แรงจูงใจปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่มีผลต่อการเลือกเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย ของนักท่องเที่ยวเรือสำราญ

Main Article Content

ชญาณิศา วงษ์พันธุ์
ณัฐกฤตา นันทะสิน
ศิริพา นันทกิจ

บทคัดย่อ

ปัจจัยทางด้านแรงจูงใจในการท่องเที่ยวเป็นเรื่องสำคัญเพื่อการวางแผนด้านการท่องเที่ยวระดับประเทศ แต่ทว่างานวิจัยเรื่องแรงจูงใจในการท่องเที่ยวทางเรือสำราญ ยังมีไม่มากนักและอาจทำให้ขาดโอกาสส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบนี้ในอนาคต ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจปัจจัยผลักดันกับปัจจัยดึงดูดของนักท่องเที่ยวเรือสำราญในประเทศไทย  โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 400 คน โดยเลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติอ้างอิงวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความสัมพันธ์ Pearson's Correlation ในการหาความสัมพันธ์ของแรงจูงใจทั้ง 2 ด้าน


ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจปัจจัยผลักดันด้านความต้องการเติมเต็มในชีวิตและเกียรติภูมิ
มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจปัจจัยดึงดูดในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานและคนไทยเป็นมิตร ส่วนแรงจูงใจปัจจัยผลักดันด้านความต้องการเรียนรู้และเห็นวัฒนธรรมใหม่ มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจปัจจัยดึงดูดด้านความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว แรงจูงใจปัจจัยผลักดันด้านความต้องการด้านอารมณ์ต่าง ๆ มากระตุ้น มีความสัมพันธ์กกับแรงจูงใจปัจจัยดึงดูด ด้านความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว และแรงจูงใจปัจจัยผลักดันด้านความต้องการหลีกหนีความจำเจ ไม่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจปัจจัยดึงดูดทั้ง 4 ด้าน


 


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมเจ้าท่า. 25 ตุลาคม 2562 (อ้างอิงบทสัมภาษณ์จากกรมเจ้าท่า). อธิบดีกรมเจ้าท่า. แนวโน้มธุรกิจ ทางด้านเรือสำราญและนโยบายพัฒนาท่าเรือสำราญ.

ท่าเรือแหลมฉบัง. เส้นทางท่องเที่ยวเรือสำราญ. (25 พฤศจิกายน 2563) สืบค้นจาก

https://www.yingpook.com/blogs/cruises/thailand-cruise-port-terminal.

ไพฑูรย์ มนต์พานทอง และเทิดชาย ช่วยบำรุง, 2558. การวิเคราะห์การจัดการท่าเรือ

แวะพักจังหวัดภูเก็ตสำหรับการท่องเที่ยวเรือสำราญ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 11(2), 165-188.

สุรพร มุลกุณี. (2560). แนวทางการพัฒนาการจัดการท่าเรือสำหรับการท่องเที่ยวเรือสำราญของ ประเทศไทย. กรณีศึกษาท่าเรือแหลมฉบัง. วิทยานิพนธ์. หลักสูตรศิลปศาสตรมหา บัณฑิต. สาขาการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์.

สุมาลี สุขดานนท์. เส้นทางท่องเที่ยวเรือสำราญ. (25 พฤศจิกายน 2563) สืบค้นจาก

https://www.yingpook.com/blogs/cruises/thailand-cruise-port-terminal.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons.

Inc.