ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อสมรรถนะพนักงาน ของ บริษัท ผลิตภัณฑ์ตราเพชร จำกัด (มหาชน) ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อสมรรถนะพนักงาน ของ บริษัท ผลิตภัณฑ์ตราเพชร จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

ทัศนีย์ จันทะนันท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของพนักงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษาปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อสมรรถนะของพนักงาน และ3)ศึกษาปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อสมรรถนะของพนักงาน  ประชากร คือ พนักงานของบริษัท ผลิตภัณฑ์ตราเพชร จำกัด (มหาชน) จำนวน 780 คน โดยคำนวณจากสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ (1973) มีค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 และระดับความเชื่อมั่น 95% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 264 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.99 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง การทดสอบที การทดสอบเอฟ และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ


         ผลการวิจัยพบว่า


           1) พนักงานที่มีอายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพแตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มีเพศ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบ และด้านความสำเร็จในการทำงานส่งผลต่อสมรรถนะของพนักงานคิดเป็นร้อยละ60.8 และ3) ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การด้านวัฒนธรรมที่เน้นผลงาน และด้านวัฒนธรรมที่เน้น ส่งผลต่อสมรรถนะของพนักงานคิดเป็นร้อยละ 64.9

Article Details

How to Cite
จันทะนันท์ ท. (2021). ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อสมรรถนะพนักงาน ของ บริษัท ผลิตภัณฑ์ตราเพชร จำกัด (มหาชน) : ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อสมรรถนะพนักงาน ของ บริษัท ผลิตภัณฑ์ตราเพชร จำกัด (มหาชน) . วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 2(1), 55–66. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/247816
บท
บทความวิจัย

References

ธันยนันท์ ทองปาคุณานนท์. (2557). สมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัท โพสโค (ไทยแลนด์) จำกัด. กรุงเทพมหานคร; คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

ธนิกานต์ สุขวัฒน์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากรครูที่ปฏิบัติงานในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ สาขาการจัดการสาธารณะ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรพิมล พิทักษธรรม. (2559). สมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษา โรงแรม คอลัมน์แบงค็อก กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร จัดการองค์กร : มหาวิทยาลัยเกริก.

วารุณี ปันทะนะ. (2558). การพัฒนาสมรรถนะพนักงานควบคุมเครื่องจักรของ บริษัท ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์คณะบริหารธุรกิจ : ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

ศศิธร ยติรัตนกัญญา. (2558). วัฒนธรรมองค์กรกับสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์สาขาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.( pp.202-204)

Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archives Psychological. 3(1), pp. 42-48.

Yammane.T. (1973). Statistics : An introduction Analtsis. (3rded). New York : Herper and Row.