1), 105-125.

วิไลวรรณ เที่ยงตรง เกตุแก้ว วิศวโกศล และองค์นิตย์ จันทร์จรัส. (2561). ปัจจัยกำหนดความสามรถ

ในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 13(1), 295-

สรายุทธ์ นาทะพันธ์ และรสิ คุณภัทรวงศ์. (2559). บทวิเคราะห์เครือข่ายสาขาของธนาคารพาณิชย์

ไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(94), 128-142.

โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์ อัจจนา ล่ำซำ และภูมิใจ ตั้งสวัสดิรัตน์. (2561). เข้าใจ

โครงสร้างตลาดสินเชื่อรายย่อยไทยและพฤติกรรมของสถาบันการเงิน จาก Big data ของ

เครดิตบูโร. aBRIDGEd Marketting Redearch AccessibleI, ISSUE 05 2 March 2018.

อนัสปรีย์ ไชยวรรณ และณัฏฐินี ศรีจันทร์. (2556). ผลกระทบของตัวแปรทางเศรษฐกิจที่มีต่อดัชนี

ตลาดหลักทรัพย์สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียง

ใต้. วารสารเศรษฐศาสตร์ 17(1), 4-20.

Abreu, M., & Mendes, V. (2001). Commercial bank interest margins and profitability:

evidence from E.U. countries. Porto Working paper series.

Martins, A. M., Serra, A. P., & Stevenson, S. (2019). Determinants of real estate bank

profitability. Research in International Business and Finance, 49, 282-300.

Vithessonthi, C. (2016). Deflation, bank credit growth, and non-performing loans:

Evidence from Japan. International Review of Financial Analysis, 45, 295-305.

In, C. (2001). Unit Root Tests for Panel Data. Journal of International Money and

Finance, 20 (2), 249-272.

Djalilov, K., & Piesse, J. (2016). Determinants of bank profitability in transition countries:

What matters most? Research in International Business and Finance, 38, 69-82.

Maddala, G. S., & Wu, S. (1999). A comparative study of unit root tests with panel data

and a new simple test. Oxford Bulletin of Economics and statistics. 61 (S1), 631-

Vo, X. V. (2018). Bank Lending behavior in emerging markets. Finance Research Letters,

, 129-134.